Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

“โซเชียลมีเดียมันน่าสับสน เพราะมันเป็นทั้งสวรรค์และนรกในเวลาเดียวกัน”

ประโยคนี้น่าจะสะท้อนความจริงเกี่ยวกับสื่อออนไลน์ที่อยู่ในมือเราได้เป็นอย่างดี

จากสวรรค์ผ่านโลกออนไลน์ ที่เราสามารถสั่งรถให้มารับหน้าบ้านใน 10 นาที สารคดี The Social Dilemma บน NETFLIX พูดถึงความน่ากลัวที่เปรียบดั่งนรกของโซเชียลมีเดีย ที่ส่งผลต่อทั้งสุขภาพจิตไปจนถึงประชาธิปไตยของโลก บอกเล่าผ่านอดีตผู้บริหารบริษัทชั้นนำทั้งเฟซบุ๊ก กูเกิ้ล และอินสตาแกรม

โซเชียลมีเดียที่เปลี่ยนไปในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

จัสติน โรเซนสไตน์ ผู้ร่วมคิดค้นปุ่มไลค์บนเฟซบุ๊กบอกว่าเขาเศร้าใจมากที่ทุกวันนี้ปุ่มไลค์กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้คนรุ่นใหม่เป็นโรคซึมเศร้า ที่เกิดจากการเสพติดการยอมรับในโลกออนไลน์ การรู้สึกเอาความรู้สึกไปยึดติดกับ การไลค์ การเลิฟ การแชร์ และคอมเมนท์ต่างในโซเชียลมีเดีย

“ในตอนที่ผมคิดค้นปุ่มนี้ขึ้นมา ผมหวังแต่เพียงว่ามันจะช่วยเปิดโอกาสให้คนได้ส่งต่อความรู้สึกดีๆ ต่อกัน” โรเซนสไตน์ เล่าผ่านสารคดีด้วยความเศร้าใจ

สารคดีได้อ้างอิงข้อมูลจากศูนย์ป้องกันควบคุมโรคของสหรัฐฯ ว่าอัตราการฆ่าตัวตายของเด็กหญิงสาวในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่างน่าใจหาย โดยในสิบปีที่ผ่านมาหมู่วัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 70 และเยาวชนอายุ 10-14 ปี ฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นร้อยละ 151

จุดที่น่าสนใจคือช่วงเวลาสำคัญที่พลิกผันเปลี่ยนจังหวะตัวเลขอย่างก้าวกระโดด เกิดขึ้นในปี 2009 ซึ่งในสารคดีบอกไว้ว่าเป็นปีที่โซเชียลมีเดียเริ่มเข้าถึงโทรศัพท์มือถืออย่างกว้างขวาง

โซเชียลมีเดียที่ส่งผลต่อสังคมและประชาธิปไตย 

The Social Dilemma ยกตัวอย่างสองกรณีที่โซเชียลมีเดียสร้างผลกระทบโดยตรง

  1. ข่าวปลอมและคอนเทนต์สุดโต่งที่ส่งผลต่อการเลือกตั้ง
    The Social Dilemma บอกว่าประเทศที่เป็นเป้าหมายหลักของอาวุธออนไลน์เหล่านี้คือประเทศที่มีการเลือกตั้งแต่เปราะบางเรื่องการรับรู้สื่อ เช่นสหรัฐฯ และบราซิล โดยผลการเลือกตั้งถูกกำหนดโดยกระแสข่าวปลอมที่ปล่อยออกมา
    ในสารคดียังบอกด้วยว่ารัสเซียนั้นไม่จำเป็นต้องแฮ็กระบบของเฟซบุ๊กเลย เพียงแต่ใช้ระบบที่เฟซบุ๊กมีอยู่แล้ว ก็สามารถเข้าไปเปลี่ยนทิศทางความคิดของคนได้ โดยเริ่มต้นจากคนที่มักจะหลงเชื่อในทฤษฎีสมรู้ร่วมคิดต่างๆ ค่อยๆ ขยายกลุ่มคนออกไปในวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ
  2. การเลือกเนื้อหาที่ทำให้คนเสพติดและอยู่กับโซเชียลมีเดีย 
    สารคดีเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างวิกิพีเดียกับโซเชียลมีเดีย โดยบอกว่าถ้าคุณเข้าวิกิพีเดีย คุณจะเจอข้อมูลเดียวกัน ไม่ว่าคุณจะเป็นใครและอยู่ที่ไหนในโลกใบนี้ แต่ถ้าคุณเข้าโซเชียลมีเดีย ต่อให้คุณเรียนมาจากโรงเรียนและมหาวิทยาลัยเดียวกัน ทำงานที่เดียวกัน แต่ชุดข้อมูลที่คุณจะได้เลือกอ่าน มันจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
    ข้อกังวลที่ตามมาจากเรื่องนี้คือเรื่อง Confirmation Bias หรือการการที่คนเราส่วนใหญ่มักจะแสวงหาแต่ข้อมูลที่รองรับความเชื่อที่เรามีอยู่แล้วตั้งแต่ต้นเท่านั้น สารคดีบอกว่าปัญหา Confirmation Bias นี้ส่งผลกับความแตกแยกทางการเมืองของคนในสหรัฐฯ โดยคนอเมริกันไม่เคยอยู่ในจุดที่เห็นต่างและมองฝั่งตรงข้ามเป็นศัตรูกันมากขนาดนี้มาก่อน

ระบบทุน มือที่มองไม่เห็น ที่ชักใยอยู่เบื้องหลัง

ในตอนหนึ่งสารคดีได้ชี้ว่าแท้จริงแล้ว คนที่ทำงานอยู่กับโซเชียลมีเดียต่างๆ เหล่านี้ ใช่ว่าจะมีเจตนาเลวร้ายขนาดที่ว่าต้องการให้โซเชียลมีเดียเข้ามาทำลายมนุษยชน พวกเขาหลายคนยังคงมีเจตนาใช้แพลตฟอร์มในด้านดีๆ แต่สิ่งที่เข้ามาครอบงำคือกลไกของระบบทุน

โดยมีการเปรียบเทียบว่าระบบทุนทุกวันนี้มันมีความโหดร้ายของมันอยู่แล้ว

“วาฬที่ตายราคาแพงกว่าวาฬที่ยังมีชีวิตอยู่ ต้นไม้ที่ตายก็มีราคาแพงกว่าต้นไม้ที่ยังมีชีวิตอยู่เช่นกัน เมื่อเป็นแบบนี้แล้ว กลไกของระบบทุนมันก็เอื้อให้คนเลือกทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ”

โซเชียลมีเดียย่อมออกแบบให้คนเสพติด เพื่อการใช้งานบนแพลตฟอร์มที่นานที่สุดอยู่แล้ว แต่โทษของมันที่ส่งไปในวงกว้างนั้นเกิดจากกลไกของระบบทุนที่ช่วยผลักดันให้มันเกิดพลังมหาศาล

ความกังวลระยะยาว ทางออกระยะสั้น

อดีตผู้บริหารของโซเชียลมีเดียชื่อดังเหล่านี้ ล้วนกังวลกับอนาคตภายใต้บรรยากาศการเสพสื่อเหล่านี้ ความกังวลว่าจะเกิดสงครามการเมือง ความกังวลว่าประชาธิปไตยจะถูกกลดคุณค่าลง

การแก้ปัญหาในระยะสั้น ส่วนใหญ่ล้วนบอกว่าพวกเขาไม่อนุญาตให้ลูกของพวกเขาเองใช้โซเชียลมีเดีย ถ้ามีให้ใช้ก็ต้องมีกฎ เช่นอดีตผู้บริหารรายหนึ่งบอกว่าเขามีสามกฎคือ

1. ห้ามเอาโทรศัพท์เข้าไปในห้อง ก่อนนอน
2. ไม่ให้ใช้โทรศัพท์ก่อนอายุ 16 ปี เพราะในวัยมัธยมต้น พัฒนาการยังไม่ดีพอที่จะรับมือ
3. เมื่อถึงวัยที่ใช้แล้ว ก็กำหนดระยะเวลาการใช้งาน

นอกจากนี้พวกเขายังเชื่อว่ามันยังมีจุดเปลี่ยนได้ และหวังว่าโซเชียลมีเดียจะไม่กลายเป็นอาวุธที่รุนแรงแบบที่พวกเขากังวลกัน

นักวิจารณ์ต่อสารคดี The Social Dilemma

เดวิก้า เกริชแห่งนิวยอร์กไทมส์ รีวิวว่าคนในวงการเทคจำเป็นต้องดูสารคดีเรื่องนี้ แต่ก็ติว่าหลายแง่มุมก็ขาดข้อมูลในเชิงลึก เช่นเรื่องของความแตกแยกทางสังคมอเมริกัน ซึ่งจะโทษโซเชียลมีเดียอย่างเดียวไม่ได้

เดวิด เลห์ แห่งไฟแนนเชียลไทมส์ ชี้ว่าจุดอ่อนของเรื่องคือการมีฉากการแสดงที่เร่งเร้าอารมณ์ และกระตุ้นให้เห็นผลร้ายของโซเชียลมีเดียมากเกินไป

ด้านผู้เขียนดูสารคดีเรื่องนี้ด้วยความสนุก แต่ต้องระมัดระวังเรื่องความหวาดพะวงที่มีต่อโลกโซเชียลมีเดียที่อาจจะใส่อารมณ์เข้ามาผ่านละครสั้นๆ ที่ผู้กำกับได้วางเอาไว้ แต่โดยรวมแล้ว The Social Dilemma เหมาะกับคนที่ทำงานในโลกออนไลน์ เพราะได้เข้าใจถึงกลไกการทำงานของมัน แม้ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับแพลตฟอร์มขนาดยักษ์ก็ตาม 

และในเวลาเดียวกัน ผู้เขียนก็เชื่อว่าในอีกไม่นาน แพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่เหล่านี้ก็จะมีการปรับเปลี่ยนนโยบาย เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอีกด้วย การเข้าใจที่มาที่ไปนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง

The Social Dilemma กำกับโดย เจฟฟ์ โอลอว์สกี้ เข้าฉายทาง NETFLIX

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า