Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

โซเชียลมีเดีย คือหนึ่งในเครื่องมือที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์แทบจะทุกคนบนโลก และสร้างผลกระทบทั้งด้านดี เช่น การสร้างความสะดวกสบายในมิติต่างๆ ทั้งการทำงาน, การศึกษา หรือการติดต่อสื่อสาร และผลกระทบด้านร้าย เช่น การส่งผ่านข้อมูลที่เป็นเท็จ, การเผยแพร่เนื้อหาที่สุ่มเสี่ยงและมีความรุนแรง รวมถึงสร้างการเสพติดจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และทำให้คุณกลายเป็นเพียง ‘สินค้าตัวหนึ่ง’ ในโลกโซเชียลมีเดีย

สารคดี The Social Dilemma ได้ตีแผ่มุมมองของผู้ร่วมสร้างโซเชียลมีเดียหลากหลายแพลตฟอร์ม มากันเกือบหมดทั้ง เฟสบุ๊ค, ทวิตเตอร์, กูเกิล ฯลฯ ที่มาร่วมเล่าประสบการณ์และมุมมองของพวกเขาต่อสิ่งที่พวกเขาได้ร่วมสร้างขึ้นมาเอง ดูเผินๆ ก็สารคดีรณรงค์ไม่ให้คนติดจอ แต่มันไม่ใช่แค่นั้น หากลองได้ฟังกลวิธีที่แยบยลที่บริษัทสื่อ internet ใช้เพื่อดึงดูดเราให้ขาดมันไม่ได้แล้วอาจจะขนลุกขึ้นมาเบาๆ

ใช้จิตวิทยาขั้นสูง

“เทคโนโลยีใดที่ก้าวหน้าเพียงพอ มิอาจจำแนกจากเวทมนตร์ได้” (Any sufficiently advanced technology is indistinguishable from magic) อาเธอร์ ซี. คลาร์ก (Arthur C. Clarke) ผู้ที่คิดค้นกลไกของโซเชียลมีเดียไม่ต่างจากนักมายากลที่เข้าใจและรู้ว่าจะหลอกตาผู้คนได้ยังไง ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) มีวิชาวิจัยเทคโนโลยีการชักจูง ที่สอนให้ผู้คนสามารถเอาความรู้ทั้งหมดที่มีเรื่องการจูงใจคนมาใส่ในเทคโนโลยี เพื่อทำให้นักเรียนกลายเป็น “อัจฉริยะในการเปลี่ยนพฤติกรรมของคน”

มีตัวท็อปของซิลิคอนวัลลเลย์หลายคนที่เคยเรียนคลาสนี้ และใช้ความสามารถของตนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคน ให้ลากนิ้วผ่านหน้าจอไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การใช้อย่างมีสตินั้นไม่พอ เพราะผู้สร้างมีเป้าหมายที่จะปลูกพฤติกรรมบางอย่างไว้ในตัวคุณโดยที่คุณไม่รู้ตัวตอนที่เราเล่นโชเชียลมีเดีย เราอาจกำลังถูกมือที่มองไม่เห็นชักใยปลายนิ้วของเรา เพื่อให้เรากดสิ่งที่เขาอยากให้กด ดูสิ่งที่เขาอยากให้ดู การกระทำของเรากลายเป็นการกระทำที่ถูกคำนวนมาแล้วทั้งสิ้นผ่านการคิดทางจิตวิทยา

การรีเฟรชจะทำให้เกิดความตื่นเต้นลึกๆ ของการไม่รู้ว่าเรากดแล้วจะมีอะไรใหม่ขึ้นมา เหมือนกับเวลาเรากดตู้สลอต ทำให้เราอยากหยิบมือถือขึ้นมาทุกครั้งที่เห็น “อ่านต่ออีกแป๊ปนึง” ไปเรื่อยๆ หรืออย่างการแท็กก็ทำให้เราอยากกดเข้าไปดูรูปทั้งๆ ที่ถ้าเขาอยากให้ดูก็เอารูปแปะมาด้วยก็สิ้นเรื่อง หรือคำว่า typing ทำให้เราอยู่เพื่อรออ่านสิ่งที่เพื่อนจะตอบมา และในขณะที่เราใช้งาน ฯลฯ เราทุกคนต่างกลายเป็นหนูทดลอง เพื่อให้พวกเขาค้นหาสิ่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการควบคุมเราให้เราอยู่บนหน้าจอนานขึ้นอีก

สามเป้าหมายหลักของบริษัทโซเชียลมีเดียทั้งหลายคือ

  1. Engagement คือการที่เราไปร่วมสนุกกับทางรายการ และเล่นสิ่งที่ถูกนำเสนออยู่บนจออย่างต่อเนื่อง
  2. Growth การเจริญเติบโต คือมันทำให้เรากลับไปเล่นอีกเรื่อยๆ และชักชวนชาวบ้านใกล้ตัวมาเล่นด้วยเพื่อสร้างเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
  3. Advertising การโฆษณาที่จะนำเม็ดเงินมาสู่บริษัท และพวกเขาก็มีอัลกอริทึ่มที่จะช่วยให้ทุกอย่างเป็นจริงขึ้นมา ผ่านสิ่งเล็กๆ ที่ดูไม่มีพิษภัยอย่าง วีดิโอที่แนะนำให้ดู สิ่งที่เราเห็นหน้าจอบนฟีดที่ถูกเลือกมาแล้วว่าเราจะกดอ่านต่อไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ใช้ประโยชน์จากจุดอ่อน และสิ่งที่เราชอบ

ผู้บริหารขอทุกแอพรู้ตัวทั้งนั้นว่ากำลังเล่นกับจุดอ่อนและจิตใจของคนแต่พวกเขาก็ทำอยู่ดี ส่วนผู้ใช้อย่างเราก็ ใช้เครื่องมือดิจิทัลเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ เมื่อเราไม่สบายใจ เหงา รู้สึกไม่มั่นคง หรือกลัว ทำให้เราลดความสามารถในการจัดการกับอารมณ์เหล่านี้ด้วยตัวเองไปอย่างช้าๆ เช่นเดียวกับความสามารถในการรับความคิดเห็นที่แตกต่าง เมื่อเรามาสามารถปิดกั้นการมองเห็นในสิ่งที่เราไม่ชอบ และอัลกอริทึ่มก็เรียนรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่เราชอบ และมอบสิ่งนั้นให้เรา

สร้างโลกที่เราอยากให้มันเป็น

เวลากดค้นหาอะไรสักอย่างในกูเกิล ผลลัพธ์จะออกมาต่างกันในทุกประเทศ ขึ้นอยู่กับว่าอัลกอริทึ่มคิดว่าคนแถวนั้นหาอะไรอยู่ หน้าฟีดของเราก็เช่นกัน ทั้งหมดถูกคำนวณมาแล้วว่าเราถูกใจอะไร เกลียดอะไร หรือมีความน่าจะเป็นที่จะกดเข้าไปดูอะไร ข่าวและความคิดเห็นต่างๆ ก็เหมือนกัน ซึ่งทำให้แต่ละคนมีความจริงของตัวเอง ความจริงที่ขึ้นอยู่กับจากสิ่งที่เราต้องการได้ยิน และเมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆ

เราจะมีความรู้สึกขึ้นมาว่า ‘ทุกคนในโลก’ คิดเหมือนกัน คิดเหมือนฉัน และสุดท้ายเราก็จะเกิดพฤติกรรมของการรับความเห็นที่ต่างจากเราไม่ได้ในที่สุด ทำให้เราเริ่มคิดว่าอีกฝ่ายเป็นพวกโง่ที่ปิดหูปิดตาไม่รับข้อมูลอะไรเลย ทั้งๆ ที่มันก็อยู่ตรงหน้า แต่ความจริงแล้วตรงหน้าเขา และตรงหน้าเรามีความจริงคนละชุดฉายอยู่ เมื่อต่างคนต่างมี ‘ความจริง’ ตามสิ่งที่เราต้องการจะเชื่อ มันก็นำมาสู่ความแตกแยกในสังคม ซึ่งสิ่งนี้บริษัทไม่ได้สนใจเพราะสิ่งที่เขาโฟกัสคือการหาเงิน

ความสนใจและเวลาที่เราให้ไปคือสินค้าชั้นดีของบริษัทโซเชียลมีเดียที่จะนำไปขายให้กับลูกค้าของเขา และสินค้าระดับพรีเมียมคือการเปลี่ยนแปลงช้าๆ อย่างไม่รู้ตัวในพฤติกรรมและมุมมองของเราไปในทิศทางที่เขาต้องการ นี่แหละคือสิ่งที่มีมูลค่ามากที่สุด หลายคนอาจจะคิดว่าโซเชียลมีเดียเหล่านี้บันทึกข้อมูลของเราไว้เพื่อจะเอาไปขาย แต่เปล่าเลย พวกเขาเอาข้อมูลเหล่านั้นมาพัฒนากลไกที่จะคาดเดาการกระทำของเราให้ได้มากที่สุดต่างหาก และใครก็ตามที่ทำได้ดีที่สุดคือผู้ชนะ เพราะเท่ากับว่าเขามีกลวิธีที่จะดักทางเราได้ว่าเราจะทำอะไรต่อ และวางโฆษณา หรือสิ่งที่เขาต้องการปลูกใส่เราไว้ตรงปลายทางที่เราจะไป

อ่านถึงตรงนี้ก็คงเกิดถามว่าแล้วไง…เราได้อยู่ในโลกแบบที่เราต้องการก็ดีแล้วนี่…แต่แน่ใจแล้วหรือว่านี่คือโลกที่เราต้องการจริงๆ

จัสติน โรเซนสไตน์ กล่าวไว้ว่า “เราอยู่ในโลกที่ต้นไม้ที่ตายแล้วมีค่ามากกว่าไม้ยืนต้น และวาฬที่ตายแล้วมีค่ามากกว่าวาฬที่มีชีวิต” บริษัทต่างๆ ทำทุกอย่างที่พวกเขารู้ว่าทำลายโลกแต่ก็ทำอยู่ดีเพราะมันทำกำไรได้มากกว่า และ “ตอนนี้เราก็คือต้นไม้ คือวาฬ” เพราะความสนใจของเราเหมือนกับถ่านหิน หรือน้ำมันที่ต้องถูกขุดเจาะขึ้นมา โดยที่ไม่ได้สนใจว่าโลกข้างนอกจะเป็นอย่างไร

หลังจากยุคที่มี Social Media ในมือถือ ยอดเด็กที่ต้องเข้าโรงพยาบาลเพราะทำร้ายตัวเองในสหรัฐฯ สูงขึ้นอย่างน่าตกใจ เด็กโต อายุ 10-14 ปีมีมากขึ้นถึง 189% และวัยรุ่นอายุ 15-19 ปีขึ้น 62% เช่นเดียวกับยอดฆ่าตัวตาย ในเด็กอายุ 10-14 ปี ขึ้นกว่า 151% และอายุ 15-19 ปีขึ้นอีกกว่า 70%

นอกจากนี้การค้ากำไรจากการโฆษณาในอินเตอร์เน็ต สร้างระบบที่เอื้อต่อข่าวปลอม ไม่ใช่เพราะผู้สร้างอยากให้เป็นอย่างนั้น แต่ข่าวปลอมเป็นอะไรที่ทำเงินให้กับบริษัท เพราะมันน่าสนใจกว่าข่าวจริง เหมือนกรณีเรื่องไวรัสโควิด-19 ที่พวกวิดีโอที่สนับสนุนว่าไวรัสเป็นทฤษฎีสมคบคิดนั้นยอดเยอะมาก และแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว บางคนคิดแค่ว่าข่าวบ้าๆ ใครจะไปเชื่อ แต่ถ้ามีคนเชื่อข่าวปลอมอีกเป็นสิบเป็นร้อยพันหมื่นจะเกิดอะไรขึ้น

แล้วแก้ปัญหา หรือต่อต้านระบบนี่ยังไงในเมื่อชีวิตเราหลายๆ คนคงเลิกเสพสิ่งเหล่านี้ไม่ได้

  1. ปิดการแจ้งเตือนซะ
  2. เลือกวิดีโอของตัวเองทุกครั้ง ไม่กดอะไรที่ถูก ‘แนะนำมา’
  3. ใช้ search engine ที่ไม่มีการบันทึกข้อมูล
  4. เช็คข้อเท็จจริงก่อนแชร์
  5. ไม่กดคลิกเบท
  6. รับข้อมูลหลายๆ ด้าน ติดตาคนที่ไม่เห็นด้วยบ้างเพื่อให้เรามองในมุมที่แตกต่าง

หลักๆ ก็คือลดการใช้โทรศัพท์มือถือและสื่อต่างๆ เพราะแม้แต่คนที่ทำงานในบริษัทเทคโนโลยีก็ยังต้องควบคุมลูกตัวเองให้ใช้งานมือถือให้เป็นเวลาและในปริมาณที่เหมาะสม ลองใคร่ครวญประโยคนี้ให้ดี “หากคุณไม่ได้กำลังจ่ายเงินซื้อสินค้า คุณนั่นแหละคือสินค้า” (If you are not paying for the product you are the product) ตอนนี้ที่คุณเช็คอีเมลล์ ติดตามชีวิตเพื่อนๆ ของคุณในโลกโวเชี่ยลโดยไม่ได้เสียค่าบริการ คุณกำลังกลายเป็นสินค้าของใครหรือเปล่า

ปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่าโซเชียลมีเดีย คือสิ่งที่เราไม่สามารถตัดขาดจากมันแบบ 100% โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนที่เสพติดการยอมรับจากสังคม ผ่านยอดไลก์ ยอดแชร์, ยอดรีทวีต หรือจำนวนคอมเมนต์ จนทำให้อารมณ์และความสามารถในการรับมือกับเรื่องที่กระทบกับจิตใจลดน้อยลง ถ้าหากเราจะแก้ไขปัญหาที่เกิดจากโซเชียลมีเดีย มันจะต้องเป็นการแก้ปัญหาด้วยกันทั้งในส่วนของผู้บริโภคและผู้ให้บริการ เช่นการออกกฎหมายควบคุมกิจกรรมทางโซเชียลมีเดียให้ได้อย่างชัดเจน รวมถึงปรับเปลี่ยนวิธีการสร้างรายได้แบบใหม่ๆ เพื่อลดการเสพติดโซเชียลมีเดียของผู้ใช้งาน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า