Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ผลการเลือกตั้ง ส.ส. 2566 ‘ประชาธิปัตย์’ ถือเป็นหนึ่งพรรคการเมืองที่ทำผลงานได้ผิดหูผิดตาไปมาก แน่นอนว่ากระแสของพรรคไม่ได้ดีมากนัก แต่หลายคนก็แทบไม่เชื่อว่า ‘ประชาธิปัตย์’ จะตกต่ำในถึงขนาดนี้ที่ได้ ส.ส. มาเพียง 25 ที่นั่ง โดยเป็น ส.ส. เขต 22 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 3 คน ส่วนพื้นที่ ‘กรุงเทพฯ’ ที่เคยเป็นดั่งพื้นที่แห่งความนิยม กลายเป็นสูญพันธุ์อีกครั้ง

เร็วๆ นี้ พรรคประชาธิปัตย์ จะมีวาระเลือก ‘หัวหน้าพรรค’ คนใหม่ แทนนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ที่ลาออกไปเพื่อรับผิดชอบการไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง แต่คอการเมืองเห็นว่าอาจยังไม่เพียงพอให้ ‘ประชาธิปัตย์’ กลับมาเป็นคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้อในสนามการเมืองไทยได้

TODAY LIVE  พูดคุยกับ รศ.ดร.บูฆอรี ยีหมะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา และ รศ.ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 66 ที่มาช่วยวิเคราะห์และแนะแนวทางปรับใหญ่ให้กับพรรคประชาธิปัตย์ ก่อนการออกเสียงเลือก ‘ผู้นำคนใหม่’ ของพรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทยในขณะนี้

[5 จุดต้องแก้ เพื่อเปลี่ยน ‘ประชาธิปัตย์’]

อาจารย์บูฆอรี กล่าวโดยสรุปว่า ประชาธิปัตย์ควรเริ่มจาก อุดมการณ์‘ เสนอให้ใช้แบรนด์ ‘เสรีนิยมเพื่อสังคม’  (social liberalism) ซึ่งหมายถึง ถ้าเป็นเศรษฐกิจก็คือการมีเสรีแต่ก็มีมาตรการเพื่อช่วยเหลือคนเล็กคนน้อยควบคู่กันไปด้วย ถ้าใช้ก็จะเป็นแบรนด์ที่ต่างจากพรรคการเมืองอื่น แม้ว่า พรรคการเมืองอื่นจะมีลักษณะแบบนี้แต่ยังไม่ใช้แบรนด์ ‘เสรีนิยมเพื่อสังคม’ สามารถประชาสัมพันธ์ได้ว่า ไม่ใช่อนุรักษ์นิยมเหมือนในอดีตและเข้าใจบริบทสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ทั้งในประเทศและในระดับโลก

ต่อมาคือ นโยบายพรรค ก็ต้องสอดรับกับอุดมการณ์เสรีนิยมเพื่อสังคม จะเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างไรเพื่อเอื้อประโยชน์ อีกเรื่องคือ ต้องสลัดจิตวิญญาณการเป็นพรรคของคนใต้ออกไป เช่น สโลแกนก็ต้องเปลี่ยน เพราะอันเดิมมันขายได้เฉพาะกลุ่ม ซึ่งทำให้คนรู้สึกว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช่พรรคของคนนอกพื้นที่แต่เป็นพรรคของคนภาคใต้เท่านั้น

ต่อมาคือ หัวหน้าพรรค คนใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์ ควรจะเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ทั้งในระดับโลกและในระดับประเทศที่สอดรับกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงของโลกในทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ในอดีตก็มีแล้ว ที่ทำให้ประชาธิปัตย์ได้รับการตอบรับมากในเมืองหลวง พูดง่ายๆ เป็น “หัวหน้าพรรคอินเตอร์” ไม่ใช่ “หัวหน้าพรรคท้องถิ่น”

และสุดท้ายคือ กรรมการบริหารพรรค ต้องไม่ใช่ภาพของการกระจุกตัวอยู่ที่ ส.ส.กลุ่มภาคใต้ ซึ่งรวมถึง ผู้สมัคร ควรหาคนที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของพรรค โดยให้ ‘บ้านใหญ่’ เป็นปัจจัยรอง แม้การเลือกตั้งที่ผ่านมาบ้านใหญ่อาจช่วยให้ได้ ส.ส. มาบางที่ แต่หลายพื้นที่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ พร้อมทิ้งท้ายว่า ส่วนตัวเห็นว่าประชาธิปัตย์ต้องปฏิวัติขนาดใหญ่ ไม่ใช่แค่ปฏิรูป

[‘ประชาธิปัตย์’ มีอีก 3 ทางเลือก] 

ขณะที่ อาจารย์โอฬาร มีความเห็นสอดคล้องเช่นกันว่า พรรคประชาธิปัตย์ต้องปรับขนานใหญ่ แบบรอบทิศรอบทาง แต่ไม่ใช่แค่เลือกหัวหน้าพรรคไม่พอ ต้องปรับจุดยืน สถานะในทางอุดมการณ์ของพรรคให้ชัด เพราะการเลือกตั้งที่เพิ่งผ่านมา เห็นชัดว่าประชาชนอยากจะเห็นพรรคการเมืองกับอุดมการณ์ไปด้วยกัน ซึ่งประชาธิปัตย์ต้องปรับในเรื่องนี้ แต่อาจจะไม่เสรีนิยมเพื่อสังคม ยังคงเป็นรัฐนิยมเพื่อสังคมได้ แต่แทนที่จะเป็นรัฐนิยมที่ให้ความสำคัญกับชนชั้นนำ, กลุ่มทุน ต้องมาเป็นรัฐนิยมเพื่อชนชั้นล่าง ชนชั้นกลาง ให้ ‘อนุรักษ์’ ของสังคมไทยเป็นฐาน หรืออีกทางเลือก ประชาธิปัตย์ ปรับตัวเองเป็นพรรคภูมิภาค แบบพรรคชาติไทยพัฒนา หรือพรรคชาติพัฒนากล้า และอีกตัวเลือกคือเป็นพรรคเครือข่ายอำนาจแบบพรรคภูมิใจไทย

อย่างไรก็ตาม ในการเลือกหัวหน้าใหม่  อาจารย์โอฬาร ได้ฝากให้ประชาธิปัตย์ คำนึงถึงความต้องการของประชาชนด้วยว่าเขาอยากจะเห็นประชาธิปัตย์เป็นแบบไหนและต้องยอมรับในการถอดบทเรียนตัวเอง มองข้อดีของพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคเก่าแก่ จะไม่เป็นของคนใดคนหนึ่ง แม้จะมีคนใดลาออกไป พรรคยังตาย แต่พรรคต้องปรับและแก้ปัญหาภายในที่แตกเป็นกลุ่มให้ได้

ติดตามทั้งหมดในคลิปสัมภาษณ์เต็ม ได้ที่นี่ :

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า