SHARE

คัดลอกแล้ว

ในที่สุด 2 บริษัทโทรคมนาคมในไทยอย่าง ‘ทรู’ และ ‘ดีแทค’ ก็ควบรวมบริษัทกันอย่างเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยมีชื่อบริษัทใหม่ก็คือบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

โดยได้นำบริษัทใหม่หลังควบรวมนี้ยื่นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งวันที่ 1 มี.ค. 2566 ที่ผ่านมาในชื่อตัวย่อในตลาดว่า TRUE ซึ่งจะเริ่มเทรดตั้งแต่วันที่ 3 มี.ค. เป็นต้นไป

ถามว่าหลังจากควบรวมแล้ว หน้าบทใหม่ของบริษัท ‘ทรู คอร์ปอเรชั่น’ จะเป็นอย่างไร มีทิศทางไปทางไหน ลูกค้าต้องเตรียมตัวอย่างไร TODAY Bizview จะเล่าให้ฟัง

[ จำนวนผู้ใช้มือถือขึ้นเบอร์ 1 ]

หากเจาะเข้าไปดูตัวเลขต่างๆ ในการควบรวมครั้งนี้ จะประกอบด้วย

-ผู้ใช้งานมือถือรวม 55 ล้านเลขหมาย (ทรูมูฟ เอช 33.8 ล้าน + ดีแทค 21.2 ล้าน) ขึ้นแท่นเป็นโทรคมเบอร์ 1 ของประเทศ โดยที่ทั้ง 2 แบรนด์จะยังทำตลาดในชื่อทรูและดีแทคอยู่

-ทรูยังมีลูกค้าบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตทรูออนไลน์ 5 ล้านราย และผู้ใช้งานโทรทัศน์ทรูวิชั่นส์อีก 3.2 ล้านราย

-มูลค่าตลาดของทั้งสองบริษัทรวมกัน (Market Capitalization) ประมาณ 2.94 แสนล้านบาท (ณ วันที่ 20 ก.พ. 2566)

-พนักงานรวม 20,000 คน มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ตึกทรู ทาวเวอร์ แต่ยังทำงานแบบไฮบริดระหว่างสำนักงานของทั้ง 2 ค่าย

[ รวมกันเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ]

‘มนัสส์ มานะวุฒิเวช’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น บอกว่า การควบรวมบริษัทครั้งนี้ สิ่งที่ทั้งสองบริษัทให้ความสำคัญคือเรื่อง ‘ความเท่าเทียม’ ทั้งในการจัดตั้งบริษัท การถือหุ้น รวมไปถึงโครงสร้างของผู้บริหาร

“วิสัยทัศน์ของเราคือการมุ่งเป็นผู้นำเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่จะเปลี่ยนผ่านวิถีชีวิตคนไทย ขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวสู่แถวหน้าของเศรษฐกิจดิจิทัล

“การรวมกันทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันไปในเวทีต่างประเทศ สร้างโอกาสอันไม่มีวันสิ้นสุด และปูทางให้ประเทศไทยก้าวสู่ตำแหน่งที่ดีที่สุดที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดในโลกดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” มนัสส์กล่าว

นอกจากนี้ บริษัทใหม่จะได้ประโยชน์จากการผนึกกำลังร่วมกัน (Synergy) ทั้งด้านการลงทุนและรายได้ ซึ่งจะขับเคลื่อนร่วมกัน อาทิ โครงข่ายโทรคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เครือข่ายไอที

การจัดซื้อ การขาย การตลาด ช่องทางการค้าปลีก และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โดยจะนำสู่สมดุลความเสมอภาคและความเท่าเทียมในการแข่งขัน และจะนำมาสู่ประโยชน์สูงสุดของลูกค้า

คุณมนัสส์ยังกล่าวถึงประเด็นที่ชื่อบริษัทใหม่ว่า ‘ทรู คอร์ปอเรชั่น’ ด้วยว่า “เนื่องจากบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น (เดิม) มีแบรนด์ในการเป็นดิจิทัล นวัตกรรม มีพอร์ตโฟลิโอครอบคลุมถึงธุรกิจมือถือ ทำให้ใช้แบรนด์ขับเคลื่อนโมเมนตัมว่าจะเป็นบริษัทเทคโนโลยีโทรคมนาคมนั้นทำได้ง่ายกว่า

“ส่วนในข้อกังวลถึงเรื่องการผูกขาด ต้องบอกว่านี่ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของเราเลย อย่างที่กล่าวไป การรวมกันจะสร้างโอกาสอย่างไม่มีสิ้นสุด เพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้คนไทยและประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น รวมถึงลูกค้าทั้งทรูและดีแทคได้รับประโยชน์ทันที”

คุณมนัสส์ ยังบอกอีกว่า ในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็นผู้นำด้านดิจิทัลในภูมิภาค บริษัทใหม่จะร่วมกับพันธมิตรระดมทุนจำนวน 200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7.3 พันล้านบาท จัดตั้งกองทุน Venture Capital (VC) รวมทั้งจัดตั้งศูนย์นวัตกรรม เพื่อผลักดันอนาคต ‘สตาร์ทอัพไทย’

[ เปิดโรมมิ่ง ใช้สัญญาณของอีกค่ายได้แล้ว ]

ด้าน ‘ชารัด เมห์โรทรา’ รองประธานคณะผู้บริหาร TRUE กล่าวว่า พันธกิจขององค์กรคือเร่งพัฒนาระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง สนับสนุนคนเก่งรุ่นใหม่ด้านดิจิทัล และการนำเสนอนวัตกรรมบริการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของลูกค้า

ตลอดจนสร้างสังคมที่เติบโตอย่างยั่งยืน เราจะมุ่งสร้างศักยภาพให้กับธุรกิจ และก้าวสู่ความเป็นผู้นำในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

บริษัทใหม่มุ่งสู่ผู้นำด้านโครงข่ายอย่างแท้จริง โดยจะขยายโครงข่าย 5G ครอบคลุม 98% ของประชากร ในปี 2569 พร้อมพัฒนาและขยายเครือข่ายทั่วประเทศ

ส่วนบริการเครือข่ายมือถือ จะยังคงให้บริการภายใต้แบรนด์ “ทรู” และ “ดีแทค” ไปอีกอย่างน้อย 3 ปี (ตามคำสั่งของ กสทช.)

TRUE ยังบอกอีกว่า ขณะนี้ลูกค้าสามารถใช้สัญญาณคุณภาพดีขึ้นทันที โดยจะเจอสัญลักษณ์ dtac-True และ True-dtac บนหน้าจอมือถือ ผ่านการเปิดบริการ ‘โรมมิ่ง’ สัญญาณข้ามโครงข่าย เพื่อใช้งาน 5G และ 4G บนคลื่น 2600 MHz และ 700 MHz

โดยลูกค้าดีแทคสามารถใช้งาน 5G บนคลื่น 2600 MHz และลูกค้าทรูสามารถใช้งาน 4G และ 5G คลื่น 700 MHz ซึ่งเปิดให้บริการแล้ว ทั้งนี้จะขยายครบทั้ง 77 จังหวัดประมาณกลางมีนาคมนี้

ทรู คอร์ปอเรชั่น ยังเดินหน้ามุ่งสู่เป้าหมายผ่าน 7 กลยุทธ์หลัก ดังนี้

  1. ผู้นำด้านโครงข่ายโทรคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลอย่างแท้จริง
  2. เติบโตเป็นผู้นำนอกเหนือจากบริการหลัก เพื่อส่งมอบคุณค่าและประสบการณ์ที่เหนือกว่า
  3. สร้างมาตรฐานประสบการณ์ใหม่เพื่อลูกค้าในประเทศไทย
  4. เติมเต็มชีวิตอัจฉริยะยิ่งขึ้นเพื่อทุกสไตล์ลูกค้าชาวไทย
  5. ยกระดับมาตรฐานสำหรับลูกค้าองค์กร
  6. สร้างสุดยอดองค์กรที่น่าทำงาน
  7. การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน เพิ่มคุณค่าขับเคลื่อนองค์กรในระยะยาว
[ ย้ำทำการตลาดแยกกัน ]

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า ตามเงื่อนไขที่ กสทช.กำหนด ทั้ง ‘ทรู’ และ ‘ดีแทค’ จะต้องทำการตลาดด้วยชื่อแบรนด์ทั้ง 2 แบรนด์ไปอีกอย่างน้อย 3 ปี

โดย TRUE ยังบอกอีกว่า แน่นอนว่าการตลาดต่างๆ ก็ยังคงแยกกัน อย่างเช่นกรณีของพรีเซ็นเตอร์ของทรูอย่าง ‘ลิซ่า แบล็กพิงก์’ ก็ยังคงทำการตลาดและสื่อสารในแบรนด์ของทรูเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม อาจจะมีการทำโปรโมชั่นร่วมกัน หรือมีบริการอื่นๆ เช่น บริการไลฟ์สไตล์ ที่ลูกค้าใช้บริการของอีกค่ายได้อย่างไร้รอยต่อ เป็นต้น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า