SHARE

คัดลอกแล้ว

 

https://www.facebook.com/MarketingOopsdotcom/videos/627541961172514/

วันที่ 26 พ.ค.63 TikTok คือหนึ่งในแอปพลิเคชันที่มียอดดาวน์โหลดในช่วงไตรมาสแรกปี 2563 มากถึง 315 ล้านดาวน์โหลดทั่วโลก และจากการสำรวจของ We Are Social วันที่ 20 เม.ย.63 พบว่า TikTok มีจำนวน Active User มากถึง 800 ล้าน User ล่าสุดทางเพจ Marketing Oops! ได้เชิญ คุณปกรณ์ วัฒนเฉลิมวุฒิกร (วิน) หัวหน้าฝ่ายการตลาด TikTok และคุณลักศมี จง (หมี) ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาคอนเทนท์และแคมเปญ TikTok มาพูดคุยในหัวข้อ “เบื้องหลังความแรง TikTok จะเป็นพื้นที่แห่งใหม่ของ Influencer และ แบรนด์ได้หรือไม่”

ทางคุณวินเผยถึงปัจจัยที่ทำให้แอปพลิเคชัน TikTok ได้รับความนิยมไปทั่วโลกว่า จุดเด่นของแอปพลิเคชัน TikTok นั้นมีทั้ง 1.ความสดใหม่ของแอปพลิเคชัน, 2.กระแส short form video ที่กำลังเป็นที่นิยมไปทั่วโลก, 3.ความเป็น one stop application ที่สามารถตัดต่อ ตกแต่ง ทั้งวิดีโอและมิวสิคได้, 4. challenge marketing ที่เราได้ทำร่วมกับแบรนด์ต่างๆ และตัวที่สำคัญที่สุดคือระบบ machine learning ที่จะทำหน้าจัดหมวดหมู่คอนเทนต์ให้เหมาะสมต่อความต้องการของ User แต่ละคน

ซึ่งวินเผยว่า ในปัจจุบันกลุ่มผู้ใช้งานหลักของ TikTok คือกลุ่ม gen Y (อายุระหว่าง 22-38 ปี) และ gen Z (อายุระหว่าง 17-22 ปี) ซึ่งก่อนหน้านี้กลุ่มผู้ใช้งานหลักๆ จะเป็นวัย 13-17 ปี แต่หลังจากช่วงที่เรามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะเห็นได้ว่า กลุ่มผู้ใช้งานที่อายุ 18-24 และ25-34 ก็ขึ้นมาเป็นกลุ่มผู้ใช้งานหลักของเราแล้ว โดยกว่า 75% ของผู้ใช้งานเป็นผู้หญิง ซึ่งกลุ่มผู้ใช้งานในไทยส่วนใหญ่ใช้เวลาเล่น TikTok มากถึง 60 นาทีต่อวัน เข้าใช้งานถึงวัน 4 ครั้ง

ส่วนกระแสการใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok ในช่วงโควิด-19 นั้นทางคุณวินกล่าวว่า เนื่องจากคนจำนวนไม่มีต้องอยู่บ้านกันมากขึ้น work from home กันมาขึ้น มันก็ส่งผลให้คนมีเวลาในการใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok เยอะขึ้น และมีคอนเทนต์ใหม่ๆ มากขึ้นตามไปด้วย โดยในช่วงที่เกิดโควิดทาง TikTok ได้ร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก WHO รวมถึงสภากาชาดในการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็วให้กับผู้บริโภค เช่น แคมเปญ safe hand ของต่างประเทศ แคมเปญเมษา At Home และแคมเปญล้างมือ 40 วิ

สำหรับความแตกต่างระหว่างคอนเทนต์ของ TikTok กับแพลตฟอร์มอื่นๆ มีความแตกต่างกันอย่างไร ทางคุณหมีกล่าวว่า เข้าใจก่อนว่าแพลตฟอร์มของเราเหมือนเป็น Content Discovery Platform สมมติหมีเป็น Creator คนหนึ่งทำคลิปทำอาหารปล่อยใน TikTok แล้วมีคนมาเห็น มาไลค์มาแชร์ สิ่งเหล่านี้ทำให้ตัว machine learningเราจดจำ ว่าคนกลุ่มนี้เขาน่าจะชอบเรานะ แล้วพอคนกลุ่มนี้เปิดแอปฯ มาอีกทีเขาก็จะถูก recommend ให้มาดูคลิปของเรา วึ่งจะทำให้ตัว Creator ได้ฐานแฟนที่มากขึ้น ไม่ว่าเขาจะติดตามเราหรือไม่ก็ตาม

และสำหรับตัว User ที่ใช้งาน TikTok พอใช้ไปสักระยะหนึ่งมันจะเกิดเป็น culture หนึ่ง ก็คือ culture ของการเล่น challenge วึ่งจะมีการแชร์ให้คนใกล้ตัวดูว่าฉันเต้นท่านี้ได้นะ ฉันเต้นเพลงนี้ได้ หรือ culture ของการเล่าเรื่องทุกอย่างให้รูเรื่องและจบภายในเวลา 15 วินาที หรือ 1 นาที ซึ่งการทำเรื่องยากๆ มาทำให้เป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย สร้าง Awareness ภายในคลิปสั้นๆ สิ่งเหล่านี้เป็น culture ที่เกิดขึ้นใน TikTok

สำหรับความยาวของวิดีโอที่สามารถอัปโหลดใน TikTok ได้จะต้องมีความความยาว 3 วินาที จนถึง 1 นาที แต่คอนเทนต์ที่คนนิยมดูส่วนใหญ่จะมีความยาวอยู่ที่ 10 – 15 วินาที บางคนอาจรู้สึกว่า 1 นาที มันดูเร็วไปมั้ย หมีอยากให้คุณลองถ่ายคลิปวิดีโอแนะนำตัวเองแล้วคุณจะเห็นว่า 1 นาทีมันไม่ได้สั้นมันยาวพอที่จะพูด Main massage ได้เลย มี Creator หลายคนที่ใช้ TikTok สร้างฐานแฟนคลับด้วยการนำเสนอความรู้เรื่องภาษา เช่นสอนภาษาญี่ปุ่นว่า คำว่า “โอฮาโย” พูดยังไงใช้เหตุการณ์ไหนบ้าง ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาอธิบายเป็น 1 ชั่วโมง ซึ่งมันไม่มีใครดูอยู่แล้ว

ในส่วนของการเป็น Influencer นั้น ทางคุณหมีเผยว่า อย่างแรกเราควรเข้าใจก่อนว่าทำไมถึงอยากเป็น ถ้าเรามองว่าอยากทำตรงนี้เป็นอาชีพเลย เราก็มองมันเป็นธุรกิจ เราต้องมีความจริงจังกับมัน หมีจะแนะนำว่า ถ้าเป็นไปได้ ควรทำคลิปลงทุกวัน หรือถ้ามันมีกรณีที่คอนเทนต์ของเรามันอาจจะยากเกินอย่างน้อยก็ควรมีสัปดาห์และคลิป ต่อมาก็คือการสังเกตว่าเราชอบอะไร คอนเทนต์อะไรบ้างที่เราจะสามารถอยู่กับมันได้ทุกวัน

และที่สำคัญคือควรคิดว่าเราอยากจะทำงานร่วมกับแบรนด์แบบไหน สินค้า หรือตลาดแบบไหน สมมติว่าหมีอยากทำงานร่วมกับแบรนด์นี้ แล้วกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์นี้คือใคร และคนกลุ่มนี้เขาดูเราหรือเปล่า ถ้าไม่เราก็ต้องปรับคอนเทนต์ให้สอดคล้องกับทั้งสองกลุ่มนี้ได้ ถ้าเราหาจุดเชื่อมได้เราก็โอกาสได้ร่วมงานกับแบรนด์ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ได้ส่วนของรายได้ ทาง Influencer จะได้รับเงินจากทางสปอนเซอร์เป็นหลัก เช่นการจ้างรีวิวสินค้า

สำหรับเรื่องของการซื้อพื้นที่โฆษณาแอปพลิเคชัน TikTok ทางคุณวินเผยว่า ทาง TikTok จะแบ่งโฆษณาออกเป็น 2 แบบ คือ 1.แบบ Reach หรือการเข้าถึง และ2. Engagement หรือการมีส่วนร่วม ซึ่งในส่วนของ Reach เองด้วยความที่เรามีจำนวนผู้ใช้งานที่เยอะ การเข้าถึงผู้คนย่อมทำได้ง่าย ซึ่งในส่วนนี้ก็จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ Brand Takeover, Topview ที่จะเข้าถึงผู้ใช้งานแบบ 100% ทั้งหมด และ In-Feed Ads ที่สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภคิได้ ส่วนในแบบ Engagement หรือการมีส่วนร่วม ก็จะแบ่งออกได้อีก 2 ประเทคือ Hashtag Challenge และ Branded Effect ซึ่งรายละเอียดตรงนี้สามารถเข้าไปศึกษาอย่างละเอียดได้ใน ads.TikTok.com ซึ่งเราจะมีทีมงานคอยซัพพอร์ตในเรื่องนี้

และในปัจจุบันแบรนด์ต่างๆ เริ่มเข้ามาสร้างแอคเคาท์ TikTok และสร้างคอนเทนต์ไม่ tie-in มากนัก ทั้งนี้ทาง TikTok ยังไม่มีนโยบายในการซื้อ Boost Post เพื่อโปรโมทคอนเทนต์ของแบรนด์แต่อย่างใด แต่ถ้าคอนเทนต์ดังกล่าวของแบรนด์นั้นๆ ดีจริง ก็อาจะได้ยอดวิวในหลักล้านโดยที่คุณไม่ต้องซื้อ Boost Post เลย แต่ถ้าคุณอยากการันตียอดวิวคุณสามารถเอาคอนเทนต์ที่คุณโพสต์ไปซื้อเป็น In-Feed Ads ได้

สำหรับแผนพัฒนาของ TikTok ภายหลังจากวิกฤตโควิด-19 ทางคุณหมีเผยว่า ด้วยพฤติกรรมของผู้ใช้งานที่ใช้เวลาในโลกออนไลน์มากขึ้น เราจึงพยายามให้ผู้ใช้งานเข้ามาใช้เวลาใน TikTok ให้มากขึ้น เพื่อสร้างความสุข ความสนุกสนาน และเรียนรู้ไปพร้อมกัน ล่าสุดก็เริ่มมีสำนักข่าวต่างๆ เริ่มเข้ามาผลิตคอนเทนต์แล้ว ซึ่งทางเราก็ยินดีอย่างมาก เพราะเราอยากจะให้ TikTok มีคอนเทนต์ที่หลากหลาย ทั้ง บันเทิง ข่าว และการศึกษา เราอยากให้ผู้ใช้งานได้รับอะไรที่มากกว่าความสุข ความสนุกระหว่างดูคอนเทนต์ เราคาดหวังให้เมื่อผู้ใช้งานวางมือถือลง คุณสามารถเอาสิ่งที่คุณได้รับจาก TikTok มาปฏิบัติจริงๆ ได้ เช่นดูคลิปออกกำลังกาย และดูจบเราก็ไปออกกำลังกายเลยก็ได้

ด้านคุณวินทิ้งท้ายว่า ในส่วนของนักการตลาดที่ต้องการหาวิธีทางการตลาดใหม่ๆ ที่สามารถเข้าถึงและสร้างการมีส่วนร่วมจาก User แอปพลิเคชัน TikTok ก็ถือเป็นอีกแพลตฟอร์มหนึ่งที่จะนำเสนอแบรนด์ของคุณและช่วยสร้างการมีส่วนร่วมจาก User ได้ด้วย เพราะสิ่งนี้คือจุดเด่นของเรา จากผลวิจัยเผยว่า ประมาณ 74% ของแบรนด์ที่เข้ามาทำโฆษณาใน TikTok แบรนด์เหล่านั้นมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น และสร้างความดึงดูดรวมถึงใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น

 

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า