SHARE

คัดลอกแล้ว

“เงินแผ่นดินนั้น คือเงินประชาชนทั้งชาติ” พระราชดำรัส ของ รัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ครบ 80 ปี เมื่อปี 2538 กำลังถูกนำกลับมาหยิกแกมหยอกหน่วยราชการแห่งนี้ ในวันที่ต้องเผชิญข้อครหา ในความโปร่งใสเสียเอง  

 

สืบเนื่องจาก การถล่มของ ตึก สตง. แห่งใหม่ นอกจากนำมาซึ่งการสูญเสียของบรรดาแรงงาน ที่จำนวนมากเป็นเสาหลักของครอบครัว อีกมุมหนึ่ง คล้ายกำลังเปิดแผล ของความไม่โปร่งใสในการใช้งบประมาณก่อสร้าง ที่ทำคนไทยติดใจทั้งประเทศ เพราะตามบทบาท หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งนี้ มีหน้าที่หนึ่ง คือ การแสวงหาข้อเท็จจริง และรวบรวมหลักฐาน การใช้จ่ายเงิน ว่ามีเหตุสงสัยว่าทุจริตหรือไม่

ทั้งนี้ ในการตรวจสอบ ‘เหล็ก’ ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร โดย รมว.อุตสาหกรรม ได้ผลลัพธ์เบื้องต้นว่า ไม่ได้มาตรฐาน เตรียมส่งข้อมูลให้ สตช. ตรวจสอบต่อ ทั้งยังพบว่าบริษัทผู้ก่อสร้างแห่งเดียวกันนี้ รับงานของทางราชการ ที่กำลังอยู่ระหว่างก่อสร้างอีก 10 แห่ง จึงต้องสั่งระงับการทำงานชั่วคราว ซึ่งการสอบสวนทั้งหมดขีดเส้นตายที่ 7 วัน

เมื่อเกิดข้อครหากับผู้ตรวจเช่นนี้ จึงไม่แปลกที่ ‘หน่วยรับตรวจ’ จะออกโรงบ้าง ถึงได้ปรากฏการณ์ในหมู่ข้าราชการ ที่กำลังออกมาแสดงความเห็น โดยยกตัวอย่าง ‘ความเขี้ยว’ ที่เป็นประสบการณ์ร่วมของคนทำงาน

สำนักข่าวทูเดย์ ใช้โอกาสนี้ทำความรู้จัก บทบาทหน้าที่ของ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่หน่วยงานนิยามเอาไว้ ประกอบกับ ปรากฏการณ์ ‘รัฐฟ้องรัฐ’ ที่ไม่ใช้ทางกฎหมาย แต่เป็นการวิพากษ์ต่อหน้าสาธารณะ

[จาก ออดิตออฟฟิซ สู่ สตง.]

การตรวจเงินแผ่นดินของไทย เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ครั้ง รัชกาลที่ 5 ราวปี 2418 ปรากฏในหมวดมาตราที่ 8 ของ ‘พระราชบัญญัติสำหรับกรมพระคลังมหาสมบัติแลว่าด้วยกรมต่าง ๆ ซึ่งจะเบิกเงินส่งเงิน จุลศักราช 1237’ ภายใต้ชื่อ  ‘ออดิตออฟฟิซ’ 

ปรับปรุงเรื่อยมา จนหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2522 ซึ่งยกเครื่องระบบชุดใหญ่ ก็ตามมาด้วยการเปลี่ยนแปลงชื่อหน่วยงาน จนมาเป็น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

ส่วนราชการแห่งนี้  เป็นหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบเงินของแผ่นดิน โดยมีผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (ผตง.) เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด ดำเนินการภายใต้นโยบาย และการกำกับดูแลของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) 

เมื่อมีคนตรวจ ก็ต้องตามมาด้วย ‘หน่วยรับตรวจ’ นั่นคือ บรรดาหน่วยงานที่ สตง. ต้องเข้าไปตรวจสอบ ตั้งแต่ กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ กองทุนเงินทุนหมุนเวียน หน่วยงานอื่นของรัฐ และหน่วยงานที่ได้รับเงิน

เช่นนี้เอง ที่ทำให้ สตง. กลายเป็นไม้เบื่อไม้เมา กับบรรดาเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐอื่นๆ เพราะหากจะมองอย่างเป็นกลาง การรักษาผลประโยชน์ ให้เงินทุกบาทที่ทุกคนเสียภาษี ใช้อย่างถูกต้องและเต็มเม็ดเต็มหน่วยได้นั้น เจ้าหน้าที่ สตง. ต้องเขี้ยวพอตัว

[แล้ว สตง. ตรวจสอบอะไรบ้าง]

ตามข้อมูล ที่ปรากฏในเว็บไซต์ ของ สตง. อธิบายหน้าที่ โดยแบ่งออกเป็น 6 ด้าน คือ

  • การเงิน: เป็นการตรวจสอบการรับจ่าย การเก็บรักษา และการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของหน่วยรับตรวจ ว่าเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องหรือไม่
  • จัดเก็บรายได้: เป็นการตรวจสอบการจัดเก็บภาษี ค่าธรรมเนียม และรายได้อื่นของหน่วยรับตรวจว่าเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องหรือไม่
  • จัดซื้อจัดจ้าง: เป็นการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ หรือทรัพย์สินของหน่วยรับตรวจว่า เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องหรือไม่
  • ดำเนินงาน: เป็นการตรวจสอบแผนงาน งาน โครงการของหน่วยรับตรวจ ว่ามีการดำเนินการที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ โดยประหยัด คุ้มค่า และได้ผลตามเป้าหมายหรือไม่
  • สืบสวน: เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานในกรณีที่การใช้จ่ายเงินของหน่วยรับตรวจมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการทุจริตหรือปฏิบัติไม่เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  • เชิงป้องกัน: เป็นการตรวจสอบในลักษณะที่เป็นการป้องกัน หรือหยุดยั้งการกระทำที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหาย ความสูญเปล่า หรือความไม่คุ้มค่าในการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน

[ถึงคราว ‘หน่วยรับตรวจ’ ร้องประชาชนในโลกออนไลน์]

ย้อนกลับไปช่วงเดือน ก.ค. ปี 2567 หน่วยงานรัฐที่นำโดย กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ที่ร่วมกับอีก 3ป. คือ ป.ป.ช. ,ป.ป.ท. , ป.ป.ง. ประกาศสงครามครั้งใหญ่ ว่าจะกวาดล้างเจ้าหน้าที่รัฐ ทุจริตงบประมาณแผ่นดิน ย้ำในตอนนั้นว่า “ใครคิดโกงเจอฝันร้ายแน่นอน” ก่อนที่ สตง. จะเป็นอีกหน่วยงาน ที่มาเสริมกำลัง หวังแก้ปัญหา การทุจริตที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตงบจัดซื้อจัดจ้าง

และตอนนั้นเองที่ทำให้ สตง. มีโอกาสแสดงผลงานและได้เสียงชื่นชมพอสมควร โดยเฉพาะกรณี การตรวจสอบโครงการอาหารกลางวัน หลังมีข้าราชการครูในหลายพื้นที่ ร้องเรียนถึงความไม่โปร่งใสในโครงการดังกล่าว

ขณะเดียวกัน ความเข้มงวดนี้ ในทางหนึ่ง ก็อาจทำให้ความยืดหยุ่นเพื่อประโยชน์ในวงกว้างลดน้อยลงเช่นกัน ถึงทำให้ในเพจครูขอสอน ซึ่งมีผู้ติดตามราว 5.3 หมื่นคน มีผู้มาร่วมแสดงความคิดเห็น ถึงความอึดอัดใจในการทำงานภายใต้การตรวจสอบของ สตง. ที่ผ่านมา

‘บาทเดียวยังโดน’

‘ใครเป็นกรรมการกำหนดราคากลางเก้าอี้คะ ครูพัสดุฝากถาม’

‘ค่าไฟโรงเรียน ต้องเป็นใบเสร็จที่ออกจาก การไฟฟ้าที่มีลายเซ็น แบบ 7-11 ไม่ได้ แบบโอนจ่าย ไม่ได้’

นี่เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งในโพสต์ ท่ามกลางผู้ที่ร่วมแสดงความเห็นกว่า 2.9 พันคน และส่งต่อมากกว่าหมื่นครั้ง

เหตุผลหนึ่งที่ทำให้ความเห็นของข้าราชการครู ไปในทิศทางเดียวกัน อาจเป็นเพราะโรงเรียนจำนวนมาก ไม่ได้มีเจ้าหน้าที่เฉพาะทาง ที่มีองค์ความรู้เรื่องการเงินและพัสดุตั้งแต่ต้น แต่บรรดาคุณครูเองที่ต้องควบภาระงานนี้ ซึ่งต้องถูกตรวจสอบอย่างเข้มข้นโดย สตง. ต่างกับหน่วยราชการอื่นๆ ที่อาจมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบเป็นหลัก ส่งผลให้แรงต้านลักษณะเดียวกันนี้เบาบางลงก็เป็นได้

[แล้วใครจะตรวจ ผู้ตรวจสอบ?]

อีกกรณีหนึ่ง เมื่อช่วงกลางเดือน มี.ค. โดย สตง. ออกโรงกรณีเหตุการณ์อุบัติเหตุระหว่างการก่อสร้าง บนถนนพระราม 2 จนทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ

โดย สตง. ได้มีการเปิดแนวทางการตรวจสอบโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่มุ่งเน้นการบริหารจัดการความปลอดภัย โดยใช้แนวทางตรวจสอบจากต่างประเทศ อาทิ สตง.เกาหลีใต้ (BAI) สตง.เนเธอร์แลนด์ (NCA) สตง.สหรัฐอเมริกา (GAO) และ สตง.ออสเตรเลีย (ANAO) ประกอบด้วย 4 ประเด็นสำคัญ คือ

  • การประเมินความเสี่ยงโครงการผ่านเครื่องมือที่เป็นระบบ
  • การสอบทานคุณสมบัติของผู้รับเหมาอย่างละเอียด
  • การนำเทคโนโลยีมาช่วยประเมินความปลอดภัย
  • การส่งเสริมความโปร่งใสผ่านรายงานความปลอดภัย

คำถามสำคัญก็คือ แนวทาง 4 ข้อนี้ ถูกนำมาใช้ตรวจสอบโครงการก่อสร้างที่ทำการ สตง.แห่งใหม่ ที่พังถล่มลงมามากน้อยแค่ไหน

ทั้งหมดนี้ จึงตามมาด้วยข้อสงสัยว่า แล้วถ้า สตง. ทำผิดบ้างใครตรวจสอบ? ตามข้อกฎหมายระบุไว้ว่า คณะกรรมการกำกับการตรวจสอบ ตาม ม.73 ประธานวุฒิสภา เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบ และให้อธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นกรรมการและเลขานุการในคณะดังกล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า