Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 26 ก.ค. เวลา 18.05 น. ที่รัฐสภาชั่วคราว นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ อภิปรายนโยบายด้านการเกษตรของรัฐบาล โดยยกตัวอย่างเกษตรกรที่ จ.สกลนคร ซึ่งเป็นเกษตรกรกลุ่มที่มีโฉนด อยู่ในพื้นที่ชลประทาน ทำเกษตรอินทรีย์ รวมกลุ่มเป็นบริษัทส่งออกไปต่างประเทศ มีธนาคารชีวภาพผลิตน้ำชีวภาพเอง ด้วยความมีมาตรฐาน ทำให้สามารถส่งออกข้าวตันละเกือบ 3 หมื่นบาท  มีเงินออมสำหรับการลงทุนเครื่องจักร และแชร์กันในรูปเศรษฐกิจแบ่งปัน ทุกคนเป็นผู้สูงอายุแต่สุขภาพแข็งแรง ลูกหลานกลับมาที่บ้านเกิดมาทำการเกษตรต่อ คำถามคือ มีชาวนาเท่าไรที่ทำได้แบบนี้ พบว่าไม่ถึง 1% ที่สามารถลืมตาอ้าปากอยู่ดีมีสุขได้

นายพิธา กล่าวต่อว่า ปัญหานโยบายรัฐบาลฉบับนี้ คือ เป็นนโยบายเก่าย้อนยุค 10 ปีก่อน คือ การแปรรูป, 20 ปีก่อนคือ การประกันราคาสินค้า และ 30 ปีก่อน คือ การปฏิรูปที่ดินและชลประทาน
ปัญหาด้านการเกษตรไม่สามารถแก้เป็นส่วนๆ ได้ ต้องทำให้ถูกวิธีตั้งแต่ต้นและต่อเนื่องไปเหมือนการติดกระดุม

กระดุมเม็ดแรกถือเป็นปัญหาคอขวด คือ เรื่องที่ดิน ที่ถ้าไม่แก้ส่วนนี้ก็แก้อย่างยั่งยืนไม่ได้ 90% ของที่ดินครอบครองโดยคนเพียง 10% , ประชาชนไม่มีโฉนด 75% , ชาวนา 45% ต้องเช่าที่ดิน มีเขตเศรษฐกิจพิเศษให้นักลงทุน ทำไมไม่มีเขตเศรษฐกิจสำหรับประชาชนที่ต้องการมีที่ดินเป็นของตนเอง ตนไม่ได้ต่อต้านการพัฒนา แต่การพัฒนาต้องไม่ต้องใครไว้ข้างหลัง

การไม่มีเอกสารสิทธิ์ที่ดินมาแสดง เมื่อส่งผลผลิตไปต่างประเทศก็ถูกกดราคา เพราะเขาถามหา GAP (Good Agricultural Practice – ระบบการผลิตที่ถูกต้องในฟาร์ม จะขอไม่ได้ถ้าไม่มีเอกสารสิทธิ์) แต่ไม่มี ขอเสนอให้ยุติข้อพิพาทเรื่องที่ดินระหว่างรัฐกับประชาชน มีบทเฉพาะกาลให้อาศัยอยู่ได้ รับรองสิทธิชุมชน

กระดุมเม็ดที่สอง หนี้สินเกษตรกร เกษตรกรมีรายได้ต่อหัว 57,000 บาทต่อปี เดือนนึงไม่ถึง 4,000 กว่าบาท กว่า 40% มีหนี้สินมากกว่า 2 เท่าครึ่ง เมื่อเข้าถึงระบบการเงินไม่ได้จึงต้องกู้หนี้นอกระบบ การพักหนี้แก้ปัญหาไม่ได้ ขอเสนอระบบการสร้างเครดิตทางเลือก ที่อินเดียใช้ระบบบิ๊กดาต้า ดูค่าใช้จ่าย เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ทำให้สามารถรู้เครดิตที่มี เป็นวิธีการแก้นอกระบบที่โลกดิจิตอลช่วยได้

กระดุมเม็ดที่สาม การใช้สารเคมี เมื่ออยู่ในวงจรหนี้จดจ่อจ่ายหนี้ จึงไม่กล้าเสี่ยงวิธีใหม่ ๆ ปลูกพืชใหม่ ไม่กล้าปลูกพืชหลากหลาย ทำวิธีเดิมๆ ได้ผลลัพธ์เดิมๆ ที่จ่ายหนี้ได้ ไทยนำเข้าสารเคมีมากเป็นอันดับ 4 ของโลก ทั้งที่มีพื้นที่เพาะปลูกอันดับ 48 ของโลก จาก “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” กลายเป็น “ในน้ำมียา ในนามีหนี้” ข้อเสนอ จีนมีนโยบาย กรีนไชน่า ลดสารเคมีการเกษตร 10% ตั้งสถาบันชีวภาพ สนับสนุนการใช้สมุนไพร ประกัน เจ้าของที่ขึ้นราคาค่าเช่า

กระดุมเม็ดที่สี่ เรื่องของการแปรรูป เรื่องของการนวัตกรรม เมื่อเอาปัญหาของกระดุมทั้ง 3 เม็ดนั้นมารวมกัน ก็คงทราบแล้วว่า ต้นทุนสูงรายได้ต่ำไม่มีเงินออม ไม่สามารถที่จะแปรรูปได้ด้วยตัวเอง ไม่สามารถที่จะมีนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ด้วยตัวเองในจุดนี้รัฐบาลมีแนวคิดที่จะแก้ปัญหาอย่างไร เพราะว่างบประมาณเฉลี่ย ในการชดเชย ในการอุดหนุนเฉลี่ยปีละ 1 แสนล้าน งบในการทำวิจัยอยู่ที่ 1,200 ล้าน ไม่ถึง 1% ของงบประมาณทั้งหมด ขอยกตัวอย่าง การใช้กัญชาในฐานะผู้ป่วย เพราะตนเป็นโรคลมชัก โดยระบุว่า พืชกัญชามีคุณค่ามากกว่ามูลค่า ไทยสามารถที่จะเป็น Hub ของกัญชาในทางการแพทย์ได้ แต่ห่วงในเรื่องของการการป้องกันการผูกขาดในเรื่องของกัญชา ห่วงว่า คนไทยจะต้องนำเข้ากัญชาจากต่างประเทศ จะมีทุนใหญ่สกัด CBD จากกัญชาได้ คำถามคือ จะผลักดันกัญชาทางการแพทย์ให้เป็นเบอร์ 1 ของเอเชีย โดยไม่ลักลอบ การปลูกกับการแปรรูปต้องอยู่ใกล้กัน เพื่อป้องกันการลักลอบ

กระดุมเม็ดที่ห้า การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จะทำได้ต้องปลดล็อกเรื่องที่ดินตามกระดุมเม็ดแรกให้ได้ก่อน

การดำเนินการต้องทำเป็นลำดับไม่สามารถทำเฉพาะส่วนได้ เพราะถ้าพักหนี้เพียงอย่างเดียวไม่ทำตามลำดับ อีก 3 ปีเขาก็กลับมา แปรรูปให้ก็ไม่มีเงินออมทำไม่ได้ จะสนับสนุนการท่องเที่ยวแต่ไม่ปลดล็อกเรื่องที่ดินก็ทำไม่ได้

ส่วนปัญหาเรื่องน้ำ เสนอแก้ 2 มิติ คือ อำนาจในการตัดสินใจ เช่น ท้องถิ่นมีอำนาจตัดสินใจ และมิติเรื่องชนชั้น เช่น น้ำสนามกอล์ฟ กับน้ำเพื่อการเกษตร ควรมีการใช้เรื่องภาษีในการลดความเหลื่อมล้ำ

เรื่องปัญหาประมง มีความจำเป็นต้องนำไปสู่สากลให้ได้ แต่ต้องคำนึงถึงความมั่นคงและวิถีชีวิตของชาวประมงเช่นกัน บทลงโทษที่รุนแรงเกินไปจนเขาปรับตัวไม่ได้ ข้อเสนอ คือ การมีส่วนร่วมในการสร้างนโยบาย มีกองทุนที่ช่วยในการปรับตัวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะทำให้เขาเปลี่ยนผ่านได้

สำหรับวิสัยทัศน์การพาคนไทยไปสู่ ศตวรรษที่ 21 เกษตรกรจะอยู่ตรงไหนในเวทีโลก ต้องพัฒนาทั้งคนและเครื่อง ต้องพร้อมทั้ง 2 ด้าน ปัจจุบันเกษตรกรจำนวนลดลง บางส่วนอายุเยอะขึ้น จึงต้องมีนโยบายเพื่อดึงคนรุ่นใหม่กลับสู่ภาคการเกษตร ส่วนเรื่องเครื่องจักรการเกษตร ประเทศไทยทุก 192 ไร่จะมีเครื่อง 1 เครื่อง ส่วนที่ญี่ปุ่น ทุกๆ 20 ไร่ จะมี 1 เครื่อง จึงต้องมีนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรการเกษตรในไทยหรือไม่

ตนยังมีความหวังอย่างเต็มเปี่ยมในอุตสาหกรรมการเกษตรไทย ถ้ารามีความจริงใจในการแก้ปัญหา ลงรายละเอียดและปฏิบัติจริงเชื่อว่าเกษตรกรไทยจะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในสังคมไทย เช่นเดียวกับเกษตรกรที่สกลนคร ที่ตนยกตัวอย่าง

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า