SHARE

คัดลอกแล้ว

ความพยายามที่จะสร้างเกษตรอัจฉริยะให้เกิดขึ้นได้ในประเทศไทยมีอย่างต่อเนื่อง แม้การปรับตัวในเรื่องนี้จะไม่ใช่เรื่องง่ายชั่วข้ามคืน แต่ที่ผ่านมาได้เห็นความพยายามจากภาคเอกชนหลายแห่งที่ช่วยคนละไม้คนละมือนำศักยภาพขององค์กรเข้ามาร่วมพัฒนาและสร้างโมเดลเกษตรดิจิทัลในหลายพื้นที่ หนึ่งในตัวอย่างที่ทำต่อเนื่องมา 3 ปีแล้ว คือ โครงการ TKC สมาร์ตฟาร์มมิ่ง (Smart Farming) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง บริษัท เทิร์นคีย์ คอมมูนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ TKC ร่วมกับมูลนิธิณัฐภูมิ จ.ลำปาง สร้างพื้นที่โครงการสมาร์ตฟาร์มมิ่ง ที่เป็นโครงการนำร่องในการนำเทคโนโลยี IoT หรืออินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things) รวมทั้งการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีมาช่วยบริหารจัดการแปลงเกษตร อาทิ ระบบควบคุมการจ่ายน้ำ และปุ๋ยอัตโนมัติในโรงเรือนเพาะปลูก การใช้พลังงานแสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ การใช้โดรนหว่านเมล็ดพืชและปุ๋ย เป็นต้น

หลังจากดำเนินโครงการนี้มาตั้งแต่ปี 2563 ปัจจุบันได้ขยายเข้าสู่เฟส 2 ด้วยการยกระดับให้เกษตรกรเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีผ่าน โครงการ “ปั้น Mr & Miss IoT เกษตรกรอัจฉริยะ” ซึ่งเป็นการอบรมให้ความรู้ด้านเทคโนโลยี IoT แก่เกษตรกรเพื่อนำไปใช้ในการเพาะปลูกได้ด้วยตัวเอง ซึ่งทางโครงการฯ เปิดรับสมัครเกษตรกรในหมู่บ้าน และสมาชิกของมูลนิธิณัฐภูมิ รวมทั้งจากกลุ่มเครือข่ายต่าง ๆ เช่น กลุ่มฮักน้ำจาง อำเภอแม่ทะ จ.ลำปาง เข้ารับการอบรมเรียนรู้เทคโนโลยี IoT และการใช้อุปกรณ์แบบง่าย ๆ รวมทั้งมีเวิร์กช้อปภาคปฏิบัติให้ลงมือทำด้วยตัวเองจนสามารถใช้งานได้จริง โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมอบรม 30 คน

เกษตรกรที่ผ่านการอบรมจะได้รับเกียรติบัตรจากโครงการฯ ส่วนความรู้ที่ได้สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่เพาะปลูกของตนเอง อาทิ ช่วยแก้ไขปัญหาลดสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย ทำให้พืชผักผลไม้ปลอดสารพิษ ทั้งยังช่วยลดต้นทุน ลดการใช้แรงงานคน และเพิ่มผลผลิตด้วย

โดยพิธีมอบใบเกียรติบัตรจากโครงการฯ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา ที่มูลนิธิณัฐภูมิ จ.ลำปาง โดยมีนายสยาม เตียวตรานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทิร์นคีย์ คอมมูนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด ( มหาชน ) หรือ TKC มาเป็นประธานมอบเกียรติบัตรให้เกษตรกรที่เข้ารับการอบรม

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการขยายความรู้ในวงกว้าง ยังได้คัดเลือกเกษตรกรที่มีความโดดเด่นในการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยี จำนวน 3 คน ปั้นให้เป็น “Mr & Miss IoT เกษตรกรอัจฉริยะ” เพื่อเป็นต้นแบบถ่ายทอดการใช้เทคโนโลยี IoT ให้แก่เกษตรกรคนอื่น ๆ ต่อไป สำหรับ Mr & Miss IoT เกษตรกรอัจฉริยะ ทั้ง 3 คนนี้จะได้รับอุปกรณ์ IoT นำไปใช้ในการเพาะปลูกพืชผักที่บ้านของตัวเอง เพื่อให้เห็นผลอย่างแท้จริง รวมทั้งจะมีทีมวิศวกร นักวิชาการของบริษัทเฝ้าติดตามและลงไปประเมินผลการใช้เทคโนโลยีถึงบ้านอย่างต่อเนื่อง

ซีอีโอ TKC ให้สัมภาษณ์ว่า ด้วยความตั้งใจของเราในฐานะบริษัทเอกชนที่ทำธุรกิจด้านเทคโนโลยี จึงอยากนำเทคโนโลยีมาร่วมพัฒนาและช่วยให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และช่วยพัฒนารวมทั้งแก้ไขกระบวนการทำงานของเกษตรกร โดยมีเป้าหมายสำคัญที่สุดคือการช่วยให้เกษตรกรต้องมีต้นทุนในการทำเกษตรที่ลดลงและต้องมีรายได้มากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยี IoT จะเข้ามาช่วยในส่วนนี้ได้

โดยโครงการระยะที่ 1 ที่เริ่มตั้งแต่ 3 ปีก่อน ได้สร้างระบบน้ำหยดสำหรับปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด รวมทั้งเริ่มทดสอบการนำโดรนมาใช้ในการเกษตรปลูกข้าวนาแปลงใหญ่ด้วย ส่วนระยะที่ 2 ทาง TKC ได้พัฒนาต่อยอดให้เกษตรกรสามารถใช้เทคโนโลยีได้ด้วยตัวเอง โดยเมื่อเกษตรกรเหล่านี้มีความรู้ทางเทคโนโลยีก็จะสามารถถ่ายทอดให้กับเกษตรกรคนอื่น ๆ ต่อไปได้

“โครงการนี้จะเป็นตัวอย่างในการนำร่อง ทำให้เห็นว่าเกษตรกรก็เรียนรู้เทคโนโลยีได้ ใช้เทคโนโลยีเป็น ต่อไปในอนาคต ถ้าเราประสบความสำเร็จในโครงการนำร่อง จะจัดอบรมคนให้มากขึ้นใหญ่ขึ้นเป็นหลักร้อยคน แล้วผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเฟสต่อไปจะขยายเข้าไปในหมู่บ้าน ให้มีปริมาณคนที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น มีผลดีต่อหมู่บ้านมากขึ้น สุดท้ายก็เป็นสมาร์ตวิลเลจ (Smart Village) นอกจากมีสุขภาพที่ดีแล้ว ชาวบ้านยังมีรายได้เพิ่มจากการขายผลผลิต รวยขึ้น จับต้องได้จริง”ซีอีโอ TKC กล่าว

นายสยาม กล่าวอีกว่า มูลนิธิณัฐภูมิพัฒนาพื้นที่ค่อนข้างมาก รวมถึงขยายแหล่งน้ำ และพื้นที่สาธิตการเกษตร ดังนั้น เราจึงเริ่มแนวคิดในการปลูกพืชที่มีมูลค่าสูงขึ้น มีการใช้วิธีควบคุมการเพาะปลูกในโรงเรือน TKC ได้ไปช่วยออกแบบระบบ ควบคุมอัตโนมัติเป็นโรงเรือนเพาะปลูกอัจฉริยะ (smart greenhouse) โดยมีการนำเอาเทคโนโลยี IoT ที่จะสามารถตรวจสอบปัจจัยต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมในการปลูกพืช เช่น ความชื้นในดิน ในอากาศ อุณหภูมิ แล้วนำค่าที่ได้เหล่านี้กลับมาป้อนในระบบอัตโนมัติที่สร้างขึ้น โดยระบบนี้จะควบคุมการจ่ายปุ๋ย และน้ำให้กับแต่ละโรงเรือน ทั้งหมดนี้ได้ติดตั้งให้กับมูลนิธิฯ จำนวน 24 โรงเรือน แต่ละโรงเรือนสามารถที่จะควบคุมการให้น้ำในแต่ละโรงเรือน และชนิดของพืชที่ต่างกันได้ รวมทั้งสามารถกำหนดเงื่อนไขในการให้น้ำได้อย่างพอเหมาะตามสภาพอากาศ อุณหภูมิ และความชื้นที่เกิดขึ้น ทำให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดีใกล้เคียงกัน

นอกจากนี้ เราพยายามช่วยมูลนิธิลดค่าใช้จ่าย รวมถึงส่งเสริมให้เป็นพื้นที่ต้นแบบในการใช้พลังงานทดแทน ด้วยการสนับสนุน และติดตั้งระบบโซล่าร์เซล จำนวน 20kW ภายในมูลนิธิ รวมทั้งใช้กับโรงเรือนอัจฉริยะ และพื้นที่แปลงอื่นของมูลนิธิที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง รวมทั้งได้นำเอาระบบโซล่าร์เซลขนาด 3.9 กิโลวัตต์ ไปติดให้กับโรงสูบน้ำ 2 จุด เพื่อให้มีน้ำเพียงพอในการทำการเกษตรในพื้นที่แปลงที่สี่ของมูลนิธิฯ ด้วย

นายสยาม กล่าวเพิ่มเติมว่า ในเฟสถัดไป TKC หวังที่จะได้เข้าถึงกลุ่มชาวบ้านในชุมชนมากขึ้น เพื่อให้ทราบปัญหาเพิ่มเติมที่เกิดขึ้นในชุมชน เรากำลังจะมีฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ชุดใหม่ที่มีการนำเอาเทคโนโลยีปัญญาอัจฉริยะหรือ AI (Artificial Intelligence) มาใช้ด้วยสำหรับเกษตรกร ในการเลือกตัดสินใจในการดำเนินการปลูกพืชที่เหมาะสม และยังมีความคิดที่จะทำอุปกรณ์ หรือแพลตฟอร์มรองรับการใช้ในระบบการเกษตรอื่น ๆ นอกเหนือจากระบบโรงเรือน เช่น นำระบบที่ TKC สร้างไปใช้ในงานด้านประมงหรือการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบ หากสำเร็จจะทำให้เกษตรกรมีข้อมูลที่ครบถ้วนช่วยให้การตัดสินใจเพาะปลูกดีขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น

ด้านนายภูมิพันธ์ บุญญาปะมัย ประธานกรรมการบริษัท ทีเคไอ เพอร์เพชชวล จำกัด ในฐานะประธานผู้ก่อตั้งมูลนิธิณัฐภูมิ กล่าวว่า นอกจากนำความรู้และเทคโนโลยีมาส่งเสริมเพิ่มทักษะให้ชาวบ้านในด้านการเกษตรแล้ว มูลนิธิฯยังเน้นไปที่การทำเกษตรอินทรีย์ โดยมีเป้าหมายที่ต้องการสร้างสุขภาพที่ดี ผลิตพืชผักปลอดสารพิษ และอยากให้บริษัทปุ๋ยเพิ่มสัดส่วนผลิตปุ๋ยอินทรีย์เข้าไปผสมกับปุ๋ยที่ใช้ในปัจจุบัน เพิ่มปีละ 5 – 15% หรือ 10 -30% ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกับสุขภาพของเกษตรกร และผู้บริโภคชาวไทยและทั่วโลก

นอกจากเรื่องเทคโนโลยีทางการเกษตร และส่งเสริมเกษตรอินทรีย์แล้ว ทางมูลนิธิฯ ยังได้ช่วยเหลือผู้พิการและผู้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยการจ้างงานผู้สูงอายุที่ไม่มีลูกหลาน ผู้พิการที่มีความสามารถ เด็กนักเรียนที่ไม่มีทุนการศึกษา ให้คนเหล่านี้มาทำงานมีรายได้เลี้ยงดูตัวเอง รวมทั้งได้มีส่วนร่วมในการปลูกป่าเพิ่มพื้นที่สีเขียว 30 – 40% ของพื้นที่มูลนิธิฯ ทั้งหมด ซึ่งต่อไปในอนาคตจะพัฒนาพื้นที่ของมูลนิธิฯ ให้สามารถทำเป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ส่งเสริมการท่องเที่ยวในท้องถิ่นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชน

“ไม่มีการให้ใดดีกว่าการให้ความรู้ อาชีพ ให้โอกาส ให้ความรู้ด้านสุขภาพ ให้ความยุติธรรม และสำคัญที่สุด คือให้ธรรมะ ให้มโนธรรมจริยธรรมอย่างยั่งยืน”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า