SHARE

คัดลอกแล้ว

“มีคนรักทะเลมากขึ้น คนทำงานให้ทะเลดีใจทั้งนั้น…ดีใจที่คนไทยสนใจมากขึ้น ความหวังคือ อยากให้สนใจต่อไปนานๆ และสำคัญที่สุด คือแปรเปลี่ยนเป็นผลลัพธ์ที่มองเห็นได้” 

 

หากจะถามหา คนหนึ่งที่ทำงานเกี่ยวข้องกับ การจัดการทรัพยากรทางทะเล มาอย่างยาวนาน และไม่พลาดยุคเปลี่ยนผ่าน ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่หลายคนเรียกติดปากว่า อ.ธรณ์ คงไม่หลุดโผ ด้วยจุดเริ่มต้นความพยายามฟื้นฟูทะเล ที่เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะเยาะ ก่อนการเปลี่ยนแปลง ในช่วงเวลาราว 30 ปี จะพิสูจน์บ้างแล้วว่า เป็นไปได้

“เทียบกับอดีต 20-30 ปี ดูดีขึ้น แต่ปัญหาสำคัญของเรา คือเราทำได้เฉพาะพื้นที่” ความคิดเห็นนี้ มีหลักฐานเป็นที่ประจักษ์ นั่นคือ อ่าวมาหยา หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ ซึ่งผ่านการฟื้นฟูขนานใหญ่ ด้วยการร่วมมือของหลายฝ่าย 

เช่นเดียวกับ เกาะยูง จ.กระบี่ ที่ปิดมาแล้วกว่า 6 ปี และยังไม่มีกำหนดเปิ รวมถึงเกาะตาชัย จ.พังงา ที่ยังปิดเช่นกัน สะท้อนภาพว่า การจัดการพื้นที่ทะเลไทยเกิดขึ้นได้จริง แล้วอะไรที่ทำให้ยังไม่สามารถทำได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และจะทำได้ดีกว่านี้ได้อย่างไร หาคำตอบผ่าน รายการ TODAY LIVE ตอนนี้

[ทะเลไทย ดีขึ้นได้ด้วยสาเหตุใด]

อ.ธรณ์ เล่าย้อนไป ช่วงปี 2545-2555 ซึ่งการท่องเที่ยวทางทะเลของไทยเฟื่องฟูถึงขีดสุด “ทุกคนเห็นแก่เงินหมด นักท่องเที่ยวคือพระเจ้า แต่พอเราเริ่มเห็นความเสียหายและพินาศ นักท่องเที่ยวเบือนหน้าหนี อะไรที่พังไปเขาแค่เปลี่ยนไปที่อื่น ผู้ประกอบการในพื้นที่ก็เริ่มปรับตัว และดูแลพื้นที่”

สิ่งที่เกิดขึ้นใน อ่าวมาหยา หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ ถือเป็นกรณีศึกษาสำคัญ เมื่อจำนวนเรือท่องเที่ยวมีให้เห็น มากกว่าพื้นที่ว่างบนผืนน้ำ โดยในเฟซบุ๊กส่วนตัวของ อ.ธรณ์ เปิดเผยภาพเปรียบเทียบ ก่อนและหลังฟื้นฟูอ่าวมาหยาเอาไว้ ซึ่งเริ่มต้นปิดพื้นที่ ในปี 2561 และเปิดให้เข้าอีกครั้งใน 4 ปีต่อมา

ความน่าสนใจ คือ ไม่ใช่แค่เพียงปิดอ่าวเฉยๆ แต่มีการจัดระเบียบการท่องเที่ยวใหม่ทั้งหมด ห้ามเรือเข้าไปในอ่าว ห้ามนักท่องเที่ยวลงเล่นน้ำ ทำให้ฉลามกลับมาอาศัย ร่วมกับมีโครงการฟื้นฟูปะการังของอุทยานฯ และอาสาสมัครในพื้นที่ และที่ขาดไม่ได้ มีการกำหนดจำนวนนักท่องเที่ยว สร้างทางเดินเพื่อควบคุมให้อยู่ในเส้นทาง ไม่รบกวนพืชสัตว์ในบริเวณนั้น และไม่ทำให้ชายหาดทรุดตัวและพังทลาย เป็นที่มาของภาพ ณ ปัจจุบัน ที่เคยเป็นไวรัลมาแล้ว ที่มีฉลามครีบดำจำนวนมากปราะกฏให้เห็นริมฝั่ง 

นับแต่นั้น อ่าวหมาหยากลายเป็นแหล่งผลิตฉลาม จนทีมวิจัยทั้งไทยและต่างชาติ ใช้เป็นพื้นที่เก็บข้อมูล เพื่อการอนุรักษ์ในระดับนานาชาติ แม้จะไม่ได้สมบูรณ์แบบไปเสียทั้งหมด แต่ อ.ธรณ์ ให้ความเชื่อมั่นว่า การเปลี่ยนแปลงเกิดได้ เมื่อเจอจิ๊กซอว์ที่ลงตัวพอดี อย่างที่ย้ำอยู่หลายครั้ง ในการพูดคุยตลอดรายการ 

“ฉะนั้นโดยพื้นฐาน ผมเชื่อว่าทุกคนรักทะเล คนทำผิดก็ว่ากันไป แต่ส่วนใหญ่อยากให้หน้าบ้านเราดี”

[ธรรมชาติต่างหาก คือพระเจ้า]

เช่นเคย เมื่อเกิดข้อถกเถียงในประเทศ เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องศึกษาแนวทางจากประเทศที่ทำได้สำเร็จ อย่างที่ อ.ธรณ์ ยกตัวอย่างบทเรียน ของ อาร์เจนตินา ประเทศในลาตินอเมริกา ที่ขึ้นชื่อเรื่องการอนุรักษ์แบบมีส่วนร่วม ทั้งที่ รู้กันว่าประเทศเผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจหนักหน่วงกว่าไทยหลายเท่า แต่เรื่องร้ายกลายเป็นดี เมื่อสถานการณ์ทำให้พวกเขาตระหนัก และห่วงแหนธรรมชาติยิ่งกว่าเดิม ซึ่ง อ.ธรณ์ มีโอกาสได้ไปสัมผัสประสบการณ์นี้ด้วยตัวเอง

“เมื่อในประเทศไม่เหลืออะไรให้หากิน ธรรมชาติจะเพิ่มระดับความสำคัญมาท็อปสุด เขาจะดูแลนักท่องเที่ยวน้อยกว่าธรรมชาติที่เป็นปากท้อง ลูกค้าคือพระเจ้าใช้กับที่นั่นไม่ได้ ธรรมชาติคือพระเจ้า เพราะธรรมชาติออยู่กับเขา…เมื่อไหร่ลูกค้าไปทำลายสิ่งที่สำคัญ พวกเขาคือคนทำผิด”

“ไกด์เขาไม่ได้ดูแลแค่คณะของตัวเอง เขาดูคณะอื่นด้วย ถ้าใครละเมิด เขาจะถ่ายคลิปแล้วแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที เพื่อช่วยตรวจตรา”

อ.ธรณ์ เขียนอธิบายเพิ่มเติมไว้ในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมหนักมาก ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างการใช้ขวดเติมน้ำ และในเมืองสำหรับการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ก็เน้นการเดินป่าแบบถูกต้อง ปฏิบัติตามกฎและไม่รบกวนธรรมชาติ “ไม่ใช่แค่ให้นักท่องเที่ยวรักษาสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลธรรมชาติ”

เช่น ถ้าเจอคนทำผิดให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ เจอสัตว์ป่าให้รีบบอก ขายของที่ระลึกยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพียบ เป็นต้น

[ไม่ต้องให้คนรักทะเลเสียสละ ถ้ารัฐจัดการเงินเป็นระบบ]

กลับมาในประเทศไทย อ.ธรณ์ กล่าวได้เต็มปากว่า มีเจ้าหน้าที่พร้อมปฏิบัติงานจำนวนมาก แต่หน่วยงานจะเป็นต้องปรับตัว โดยเฉพาะการสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการทำงาน ตลอดจนจัดสรรงบประมาณให้ถูกที่ถูกทาง “เราควรสนับสนุนให้เขาทำงานได้ดีขึ้น คนมีสวัสดิการที่ดี มีความสบายใจ เรือมีน้ำมัน อุปกรณ์พร้อม เขาก็อยากทำงาน แต่ถ้าเหนื่อยแทบตาย แต่ไม่มี (ทรัพยากร) อะไรเลย คงไม่ไหว”

นั่นเอง ทำให้ อ.ธรณ์ ย้ำถึงการจัดการรายได้อุทยานฯ เป็นเรื่องสำคัญลำดับต้นๆ ต้องมีความชัดเจน โปร่งใส สามารถนำไปใช้เพื่อประโยชน์สูงสุด ในด้านการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ 

“ผมอยากให้เอาเงินรายได้ต่างๆ ไปสนับสนุนการศึกษาวิจัย การลาดตระเวนและสวัสดิการของเจ้าหน้าที่ มากไปกว่าสวนไม้ประดับ ทำฟุตบาท หรือศูนย์บริการนักท่องเที่ยว”

“ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่มีแรง ไม่มีอุปกรณ์ จะไปดูแลทะเลยังไง จะไปขอให้คนรักทะเลต้องเสียสละ ทำไมเขาต้องเสียสละด้วย”

ตามความเห็นของ อ.ธรณ์ ทั้งหมดที่ทำก็เพื่อความน่าใจถือของกรมอุทยานฯ ซึ่งเคยพยายามกันมาหลายครั้งหลายหนแล้ว ที่จะไม่ให้เม็ดเงิดนหลุดหายไป อย่าง กรณีการซื้อบัตรค่าบริการอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ E-Ticket) ที่ผ่านมาแล้ว 8 ปี ก็ยังไม่เกิดขึ้น

[เปิดช่องให้ ‘อยากรักทะเล’ ได้มากกว่าเดิม]

“ถ้าผู้ประกอบการมีไม่ดี มากกว่าดี ผมคงเลิกทำงานไปแล้ว” อ.ธรณ์ ยืนยันอย่างชัดเจน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและกำลังใจให้ทุกฝ่าย ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการที่การกระทำผิดซึ่งหน้า โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ อย่างในกรณีการรุกล้ำเขตชายฝั่ง อ.ธรณ์ ย้ำว่า รัฐต้องจัดการให้เด็ดขาด ไม่เช่นนั้น ภายใต้กฎเดียวกันก็ทำให้คนรู้สึกไม่ยุติธรรมได้

“ถ้ามีคนเอาเปรียบธรรมชาติอยู่ ผู้ประกอบการดีๆ เขาก็รู้สึกว่าอยู่ใต้กติกาเดียวกัน คนทำไม่ดีมีคนสนับสนุนมากมาย ขณะที่ฉันทำดีแล้วไง”

“คงต้องให้ความสำคัญ กับผู้ประกอบการดีๆ ที่มีอยู่เยอะแยะ ให้เขามีส่วนร่วมไปกว่าที่จะไปสั่งเขา เปิดช่องทางให้เขาว่า ‘ถ้าฉันอยากทำ อยากรักทะเล ให้มากกว่านี้’ ทำยังไง”

อ.ธรณ์ ยกตัวอย่าง ระบบการเป็นหูเป็นตาให้เจ้าหน้าที่ ต้องรัดกุมและคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตของผู้ให้ข้อมูล “บอกให้แจ้งเจ้าหน้าที่ แจ้งยังไง ไม่ใช่แจ้งไป อีกฝ่ายหนึ่งได้ยินมา ไม่ใช่ฉันแบนแต๊ดแต๋ มันต้องมีระบบชัดเจน ไม่ใช่ใช้คำว่าแจ้งเจ้าหน้าที่อย่างเดียว ต้องทำให้มั่นใจว่า เมื่อแจ้งแล้วเราจะไม่โดนเล่น”

เช่นเดียวกัน อ.ธรณ์ มองว่า ระเบียบของกรมอุทยานฯ ก็ต้องส่งเสริมและให้ผลตอบแทน ตามผลงานของคนที่ตั้งใจทำงานด้วย เช่น เจ้าหน้าที่พิทักษ์ฯ ที่สามารถรายงานการกระทำผิด แจ้ง ปรับ คนกระทำผิดได้ ก็มีการเก็บข้อมูลผลงาน เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้คนทำงาน 

“ประเมินให้ชัดเจนว่า การดูแลทรัพยากร คือความสำคัญอันดับหนึ่งของการชี้วัดความสำเร็จ ในแต่ละหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ”

“รัก เชื่อ เข้าใจ และก็ช่วยกัน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มองเห็น และเป็นไปได้…นี่เป็นกติกาของการอนุรักษ์ทั่วโลก ไม่มีการอนุรักษ์ที่ไหนสำเร็จได้โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง” อ.ธรณ์ ทิ้งท้ายด้วยความดีใจที่คนสนใจ และรักทะเล

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า