SHARE

คัดลอกแล้ว

1% ที่กำลังจะโดนเก็บเพิ่มกลายเป็นกระแสฮือฮาไปทั่วประเทศในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากธนาคารไทยและสถาบันทางการเงินหลายแห่ง ประกาศเก็บ ‘ค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินต่างประเทศเป็นสกุลเงินบาท’ หรือที่เรียกว่า DCC Fee

โดยจะเรียกเก็บ 1% จากยอดในสกุลเงินบาท เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต VISA และ Mastercard ในสถานที่ที่เดิมไม่ได้เรียกเก็บเป็นสกุลเงินบาท เริ่มต้นงวดแรก 1 พฤษภาคมนี้

ตัวอย่างกรณีที่จะโดนเก็บ DCC Fee 1%
– จ่ายค่าสินค้าหรือบริการด้วย ‘เงินบาท’ ที่ร้านค้าในต่างประเทศ
– กดเงินสดเป็น ‘เงินบาท’ ผ่านตู้ ATM ในต่างประเทศ
– จ่ายค่าสินค้าหรือบริการ ‘ร้านค้าออนไลน์’ ที่จดทะเบียนในต่างประเทศ

และข้อสุดท้ายอย่าง ‘ร้านค้าออนไลน์’ ที่จดทะเบียนในต่างประเทศนี้เองที่ทำให้ใครหลายคนล้วนเซ็งไปตามๆ กัน เพราะบริการออนไลน์หลายอย่างที่ถูกยกตัวอย่าง ล้วนเป็นบริการในชีวิตประจำวันอย่างเช่น

แพลตฟอร์มความบันเทิงอย่าง Netflix, Spotify, VIU
แพลตฟอร์มจองท่องเที่ยวอย่าง Agoda, Booking, Expedia, Klook, AirBNB, Trip.com
แพลตฟอร์มอื่นๆ อย่าง Facebook, Google, TikTok, Paypal, Alipay
แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในต่างประเทศอย่าง Ebay, Amazon, Alibaba, Taobao

โดยจะเห็นว่า ‘แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจากต่างประเทศ’ เองก็เป็นหนึ่งใน ‘ร้านค้าออนไลน์’ ที่จะโดนเก็บค่า DCC Fee 1% แต่คนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้ซื้อของผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเหล่านี้มากนัก จึงไม่น่าจะส่งผลกระทบเท่าไร แต่ถ้าพูดถึง ‘อีคอมเมิร์ซในประเทศไทย’ ล่ะ

หลังจากประกาศดังกล่าวทีม TODAY Bizview ได้เข้าไปตรวจสอบสเตทเม้นท์บัตรเครดิต เพื่อเช็กว่าจะมีค่าบริการรายการไหนบ้างที่จะต้องเสียค่า DCC Fee และได้พบว่า มีอีคอมเมิร์ซเจ้าหนึ่งที่คนไทยหลายคนใช้งานและอาจจะต้องเสียค่า DCC Fee 1% คือ ‘TikTok Shop’

เนื่องจากรายการตัดบัตรเครดิตผ่าน TikTok Shop ไม่ได้เป็นรายการที่ตัดผ่านบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย แต่เป็นรายการที่เรียกเก็บจาก TikTok Shop ในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ‘ฮ่องกง’ หรือ ‘สิงคโปร์’ แม้ว่าจะเป็นรายการที่เกิดขึ้นจะเป็นรายการของผู้ใช้ชาวไทยซื้อจากร้านค้าไทย

ตัวอย่างรายการจาก TikTok Shop ที่แสดงบนสเตทเม้นท์บัตรเครดิต
– TikTok Shop SINGAPORE SGP รายการเรียกเก็บจากสิงคโปร์
– TIKTOK SHOP CAUSEWAY BAY HON รายการเรียกเก็บจากฮ่องกง

โดยรายการทั้ง 2 รายการที่แสดงบนสเตทเมนท์ เป็นรายการจากผู้ใช้ในไทยที่ซื้อจากร้านค้าไทยที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย แต่เมื่อจ่ายผ่านบัตรเครดิตจะกลายเป็นรายการเรียกเก็บจากสิงคโปร์

นั่นจึงทำให้คาดการณ์ได้ว่า หากจนถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 แล้ว ทาง TikTok ยังไม่เปลี่ยนปลายทางการเรียกเก็บเงินเป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย แปลว่า ผู้ที่ซื้อสินค้าผ่าน TikTok Shop และเลือกจ่ายผ่านบัตรเครดิตจะต้องเสียค่า DCC Fee 1% จากยอดซื้อทุกยอด

หากไม่อยากจ่ายค่า DCC Fee ก็จะต้องเลือกจ่ายเงินผ่านวิธีการอื่นที่ทาง TikTok มีให้ อาทิ แอปธนาคาร, LINE Pay, TrueMoney หรือเรียกเก็บเงินปลายทางแทน

โดยจากการตรวจสอบยอดเรียกเก็บเงินของอีคอมเมิร์ซอื่นๆ อย่าง Shopee และ Lazada พบว่า เป็นการเรียกเก็บเงินจากบริษัทจดทะเบียนในไทย ผู้ใช้จึงไม่ต้องเสียค่า DCC Fee และทำให้ตอนนี้มี TikTok Shop เพียงเจ้าเดียวที่คนไทยซื้อของจากร้านไทย แต่อาจจะต้องเสียค่า DCC Fee 1%

อ้างอิง บัตรกรุงศรี

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า