SHARE

คัดลอกแล้ว

ในสังคมร้อนพ่อพันแม่ย่อมมีผู้ห็นต่างกันอยู่มากมายตามธรรมชาติ แต่สังคมที่เจริญงอกงามได้ต้องสามารถที่จะนำเอาความเห็นที่แตกต่างหลากหลายมาใช้ประโยชน์ สังเคราะห์เป็นทางออกให้ปัญหาของสังคมได้อย่างลื่นไหลและไม่ปะทะกันอย่างรุนแรง แต่คนที่แตกต่างกันจะสามารถพูดคุยกันได้จริงหรือไม่ 

วันที่ 21 กันยายน 2565 workpointTODAY เชิญสี่คนสี่มุม เข้าถกในรายการ “ดีเบต ‘คนเห็นต่าง’ 8 ปี ประเทศไทยดีขึ้นหรือแย่ลง?” เพื่อพิสูจน์ข้อนี้ ผู้เข้าร่วมรายการได้แก่ มิน-ลภนพัฒน์ หวังไพสิฐ จากกลุ่มนักเรียนเลว, รอยตุ๊ – นพดล พรหมภาสิต ประธานศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์ หรือ ศชอ., ธาม สมุทรานนท์ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม. พรรคกล้า และ จ่านิว – สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง

การพูดคุยเริ่มจากการแนะนำตัวทั้งสี่ฝ่าย นิยามจุดยืนความคิดความอ่านของตนเอง พูดถึง 8 ปีประเทศไทยใต้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่างอกงามขึ้นหรือเสื่อมโทรมลง ก่อนจะเข้าสู่เรื่องการศึกษา แลกเปลี่ยนเรื่องประสบการณ์การสนทนากับผู้เห็นต่าง และร่วมกันมองประเทศไทยที่แต่ละคนอยากส่งต่อให้คนรุ่นต่อไป

** สี่ประสบการณ์ หลากความคิดอ่าน หลายจุดยืน **

สิรวิชญ์ แนะนำแนวคิดที่ตนเองยึดมั่นว่าอยู่ในระห่ว่างเสรีนิยมประชาธิปไตยและสังคมนิยมประชาธิปไตย “ผมเชื่อว่า เราเคารพในหลักการหนึ่งคนหนึ่เสียง เชื่อว่าอำนาจต้องมาจากประชาชน ผ่านการเลือกตั้ง และเราเชื่อมั่นในการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจทั้งสามฝ่าย ในทางเศรษฐกิจ เราไม่รู้ว่าคนเท่ากันหรือไม่เท่ากัน แต่หน้าที่ของรัฐมีหน้าที่จะต้องจัดสรรปันส่วนทรัพยากรต่างต่างให้เข้าให้ประชาชนเข้าถึงและเข้ากันให้ได้มากที่สุดนะครับ ตามแบบที่กระทําได้ไม่ใช่จะปล่อยให้ประชาชนอยู่กันตามยถากรรมอันนี้คือแนวคิดของผมทางเศรษฐกิจ”

ส่วนนพดล กล่าวว่า “เป็นสลิ่มร้อยเปอร์เซ็นต์นะครับก็คือ” ก่อนอธิบายว่าตนหมายถึงการที่ตนยึดมั่นในแนวคิด ‘รักชาติ ศาสตร์ กษัตริย์’ นพดลชี้ว่าตนยึดมั่นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเชื่อว่าทุกคนต้องยึดถือกฎหมายและกติกาในสังคม “ถ้าล้ําเส้นออฟไซด์ กฎหมายก็จะฟังก์ชั่นทันที อยากให้สังคมสงบสุขนั่นแหละ” 

ธามแนะนำมุมมองของตนว่า ตนมองว่าประเทศต้องขับเคลื่อนด้วยภราดรภาพ ผ่านการถกเถียงและมีภารกิจร่วมกันทําให้เป็นผลเชิงประจักษ์เป็นรูปธรรม “ความเชื่อของผมก็คือทุกอย่างมันต้องเป็นรถไฟทางรางคู่รถไฟรางคู่หมายถึงเราต้องสนับสนุนให้มีประชาธิปไตยทางการเมืองที่แข็งแกร่งควบคู่กับประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งไม่แพ้กัน.” เขาชี้ว่าตนเชื่อว่าประชาชนผู้เสียภาษีทุกคนควรมีอํานาจควบคุมตรวจสอบงบประมาณโดยตรงได้ และเชื่อว่าควรมีรัฐสวัสดิการที่เข้มแข็งและยั่งยืน โดยต้องหาช่องทางรายได้ใหม่ใ ผ่านเศรกษฐิจกสร้างสรรค์ เช่น เศรษฐกิจสีรุ้ง เศรษฐกิจสายมู เป็นต้น และใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ

ลภนพัฒน์กล่าวถึงนพดล “เมื่อกี้พี่รอยตุ๊ (นพดล) นิยามว่าเป็นสลิ่มก็ขอนิยามว่าเป็นสามกีบแล้วกันเราจะได้มีครบทุกสเปค” ก่อนกล่าวว่าตนเองขอพูดในฐานะนักเคลื่อนไหวทางการศึกษา ที่เชื่อว่าระบบการศึกษาเป็นรากฐานที่สําคัญในการพัฒนาพลเมืองในประเทศแล้วก็จะทําให้ประเทศนี้ตั้งอยู่หรือว่าล้มสลายไป การศึกษาก็เป็นสิ่งสําคัญที่จะบอกได้ว่าประเทศนั้นให้ความสําคัญกับอะไรและทิศทางในการบริหารประเทศจะออกมาเป็นแบบไหน ตนจึงเราอยากเห็นระบบการศึกษาที่ผู้เรียนทุกคนมีความสุข มีคุณภาพแล้ว ข้าถึงและทั่วถึง มุ่งเน้นในการพัฒนาพลเมืองมากกว่ามุ่งเน้นอบรมสั่งสอนพลเมือง และต้องการระบบการศึกษาที่เข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนมากกว่านี้

**คิดเล่น เห็นต่าง : แปดปีที่ผ่านมาประเทศไทยพัฒนาขึ้นหรือไม่ **

หลังผู้ดำนเินการรายการโยนคำถามแรกว่า 8 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยพัฒนาขึ้นหรือไม่ ผู้เข้าร่วมรายการ 3 รายมองว่าไม่มีการพัฒนาเท่าที่ควร ขณะที่นพดลมองว่าการพัฒนาเกิดขึ้นแล้วอย่างมีประสิทธิภาพ

ธามกล่าวว่า แปดปีที่ผ่านเศรษฐกิจสังคมได้รับผลกระทบ โดยยกตัวอย่างกรณีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสูง งบการลงทุนลดต่ำลง และการที่รัฐล้มเหลวในการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังตม  “เรายังมีโครงสร้างที่เหลื่อมล้ําอยู่ คนมือยาวได้สาวได้สาวเอาคนตัวเล็กยังต้องลําบากเหมือนเหมือนเดิมการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและการปฏิรูปสังคมในช่วงแปดปีที่ผ่านมาไม่มีผลอะไรที่เป็นรูปธรรมชัดเจน” 

“เราเห็นว่าระบบการศึกษาเมันมีหลายอย่างที่มันเหมือนกําลังจะพัฒนาในช่วงก่อน 8 ปีนี้แล้วมันก็ถูกหยุดไว้” ลภนพัฒน์กล่าวกรณีระเบียบทรงผมนักเรียนที่เกือบได้รับการยกเลิกช่วงก่อนรัฐประหารปี 2557 แต่ก็ชะงักไป ขณะที่ระเบียบใหม่ที่กระทรวงศึกษาธิการพัฒนาขึ้นหลังการเลือกตั้งปี 2562 ไม่ได้เป็ฯคุณแก่นักเรียนเท่าใดนัก นอกจากนี้ยังชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจที่ส่งผลตอนักเรียน “มีนักเรียนจํานวนมากจากเศรษฐกิจเสี่ยงที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษา 1.8-1.9 ล้านคน  เกิดขึ้นมาจากการบริหารของรัฐบาลชุดนี้” 

นพดลเห็น กล่าวว่า ตนมองว่าแปดปีที่ผ่านมาของรัฐบาลประยุทมีแต่ดีขึ้น โยยกตัวอย่างด้านโลจิสติกส์ ด้านสาธารณูปโภค ความมั่นคง การต่างประเทศ 

“วิกฤตโควิด(-19)  ประเทศไทยได้รับคําชื่นชมมากจากองค์การอนามัยโลก ทั่วโลกเขาชื่นชมให้เป็นต้นแบบ  อันนี้ผมว่าผมให้สิบเต็มสิบเลยแล้วบริหารจัดการให้ดี อันที่สองในเรื่องของการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวต่างชาติก็เริ่มที่จะกลับเข้ามา แสดงว่านั่นหมายความว่าไงเขาเชื่อมั่นว่าเมืองไทย อันนี้เราต้องให้เครดิตพลเอกประยุทธ์” 

นพดลกล่าวต่อถึงด้านเศรษฐกิจ  “ไม่ว่าจะเป็นคนละครึ่งชิมช้อปใช้ พัฒนามาเป็น เป๋าตังค์ มันไปทําให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนได้ แทนที่มันจะรัฐบาลก็อัดเงินเข้าไปในระบบไม่ใช่เป็นการที่เรียกว่าประชานิยม แจกแต่เงิน นี่คุณต้องออกคนละครึ่ง หมายความว่าคุณก็ต้องไปทํามาหากินเพื่อที่จะเอาเงินมาซื้อของไม่ใช่ว่ารัฐบาลจะต้องสวัสดิการร้อยเปอร์เซ็นต์ … รัฐบาลเขาพยุงเขาประคองเพื่อทีจะเดินไปด้วยกันโดยที่ไม่ทิ้งคนที่เดือดร้อนหรือใครไว้ข้างหลังไม่ว่าจะเป็นอะไรบัตรคนจนที่พวกคุณที่จะดิสเครดิตเรียกเขา  มันคือสิ่งที่รัฐบาลเขาดูแลตั้งแต่เกิดแก่ เจ็บ ตาย เขาก็ดูแลอยู่จะบอกว่าเขาไม่ทําอะไรเลย ผมว่าไม่ใช่แล้วล่ะ”

ระหว่างการสนทนานพดลยังได้แลกเปลี่ยนกับธาม และสิรวิชญ์เรื่องยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นพดลมีความเห็นว่าผู้เข้าร่วมการพูดคุยควรศึกษายุทธศาสตร์ชาติให้ดี ขณะที่ธามมองว่าการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติยาวนานเป็นเวลา 20 ปีเป็นการจำกัดกรอบในการบริหารประเทศมากเกินไป

สิรวิชญ์กล่าวเห็นแย้งปิดท้าย โดยกล่าวว่า รัฐบาลชุดนี้ได้เปรียบแต่ไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่น ทั้งยังมุ่งแต่การรักษาอำนาจ เห็นได้จากเรื่องกฎหมายซึ่งตนมองว่าถูกปรับเพื่อใช้ปิดปากคนบางกลุ่ม  “ในเรื่องเศรษฐกิจก็เหมือนกัน ผมคิดว่าไม่สามารถจะฉายภาพวิสัยทัศน์ระยะยาวได้อีกแน่ ๆ ผมไม่เคยเห็นรัฐบาลคุณทักษิณมานั่งแจกเงินอะไร กว่าจะได้เงิน ต้องไปเข้าสู่ระบบต้องไปเข้าโครงการหมู่บ้านต้องไปขอกู้ยืม ต้องมีการเป็นระบบทุนค่าเข้าการศึกษา” เขากล่าว่ารัฐบาลนี้เสียด้วยซ้ำต่างหากที่เป็นฝ่ายแจกเงิน 

นพดลเสริมแย้งสิรวิชญ์ประเด็นกฎหมาย ชี้ว่ากฎหมายไม่ทำร้ายใครหากไม่ละเมิดเสียก่อน “เวลาพวกคุณพูด คุณพูดด้านเดียวไง คุณพูดไม่หมดคุณพยายามที่จะแสดงในด้านของคุณเพื่อที่จห้คนเชื่อตามคุณสิบอย่าง  คุณพูดห้าอย่างแต่อีกห้าอย่างคุณไม่พูด ทําไมไม่พูดล่ะ ทําไม เพราะอะไร” นพดลถาม กล่าวต่อว่า “กระบวนการทางกฎหมายมันพิสูจน์ได้แล้วไง คุณจะต้องไปพิสูจน์ตัวเองว่าคุณบริสุทธิ์ก็คือกระบวนการทางกฎหมายในชั้นศาลหน้าบัลลังก์ใช่มั้ย ถ้าเกิดว่าคุณมีหลักฐานคุณมีอะไรทุกอย่างพร้อม คุณก็ไม่ผิด “

** การศึกษา : ฝันเดียวกัน ต่างรายละเอียด**

ประเด็นการศึกษา ลภนพัฒน์แบ่งปันว่าตนอยากเห็นระบบการศึกษาที่เข้าถึงได้ทุกคนเนาะ และไม่ควรเสียค่าใช้จ่าย รวมถึงค่าใช้จ่ายรูปแบบอื่น เช่น ค่าบํารุงการศึกษา เอ่อค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าห้องปรับอากาศค่าครูสอนภาษาภาษาต่างประเทศ  เป็นต้น อันเป็นสาเหตุทำให้ระบบการศึกษาไม่ทั่วถึง ตนมองว่าระบบการศึกษาของไทยไม่ควรเทียบกับระบบการศึกษาของสหรัฐอเมริกาหรือสหราชอาณาจักร เนื่องจากเป็นระบบการศึกษาที่มีความเหลื่อมล้ำสูง โดยคิดว่าระบบการศึกษาในฝันควรเทียบกับแถบสแกนดิเนเวีย ที่ระบบการศึกษาฟรีทั้งค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าใช้จ่ายแอบแฝงอื่นๆ เช่นค่าอาหาร ค่าเดินทาง “เราอยากเห็นระบบการศึกษาที่เป็นรัฐสวัสดิการเพราะมันเป็นรากฐานของมนุษย์ ถ้าเกิดว่าพลเมืองในประเทศนี้ไม่ไม่ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาได้ เราสามารถที่จะเห็นอนาคตได้เลยว่าประเทศนี้มันมันไม่น่าจะดี เพราะฉะนั้นเราเลยอยากเห็นระบบการศึกษาที่นอกจากจะเข้าถึงแล้วระบบการศึกษาก็ต้องออกแบบมาเพื่อที่จะเข้าได้กับผู้เรียนทุกคนด้วยไม่ใช่ระบบการศึกษาแบบที่เป็นอยู่ปัจจุบัน” 

 

ส่วนสิรวิชญ์แบ่งปันประสบการร์การเป็นลูกหนี้ กยศ. โดยชี้ว่าลูกหนี้กยศ.ส่วนใหญ่กู้ไปเพื่ออุดค่าเทอม ส่งผลต่อการเลือกสาขาวิชาการศึกษาของลูกหนี้กยศ. ทำให้หลายรายเลือกเรียนในสายสังคมศาสตร์ เนื่องจากหากเลือกเรียนในสายวิชาชีพหรือสายวิทยาศาสตร์จะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าอุปกรณ์ ค่าห้องปฏิบัติการ จึงเสนอว่าควรให้มีการกู้ในส่วนของค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่มาพร้อมกับแผนการศึกษาด้วย เช่นนี้ก็จะเป็นการช่วยส่งเสริมให้คนเรียนสายอาชีพได้มากยิ่งขึ้นด้วย “อย่างน้อยทําสวัสดิการสังคมให้มีมากขึ้น เป็นคือตาข่ายรองรับคนที่ตกหล่นให้มากขึ้น รัฐบาลนี้ ฃตกบกพร่องอย่างชัดเจนมันฟ้องมาที่ตัวตัวของคนนักเรียนที่ตกหล่นจากการศึกษา”

นพดลกล่าวถึงประสบการณ์ของตนว่า ขณะตนศึกษาอยู่ชั้นปริญญาตรีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่การการให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา แต่นักศึกษานิสิตสมัยนั้นสามารถขวนขวายช่วยเหลือตัวเองโดยค้นคว้าหาทุนการศึกษา นักศึกษาบางคนใช้เวลาว่างในการจัดการเรียนอ่ะไปหารายได้เสริม “ยุคเนี้ยพอมันมี กยศ ให้กู้ กู้มาแล้วไม่ใช่การศึกษาหรอก ไปใช้อะไรก็ไม่รู้สุรุ่ยสุร่าย แล้วเมื่อกี้ที่บอกว่าอยากกู้มาเป็นค่านู้นค่านี้ตกลงจะไม่พึ่งตัวเองเลยหรือ อัตตาหิ อัตโนนาโถ” เขากล่าวต่อ “อันนี้ในความคิดของผมนะซึ่งอาจจะเป็นอนุรักษ์นิยม หรือหัวโบราณหรือไดโนเสาร์หรือสลิ่ม แต่ผมว่าอันนี้ผมมองตัวเองตอนสมัยที่เรียนน่ะผมก็ไม่น่าเป็นคนที่ร่ํารวยมาจากครอบครัวแบบชั้นในผมก็ปากกัดตีนถีบแต่ทําไมผมสามารถที่จะถีบตัวเองขึ้นมาล่ะมันอยู่ที่ตัวหรือเปล่าอย่าเพิ่งไปโทษสังคม โทษรัฐบาล” 

ธามเห็นด้วยกับลภนพัฒน์และสิรวิชญ์เรื่องการศึกษามีค่าใช้จ่ายแอบแฝงเยอะ เขาระบุว่ารัฐธรรมนูญหมวดที่ 5 หน้าที่ของรัฐมาตรา 54 ระบุไว้ชัดเจนว่ารัฐบาลต้องจัดหาทําให้มีการศึกษาฟรี 12 ปี ซึ่งรัฐไม่สามารถทำได้เนื่องจากรัฐบาลไม่มีเงินพอ มีหนี้สูงแต่งบการลงทุนต่ํา ตนมองว่าจำเป็นต้องมีรัฐสวัสดิการทางการศึกษาที่เข้มแข็งและแข็งแกร่งยั่งยืนโดยจะได้มาจากการหารายได้ ซึ่งเขาเสนอแนวทางการผลักผลักดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่จะทําให้ประเทศมีรายได้พอที่จะผลักดันเป็นค่าการศึกษาสวัสดิการที่ฟรีและทั่ว

“อีกประเด็นหนึ่งเนี้ยเป็นที่น่าสนใจคือ SIP อย่างประเทศอเมริกาเขาจะดึงภาคเอกชนกับภาครัฐมาร่วมกัน ภาคอเมริกาทางเอกชนรัฐยูท่าเขาดึงเงินมาประมาณ 7 ล้านดอลลาร์สร้างเป็นกองกลางเพื่อเป็นกองกลางที่จะผลักดันให้เด็กจนในรัฐยูท่าห์สามารถเข้าเรียนชั้นประถมวัยได้ ผมว่ารัฐและเอกชนจําเป็นที่จะต้องรวมตัวกันผลักดันเรื่องสวัสดิการ” ธามระบุ

สิรวิชญ์แลกเปลี่ยนต่อว่า รัฐจำเป็นต้องทำหน้าที่ในการอุดรอยรั่ว เพราะเป็นหน้าที่พื้นฐานของรัฐ มิเช่นนั้นก็กลับไปใช้ทฤษฎีสังคมธรรมชาติ ไม่ต้องมีรัฐเลยหรือไม่ เขาชี้ว่าการร้องขอสวัสดิการไม่ใช่การขอทานแต่เป็นการขอสิ่งตอบแทนจากการจ่ายภาษี สิรวิชญ์โต้นพดลว่าคนรุ่นนพดลเองก็ตกหล่นทางการศึกษาเป็นจำนวนมาก การมีกยศ.ในรุ่นต่อมาจึงทำให้คนจำนวนไม่น้อยมีโอกาสมากขึ้น นพดลสอบถามว่าสิรวิชญ์เสียภาษีหรือไม่ สิรวิชญ์ยันว่าตนเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก่อนไปศึกษาต่อครั้งล่าสุดในต่างประเทศ หลังจากนั้นนพดลจึงแชร์มุมองทางการศึกษาของตน

“ถ้าในเรื่องการศึกษากับรัฐบาลชุดเนี้ยผมว่ารัฐบาลน่ะสอบตก” นพดลกล่าว “ผมเห็นด้วยกับน้อง ๆ ทุกคนต้องได้รับการเท่าเทียมทางด้านการศึกษาก็คือไม่ว่าจะด้านไหน ให้คือใครถนัดด้านไหน ต้องไปทางด้านนั้น อย่าไปกำหนดว่าทุกคนต้องเรียนสายสามัญเพื่อที่จะเข้ามหาวิทยาลัยเพื่อจะเป็นหมอวิศวะ อันนี้ผมไม่เห็นด้วย แล้วประเภทที่คิดว่ากระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงที่ไม่มีความสําคัญที่ยังไม่เป็นกระทรวงเกรดเอจ ะเอาใครมานั่งกระทรวงเป็นเจ้ากระทรวงก็ได้ อันนี้ควรเอาคนที่มีวิสัยทัศน์ เอาคนที่มีความคิดที่จะสามารถพัฒนาได้เพราะว่าเด็กเยาวชนมันก็คือการศึกษา ถ้าเด็กไม่มีการศึกษาหรือถดถอยทางด้านนี้ประเทศก็ไม่เจริญ อืออันนี้ผมเห็นว่ารัฐบาล สอบตกที่เอาคนไปนั่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาที่ไม่มีประสิทธิภาพเลย ปัจจุบัน เนี้ยผมก็ไม่เห็นว่าจะมีใครที่เก่งเลยที่จะมาขับเคลื่อนกระทรวงศึกษาธิการ  อันนี้ผมเห็นด้วยกับเด็กๆ” 

นพดลกล่าวเจาะเข้าไปถึงเรื่องคุณภาพครู กล่าวว่าปากท้องของอาชีพครูยังชักหน้าไม่ถึงหลังทำให้จำนวนมากต้องแบ่งพลังงานไปหารายได้เสริมแทนที่จะใช้ไปกับการพัฒนาด้านวิชาการ เขากล่าวว่ารัฐบาลนี้ไม่ได้มองว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่มีความสำคัญ โดยยกตัวอย่างการพัฒนาครูในประเทศแถบยุโรปที่การพัฒนาครูจะต้องผ่านการทดสอบทางด้านจิตวิทยาและให้หลักประกันหลากหลายอย่างจนทำให้เกิดความภาคภูมิใจ “อันนี้มันผิดบิดเบี้ยวตั้งแต่แรกแล้ว ที่เขาดีไซน์มาว่าครูที่จะมีตําแหน่เจริญก้าวหน้าจะต้องไปทําวิทยานิพนธ์ พยายามไปทําวิจัย ไปเอาตำแหน่งผู้อำนนวยการ ไปเอาด้านวิชาการครูที่สอนเก่งๆ ที่รักเด็กหรือเด็กโหวตให้กับการเป็นครู หากเขาไม่มีผลงานทางวิชาการ  เขาไม่เจริญเติบโตเลยหรือ มันผิดตั้งแต่ครู เพราะฉะนั้นไอ้เรื่องการดีไซน์การศึกษาให้เด็กอย่าเพิ่งไปพูดถึงเลยเอาตัวแม่พิมพ์ก่อน” 

ลภนพัฒน์แสดงความเห็นด้วยกับนพดลในประเด็นเรื่องคุณภาพครู โดยมองว่าการได้รับการบบรจุเป็นข้อราชการกลางเป็นแรงจูงใจหลักในการประกอบอาชีพ ขณะเดียวกันก็แย้งในประเด็นการสนับสนุนให้ทำงานแลละเรียนไปในเวลาเดียวกัน โดยสภนพัฒน์ชี้ว่าการให้เด็กต้องทำงานเเป็นการผิดอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กซึ่งประเทศไทยลงนามไว้สามสิบกว่าปีแล้ว โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในการศึกษาขั้นพื้นฐายคือ ป.1-ม.3 นพดลแก้ไจว่าตนเห็นด้วยในกรณีเด็กต่ำกว่าระดับมหาวิทยาลัยไม่ควรทำมาหากิน แต่ตนตั้งใจหมายถึงกลุ่มนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยต่างหากที่สนับสนุนให้หางานทำแทนการกู้ยืม 

ธามเสริมว่านอกจากการศึกษาภาคบังคับ  มุมการศึกษาที่ไม่ควรมองข้ามก็คือการศึกษา ตลอดทั้งชีวิต ปัจจุบันมีคนทํางานมากมายต้องปรับตัวตามภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรม EV หากปรับตัวไม่ทันจะมีแรงงานตกงานเป็นจำนวนมาก รัฐบาลจําเป็นต้องมองถึงอนาคตตรงนี้และสร้างหลักสูตรที่เป็นสวัสดิการฟรีเพื่อปรับเปลี่ยนทักษะของแรงงานจํานวน ให้เขาสามารถเข้าทํางานใหม่ในยุคที่อุตสาหกรรมที่เปลี่ยนไป เพื่อให้มีรายได้ที่มีคุณภาพมีอาชีพที่มีคุณภาพ ชนะเงินเฟ้อ “เราจําเป็นต้องมองถึงระยะยาวต้องมองถึงการศึกษาที่ครอบคลุมทั้งเด็กแล้วก็ทั้งผู้ใหญ่และคนทํางานครับ” 

สิรวิชญ์กล่าวเพิ่มเติมเรื่องรูปแบบการศึกษา เขาเสนอว่าควรเปลี่ยนความรู้สึกของนักเรียนไม่ให้เมื่อนึกถึงโรงเรียนแล้วเกิดความกลัว โดยต้องเริ่มจากการเปลี่ยนแนวคิดของการศึกษาในโรงเรียน “ ผมคิดว่าโรงเรียนเองอาจจะปลดแอกตัวเองยังไง ทํายังไงให้เป็นแห่งการเรียนรู้ ทําการศึกษาให้เป็นการศึกษาไม่ใช่เพื่อตอกย้ําโฆษณาชวนเชื่อ เพราะที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าฟังก์ชันของระบบศาสตร์การศึกษาไทยจํานวนไม่น้อยเองมันทําหน้าที่อย่างนั้นไปเยอะแล้ว แล้วผมคิดว่ามันไม่สายครับ”

**พูดคุยกับคนเห็นต่าง ใช้พลังงานมาก แต่จำเป็น **

ลภนพัฒน์กล่าวว่า โดยส่วนตัวตนชอบอธิบาย ถกเถียง ชอบโต้ตอบกัน เรารู้สึกว่าสิ่งหนึ่งที่จะทําให้อยากจะถกเถียงหรือว่าอธิบายหรืออะไรบางอย่างกับคนคนหนึ่มันควรเป็นการที่เขามีความต้องการที่จะแลกเปลี่ยนกับเรามากกว่าการที่พยายามจะเอาชนะ “มินเป็นคนที่เงียบได้นะ คือเลือกที่จะจบสนทนาที่คุณก็ได้ เราไม่พูดต่อ แต่เรารู้สึกว่าสิ่งที่จะทําบทสนทนานั้นมันน่าคุยกันก็คือว่าเขารับฟังสิ่งที่เราพูดจริงๆ แล้วเราก็รับฟังสิ่งที่เขาพูดจริงๆ แล้วเราก็มาคุยกันบนพื้นฐานของสิ่งที่แต่ละคนพูดไม่ใช่ทุกอย่างออกมาจากตัวออกมาจากตัว ออกมาจากตัวหมดเลยเราว่า มันทําให้ สุดท้ายแล้วมันมันไม่จบลง”

นพดลแนะนำว่าในการพูดคุยกับคนเห็นต่างต้อง “จูนเครื่อง” ให้ตรงกันก่อน ถ้ามันคลื่นไม่ตรงกันก็คุยไม่ได้ สองคือเราต้องเปิดใจก่อน ทิ้งหัวโขนไว้และรับฟัง อย่าเป็นน้ําเต็มแก้วว่าคุณมีประสบการณ์มากกว่าอาบน้ําร้อนมาก่อน “ผมก็มีหลานนะ อนเขาเหมือนกัน เตือนเขาแล้วว่า อันนี้มันไม่ดีไม่ดีนะ แต่เขาไม่เชื่อให้เขาลองทําสุดท้ายถ้าเกิดว่าเขาเฟล เขาจะรู้เอง…ถ้าเกิดเขาผิด  อย่าไปตําหนิ อย่าไปว่าอะไร สอนเขา”

ธามเสนอว่าตนเสนอในมุมมองที่เป็นมหภาคระดับประเทศ เขาเชื่อว่าทุกคนปรารถนาดีกับสังคมทั้งหมดแต่ไม่มีทางที่แนวทางจะตรงกันไปได้ แต่อย่าลืมว่าปัญหาที่มันรบเร้าสังคม มากที่สุดมันไม่ใช่ปัญหาระหว่างวัย หรือปัญหาเรื่องความคิดที่ต่างกัน เขาระบุว่าปัญหาความเหลื่อมล้ําทางสังคมโครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรมปัจจุบันต่างหากที่เป็นปัญหาสำคัญ

“ที่ผ่านจะเห็นว่าสิบปีมา คนยึดติดกับความขัดแย้งเสื้อเหลือง เสื้อแดง กปปสเสื้อหลากสีซึ่งมันเป็นความขัดแย้งเรื่องความเชื่ออุดมการณ์เรื่องตัวบุคคล สิ่งที่ซ่อนอยู่ภายใต้ความขัดแย้งระดับการเมืองก็คือ สภาพเศรษฐกิจสภาพสังคมโครงสร้างเศรษฐกิจสังคมที่ยังไม่มีการไปแตะไม่มีการทํายังไงให้สังคมเป็นธรรมมากขึ้นปัจจุบัน … มันเป็นภารกิจที่เราต้องร่วมกันเถียงคุยกันอย่างเดียวไม่ได้ต้อง มุ่งหน้าที่จะทํางานร่วมกันทํายังไงให้ปรับให้สังคมนี้มันเสมอภาคและดีสําหรับทุกเพศทุกวัย

“ใครคิดว่าเห็นผมดูมุมในปากมุมปราศัยดุดันอย่างเงี้ยใช่มั้ยฮะแต่ความจริง ๆแล้ว เวลาผมอยู่กับคนแก่ผมร้องเพลงอยู่กับคนอายุมาก” สิรวิชญ์กล่าว “บางทีคนรุ่นใหม่ด้วยความที่เคยเป็นเด็กมา เรามีความรู้สึกว่าผู้ใหญ่ไม่ฟังเราดังนั้น ดังนั้น  พอเราปรับนิดพออายุเริ่มเข้าวัยผู้ใหญ่เราก็ต้องปรับให้ต้องฟังเขาให้มากขึ้น พูดให้มันน้อย ลงเวลาเจอเวลาคุยกับเด็ก” 

สิรวิชญ์ชี้ว่าเมื่อใดที่เกิดปัญหาควรจะเชิญหน้ากับคนเห็นต่างแล้วพูดคุยเพื่อหาทางออก แทนที่จะซุกปัญหาไว้ใต้พรม โดยต้องมีการประคับประคองบทสนทนาจากสถาบันทางการเมือง ไม่ใช่พยายามแก้ปัญหาด้วยการกดปราบให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเงียบ หรือใช้ความรุนแรง นี่คือจุดที่สําคัญที่สังคมไทยต้อง ต้องเรียนรู้ให้ได้

**สุดท้าย ทุกฝ่ายมองภาพฝันในอนาคตไม่ต่างกัน**

เมื่ถามว่าต้องการส่งต่อประเทศแบบไหนให้คนรุ่นหลัง นพดลเผยว่าเขาไม่ต้องการส่งต่อประเทศแบบใดแบบหนึ่งให้คนรุ่นหลัง เนื่องจากชเื่อว่ากระบวนการเรียนรู้เป้นสิ่งสำคัญ “น้องในวัยนี้ที่จะขึ้นไปนําพาประเทศชาติ พอถึงรุ่นเขามันก็จะต้องมีอีกรุ่นใหม่ขึ้นมา กลไกจักรวาลธรรมชาติเดี๋ยวมันจัดสรรของมันเองแหละนะ แต่ผมเชื่อว่าประเทศไทยยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ … ยังมีอะไรที่ยังคอยปกป้องอยู่ไม่ให้เราพินาศไป ไม่ว่าจะเสียดินแดน การล่านิคม หรือือ่น ๆ จากประวัติศาสตร์ที่ลงมาจนถึงปัจจุบันที่มีความขัดแย้งต่างๆ  สุดท้ายเดี๋ยวมันก็คลี่คลายของมันเอง การปะทะ ระหว่างสองสลิ่มกับสามกีบหรืออะไรก็แล้วแต่ที่จะเรียก นี่มันก็คือเป็นแค่ส่วนหนึ่ง พวกนี้ก็อาจจะขึ้นมาเป็นผู้นําประเทศสามกีบต่อไปในอนาคตมันอาจจะมีสี่กีบห้ากีบอะไรมาแทนที่ก็ได้ ผมไม่ฝากหรอกให้มันเป็นไปตามธรรมชาติ”

ลภนพัฒน์กล่าวว่าเขาอยากอยู่ในโลกที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการกําหนดมันขึ้นมา โลกที่ทุกคนมีสิทธิมีเสียงมีสิทธิเสรีภาพที่จะบอกว่าอยากเห็นโลกเป็นแบบไหน ไม่ใช่โลกที่มีใครบางคนกําหนดมาแล้วบอกว่าต้องอยู่ในโลกนี้เท่านั้น อะ โลกที่ทุกคนกําหนดมันขึ้นมาอาจจะมีหลายเรื่องที่แตกต่างกันหรืออาจจะมีหลายเรื่องที่ตรงกัน “เราว่ามันก็พูดคุยกันได้เสมอแล้วก็สุดท้ายถ้าทุกคนพูดคุยกันได้แล้วก็รับฟังกันจริงๆ เราว่าโลกแบบนั้นมันก็เกิดขึ้นได้”

สิรวิชญ์กล่าวว่าตนอยู่ระหว่างกลาง ทั้งต้องส่งต่อด้วยแล้วก็รอรับไปพร้อมกัน  เขาอยากให้ข้อโต้แย้งข้อข้อโต้เถียงบางอย่าง ในสังคมไทยควรที่จะได้ข้อสรุป “เรื่องพื้นๆเรายังต้องมาเถียงกันอย่างเช่นเรื่องหนึ่งคนหนึ่งเสียง ผมเกิดปีเดียวกับเหตุการณ์พฤษภาครับพฤษภาปีสามห้านะครับ ผ่านไปสามสิบปีทุกวันนี้สังคมไทยยังต้องพูดในเรื่องที่คนเรียกร้องในเหตุการณ์ปีสามห้าตอนนี้ผมยังเพิ่งจะแบเบาะอยู่ … ควรที่จะต้องได้ข้อสรุปแล้วเป็นเหมือนกับบรรทัดฐานร่วมกันแล้วว่าเราจะไม่ทําอย่างงั้น แล้วที่เหลือหลังจากนั้นประชาชนตัดสินใจยังไงก็ไปว่ากันในกระบวนการแล้วจะมองต่อจากนั้นยังไงก็ให้เป็นทางเลือกของประชาชน แล้วยอมรับกันในระบบการเลือกตั้งและไม่ใช้ความรุนแรงทางการเมือง” 

ธามปิดท้ายว่า เขาต้องการส่งต่อประเทศที่มีโครงสร้างเศรษฐกิจเป็นธรรมมากขึ้น ทําให้คนธรรมดาที่เสียภาษีทุกหยาดเหงื่อที่เสียภาษีภาษีต้องกลับมา ทําให้ประชาชนมีบทบาทในการกําหนดว่างบประมาณต้องเอาไปทําอะไรบ้าง มีบทบาทในการกําหนดงบประมาณโดยตรง ประเทศต้องมีความเท่าเทียมมีประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจควบคู่กับประชาธิปไตยทางการเมือง

“เราพึ่งคนรุ่นใหญ่อย่างเดียวไม่ได้ …  มันเหมือนมีบ้านชื่อบ้านประเทศไทย ทรุดโทรมผุพังไม่น่าอยู่แต่ถ้าคุณย้ายประเทศย้ายไปอยู่บ้านอื่นเดี๋ยวบ้านอื่นมันอาจจะไม่ดีเหมือนที่คิดไว้คุณจะย้ายต่อไปเรื่อยเรื่อยหรือ กลับมาตรงนี้กลับมาบ้านแห่งประเทศไทยกลับมาให้มันดีขึ้น ถ้าร่วมกันผมเชื่อว่ามันไม่ต้องทุบทิ้งทุบทิ้ง มันอาจจะไม่มีทางกลับมาเหมือนเดิม แต่ถ้าเรามาร่วมมือร่วมใจรีโนเวทบ้านประเทศไทยทุกเพศทุกวัย  เราจะได้สังคมที่ดีกว่าสังคมที่เป็นธรรมทั้งประชาธิปไตยทางการเมืองและประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจมีโครงสร้างเศรษฐกิจที่เสมอภาครอรับรัฐสวัสดิการที่สมบูรณ์ได้ในอนาคตครับผม” 

บทสนทนาความยาวรวม 1 ชั่วโมง 16 นาที คนจากสี่แหล่ง สี่แนวทาง สี่ประสบการณ์แลกเปลี่ยนกันครั้งนี้โดยไม่เกิดความรุนแรง ขณะเดียวกันก็ถกเถียงต่อยอดแนวคิดของกันและกัน ด้วยเวลาอันจำกัดอาจทำให้ยังไม่มีบทสรุป แต่ทุกคนยอมรับตรงกันว่าการรับฟังและพูดคุยกับคนเห็นต่างเป็นเรื่องสำคัญ และจำเป็นต้องเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอในทุกที่ของสังคม 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า