SHARE

คัดลอกแล้ว

กลุ่มผู้นำองค์กรไทย-นานาชาติ ร่วมแนะทางออกภาคธุรกิจไทยยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันในสถานการณ์ COVID-19 ในงานสัมมนาออนไลน์ “Thailand Competitiveness Conference 2020” จัดโดย TMA ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องรับความเปลี่ยนแปลง พร้อมปรับตัวรอบด้านเพื่อก้าวออกจากวิกฤติเพื่อสร้างความยั่งยืนในอนาคต

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “Thailand Competitiveness Conference 2020” บนระบบออนไลน์ ภายใต้แนวคิด 3 ด้านคือ Reality Check, Understanding the Future และ Shifting the Strategy โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแนวทางในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในช่วงวิกฤติ COVID-19 พร้อมมุ่งหวังให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ธุรกิจ รวมถึงประชาชน ร่วมกันแสวงหาแนวทางในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เติบโตก้าวหน้าได้อย่างยั่งยืนภายใต้วิถีชีวิตปรกติใหม่ (New Normal) โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้จากแวดวงธุรกิจขนาดกลาง-ใหญ่ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป ประมาณ 500 คน

ศ.สเตฟาน แกเรลลี (Prof.Stephane Geralli) ผู้ก่อตั้งสถาบัน IMD World Competitiveness Center กล่าวว่า สถานการณ์ COVID-19 ส่งผลกระทบหนักที่สุดต่อภาคการท่องเที่ยวซึ่งนับเป็น 10% ของ GDP ทั้งโลก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากมายทั้งต่อการดำเนินธุรกิจและการดำเนินชีวิตของผู้คน โดยในภาคธุรกิจมี ความน่าเป็นห่วงคือการเกิดหลุมดำทางเศรษฐกิจซึ่งอาจทำให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กไม่อาจอยู่รอดได้ เพราะถูกบริษัทที่ใหญ่กว่ากว้านซื้อ และทำให้เกิดภาวการณ์การลงทุนมากเกินความจำเป็น (Overcapitalization) โดยบริษัทยักษ์ใหญ่จะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น จากภาวะดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดเทรนด์โมเดลธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน เช่น Grab, Uber, Tesla ซึ่งล้วนเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงแต่กลับไม่ทำกำไร จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจว่าอาจจะนำไปสู่การพัฒนาโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ นอกจากนี้ ยังมีกระแสการนำแหล่งผลิตกลับสู่ประเทศต้นกำเนิด แทนการ Outsource ไปยังประเทศที่ค่าแรงถูก เพื่อสร้างอาชีพให้คนในประเทศ และยังเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน โดยในภูมิทัศน์ใหม่ของโลกหลังเกิดวิกฤติ COVID สิ่งที่ผู้คนจะต้องการมากที่สุดจากองค์กรต่าง ๆ ได้แก่ ความปลอดภัย ความโปร่งใส จริยธรรม และความยั่งยืน

ศ.อาทูโร่ บริส (Prof.Arturo Bris) ผู้อำนวยการสถาบัน IMD World Competitiveness Center กล่าวว่า จากวิกฤติ COVID-19 จะเห็นได้ว่าเกือบทุกประเทศต่างไม่มีความพร้อมรับมือต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยประเทศที่มีขนาดพื้นที่เล็กจะรับมือกับสถานการณ์ได้ดีกว่า โดยเฉพาะประเทศที่เศรษฐกิจดีที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ สิงคโปร์ เดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ และฮ่องกง  และในส่วนของประเทศไทยที่ถือเป็นประเทศขนาดกลาง สิ่งสำคัญที่จะสามารถช่วยทำให้เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวและอยู่รอดได้คือ การปรับโครงสร้างให้เกิดความยั่งยืนและใช้ความยั่งยืนนี้เป็นหัวใจในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพราะไม่เพียงเป็นแนวโน้มความต้องการของคนยุคใหม่เท่านั้น แต่ยังจะช่วยสร้างความแตกต่าง รวมถึงดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาตซึ่งถือเป็นความท้าทายและโอกาสดีที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างให้เกิดขึ้นภายในประเทศ โดยความยั่งยืนจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากปราศจากความร่วมมือของทางภาครัฐที่จะช่วยกำหนดนโยบายและผลักดันโครงการต่าง ๆ ที่ภาคเอกชนไม่สามารถทำได้เอง

• BCG แนะ 6 ทางออกก้าวผ่านวิกฤติ COVID-19

ด้าน นายอิษฎา หิรัญวิวัฒน์กุล กรรมการผู้จัดการและหุ้นส่วน บริษัท เดอะ บอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด (BCG) บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลก กล่าวว่า ในสถานการณ์ COVID-19 มีคำแนะนำ 6 ประการสำหรับองค์กรธุรกิจที่ควรมองไปข้างหน้าเพื่อก้าวออกจากวิกฤติครั้งนี้ ได้แก่
1.ภาพรวมองค์กรโดยเฉพาะในเรื่องบุคคล ดังจะเห็นได้ว่าในหลาย ๆ ธุรกิจอาจมียอดขายกลับมาไม่เหมือนเดิม แต่ค่าใช้จ่ายเรื่องบุคลากรยังคงถือเป็นต้นทุนคงที่ จึงจำเป็นต้องมีการนำมาพิจารณาอย่างรอบคอบ เช่น บางองค์กรที่ปรกติมีลูกค้า 1 รายพันคน แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ COVID-19 อาจเหลือลูกค้า 100 ราย จึงจำเป็นต้องกำหนดแผนงานด้านบุคลากรเพื่อรองรับกับจำนวนลูกค้าที่ลดน้อยลง
2.ให้ความสำคัญกับการดูแลลูกค้า เพื่อรักษาปริมาณยอดขายและคำสั่งซื้อในอนาคต
3.บริหารการผลิตและซัปพลายเชนตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำให้มีเสถียรภาพเพื่อสามารถดำเนินการผลิตสินค้าเพื่อส่งมอบให้ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.การจัดการค่าใช้จ่าย โดยคำนึงหลักการว่าหากในวันหนึ่งต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่จะมีอะไรที่จำเป็นต้องใช้จ่ายบ้าง หรืออาจต้องใช้จ่ายแตกต่างจากเดิมอย่างไรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เหมือนเดิม
5.การพัฒนาระบบนิเวศน์ทางเศรษฐกิจ หรือ Ecosystem เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดในสถานการณ์ที่ทำลำบากที่สุดเพื่อให้สามารถหลุดพ้นจากวิกฤติได้
6.การให้ความสำคัญในเรื่อง “ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน” ซึ่งจะต้องทำให้ทุก ๆ ฝ่ายทั้งพนักงานและลูกค้ามีความสะดวกมากขึ้น เพื่อลดค่าใช้จ่าย รวมถึงการทำงานที่รวดเร็ว ตลอดจนเป็นการตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้น

• ดุสิตธานี ชี้แนวทางปรับโมเดลธุรกิจ

นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ก่อนหน้าสถานการณ์ COVID-19 ในวงงการธุรกิจต้องพบกับภาวการณ์หยุดชะงัก หรือ Disruption มาแล้วมากมาย ทั้ง Digital Disruption และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเราต้องพิจารณาว่าโมเดลธุรกิจที่เราจะเดินหน้าต่อไปควรจะเป็นอย่างไร โดยขอยกตัวอย่างธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปในหลาย ๆ ด้าน เช่น ผู้ปฏิบัติการ หรือเจ้าของทรัพย์สินจะสร้างความสมดุลอย่างไรระหว่างทรัพย์สินขององค์กร หรือทรัพย์สินที่ต้องเช่า รวมถึงทรัพย์สินที่ต้องบริหารงาน โดยอาจมีทรัพย์สินบางอย่างที่เราอาจต้องลงทุนเพิ่มด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นยังต้องพิจารณาถึงพันธมิตรธุรกิจเพราะในสถานการณ์ COVID-19 การดำเนินธุรกิจเพียงลำพังบนโลกธุรกิจคงไม่เพียงพอในการตอบโจทย์การให้บริการที่ครบวงจรมากขึ้น ดังนั้นเราจึงอาจเห็นภาพธุรกิจโรงแรมร่วมมือกับสายการบิน โรงพยาบาล หรือประกันภัย เป็นต้น
ถัดมาคือเรื่องสุขอนามัยซึ่งจะกลายเป็นปัจจัยพื้นฐานใหม่ที่ผู้คนจะให้ความสำคัญมากขึ้น รวมถึงเรื่องเทคโนโลยีที่จะนำมาให้บริการที่ตรงความต้องการลูกค้าและสามารถนำมาใช้ในการทำงานในทุกสถานที่ ตลอดจนเรื่องของความยั่งยืน โมเดลธุรกิจใหม่ที่จะเกิดขึ้นจึงจำเป็นต้องคำนึงถึง 3 เรื่องคือ 1.การช่วยให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายมากที่สุดและให้ความยืดหยุ่นในการให้บริการ 2.การให้บริการที่ประทับใจ และ 3.การให้ความคุ้มค่าแก่ลูกค้าผู้ใช้บริการ

• ทีเส็บ จัดแคมเปญช่วยผู้ประกอบการไมซ์

นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ รองผู้อำนวยการ สายงานพัฒนาและนวัตกรรม สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ “ทีเส็บ” กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา “ทีเส็บ” เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการพัฒนาหลักเกณฑ์มาตรการและแนวทางการเตรียมความพร้อมเปิดกิจการ หรือการจัดกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวและกีฬาในสถานการณ์ COVID-19 ของรัฐบาล โดยมีเป้าหมายขับเคลื่อนด้านสุขอนามัยของอุตสาหกรรมไมซ์ไทย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 สำหรับผู้ประกอบกิจการและสถานที่สาธารณะกรณีผ่อนผันการดำเนินกิจการ และเป็นหนึ่งในคณะอนุกรรมการฯ ซึ่งเป็นคณะทำงานลงมือปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อร่วมจัดทำข้อเสนอแนวทางการผ่อนปรนเปิดกิจการและกิจกรรมไมซ์โดยทำงานร่วมกับ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) และภาคเอกชน เพื่อนำเสนอแนวทางต่อรัฐบาลจนมีแนวทางชัดเจน และมีความพร้อมเตรียมการเปิดกิจกรรมของอุตสาหกรรมไมซ์

สำหรับมาตรการช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการไมซ์ในสถานการณ์ COVID-19 “ทีเส็บ” ได้จัดแพ็คเกจ “ประชุมเมืองไทย ปลอดภัยกว่า” โดยตั้งเป้าหมายไว้ 500 กรุ๊ป สำหรับองค์กรที่จัดประชุม (Meetings) 30 คน ขึ้นไป โดยจะให้งบประมาณสนับสนุน 3 หมื่นบาท สำหรับการเดินทางข้ามจังหวัด มีการพักในโรงแรม หรือสถานประกอบการ พร้อมจัดฟังก์ชันการจัดประชุมและช่วยเหลือชุมชน โดยยังจัดงบประมาณสนับสนุน 1.5 หมื่นบาทสำหรับโรงแรมที่ขอรับการสนับสนุนการจัดประชุมต่อ 1 วัน ขณะเดียวกันยังมีแพ็คเกจ “ประชุมเมืองไทย ร่วมใจขับเคลื่อนชาติ” สำหรับการประชุมนานาชาติ (Conventions) ในประเทศโดยได้จัดงบประมาณ 5 หมื่น – 1.2 แสนนบาท สำหรับกลุ่มคณะ 100 คนขึ้นไปที่มีการพัก 2 วัน 1 คืน ตลอดจนแพ็คเกจ “งานแสดงสินค้าในประเทศ นำเศรษฐกิจไทยไปไกลกว่า” สำหรับงานแสดงสินค้านานาชาติ (Exhibitions) ในลักษณะ B2B บนพื้นที่ 3 พันตารางเมตรขึ้นไป มีงบประมาณให้ 1 ล้านบาท และ 8 แสนบาทสำหรับการจัดงานบนพื้นที่ต่ำกว่า 3 พันตารางเมตร โดยบริษัท ห้างร้าน และองค์กรต่าง ๆ สามารถติดต่อรายละเอียดเพิ่มได้ที่ https://www.thaimiceconnect.com/

• บทสรุปความเปลี่ยนแปลงขึ้นกับ “ผู้นำองค์กร”

ภายในงานสัมมนาครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจาก นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) นายธนา เธียรอัจฉริยะ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานการตลาด ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) นายบรรณ เกษมทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี ดิสทริบิวชั่น จำกัด นายพีรธน เกษมศรี ณ อยุธยา หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านคอนเทนต์และมีเดีย บริษั ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นายอริยะ พนมยงค์ กรรมการอำนวยการ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) และผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ

ทั้งนี้ วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิต่างมีความเห็นในทิศทางเดียวกันว่า สถานการณ์ COVID-19 ไม่ได้เป็นเพียงวิกฤติเพียงด้านเดียวที่ธุรกิจต่าง ๆ ต้องประสบ เพราะยังมีเรื่องของดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน รวมถึงเทคโนโลยีดิสรัปชัน และอื่น ๆ ที่ล้วนเป็นสิ่งท้าทายต่อการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบันซึ่งหากธุรกิจใดที่ยังภาคภูมิใจกับความสำเร็จเก่า ๆ โดยไม่ตั้งใจเปลี่ยนแปลงใด ๆ เพื่อตอบสนองพฤติกรรมและความต้องการผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง หรือตีโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ให้แตก ธุรกิจนั้นก็ยากที่จะประสบความสำเร็จได้ ประการสำคัญความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นในอนาคตยังจำเป็นต้องตระหนักถึงเรื่องความยั่งยืนเป็นสำคัญด้วยซึ่งถ้าหากธุรกิจใดขาดการเตรียมพร้อมที่ดี โอกาสที่คิดว่าจะเป็นของเราอาจผันแปรเป็นโอกาสของผู้อื่นได้ในทันที

ปัจจัยสำคัญสำหรับธุรกิจในการยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันในอนาคตจึงงขึ้นอยู่กับผู้นำองค์กรที่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตัวเองอย่างมากที่จะไม่ทำตัวเป็นคนรุ่นเก่าในยุคอดีต โดยต้องพัฒนาให้ตัวเองมีความทันสมัยในรูปแบบที่คนรุ่นใหม่ยอมรับ ตลอดจนมีทักษะในการสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ซึ่งต้องยอมรับฟังความคิดเห็นคนรุ่นใหม่มากขึ้น พร้อมทั้งเปลี่ยนบทบาทตัวเองจากผู้นำเป็นโคชชิ่งในทุก ๆ ด้าน สถานการณ์ COVID-19 จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน ทั้งยังส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในภาพรวม ดังนั้นธุรกิจจึงต้องเปลี่ยนแปลงองค์กรและวิธีคิดของคนทำงาน ตลอดจนการกำหนดกลยุทธ์และแผนการตลาด จากเดิมที่เคยกำหนดแผนระยะยาว 5 ปีอาจใช้ไม่ได้ผลกับสถานการณ์ปัจจุบัน แต่ควรเป็นแผนระยะสั้นรายไตรมาส ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีแผนพัฒนาสินค้าและบริการจำเป็นต้องทดสอบตลาดให้เร็วที่สุด แทนที่จะใช้เวลา 3 เดือนในการสำรวจตลาดก่อนที่จะพัฒนาสินค้า หรือบริการ ประการสำคัญขอให้คำนึงว่าทุกวิกฤติมีโอกาส แต่หลังจากวิกฤติจะทำอย่างไรให้มีโอกาสและสร้างโอกาสนั้นให้มีความเข้มแข็งโดยใช้ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันเป็นอาวุธ พร้อมกับใช้โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือการตลาด

สำหรับสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (Thailand Management Association – TMA) เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการสร้างเสริมความเป็นเลิศของผู้บริหาร เพื่อมุ่งสู่การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย โดยมีความร่วมมือกับพันธมิตรที่มีชื่อเสียงทั้งในระดับประเทศและในระดับโลก อาทิเช่น International Institute for Management Development-Switzerland (IMD) ในการทำการสำรวจขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย หรือความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในอเมริกาและทีมผู้เชี่ยวชาญจากซิลิคอนวัลเลย์รวมทั้งจากยุโรปในการฝึกอบรมพัฒนาผู้บริหาร รวมถึงความร่วมมือกับวิทยากรชั้นนำในประเทศไทยในการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารในรูปแบบต่างๆ นอกจากนี้ TMA ยังให้บริการที่ปรึกษา บริการทำงานวิจัย และจัดการประชุมระดับนานาชาติ และทำกิจกรรมเพื่อสร้างเครือข่ายสำหรับทั้งภาครัฐและเอกชน โดยนับตั้งแต่องค์กรก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2507 มีผู้ใช้บริการเพื่อการพัฒนากับ TMA มาแล้วมากกว่า 350,000 คน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า