SHARE

คัดลอกแล้ว

เหตุการณ์กราดยิงเมื่อเย็นวานนี้ (3 ตุลาคม 2566) สร้างความโกลาหล และความหวาดระแวงไม่น้อยกับชาวไทยและชาวต่างชาติที่กำลังสัญจรไปมาบริเวณห้างสรรพสินค้าพารากอน โดยสถานการณ์ล่าสุดเจ้าหน้าที่สามารถจับกุมผู้ก่อเหตุได้แล้ว เป็นเยาวชนวัย 14 ปี และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการสืบสวน

แต่ในค่ำคืนที่ผ่านมายังคงมีการพูดถึงเหตุการณ์นี้ไม่ขาดช่วง สังคมส่วนหนึ่งมุ่งตั้งคำถามถึงแรงจูงใจในการก่อเหตุของเยาวชนว่ามีที่มาจากสาเหตุอะไร เหตุใดจึงต้องเป็นสยามพารากอน เวลา 4 โมงเย็น ไปจนถึง ‘โทษทางกฎหมาย’ ของผู้ก่อเหตุเยาวชนรายดังกล่าว

TODAY LIVE พูดคุยกับ รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล ผู้ช่วยอธิการบดีและประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยา และการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 เพื่อดูว่ามีอะไรที่เราต้องรู้จากเหตุการณ์กราดยิงในครั้งนี้

เห็นอะไรจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ้าง?

รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงศ์: ในประเด็นแรกผู้ก่อเหตุ ก่อเหตุในห้างพารากอนอยู่กลางเมือง เป็นช่วงเวลาประมาณ 16.00 น. เศษ สะท้อนว่ามีการเตรียมการพอสมควรในการก่อเหตุ ประการต่อมาเท่าที่ทราบมีผู้เสียชีวิตด้วยอาวุธปืน สะท้อนว่าผู้ก่อเหตุมีเจตนาสังหารเหยื่อด้วยอาวุธปืน ประการต่อมาผู้ก่อเหตุเป็นเยาวชน การแต่งกายคล้าย ๆ กับผู้ก่อเหตุในต่างประเทศ ต้องไปตรวจสอบว่าเป็นพฤติกรรมเลียนแบบหรือไม่

คิดว่าผู้ก่อเหตุน่าจะมีการเตรียมการและฝึกฝนการใช้อาวุธ ไม่ใช่เป็นการจับปืนครั้งแรก โดยปกติเจ้าหน้าที่ตำรวจด้านความมั่นคงเขาจะไม่ยิงคนด้วยอาวุธปืน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นต่อสู้กับคนแรก แต่กรณีนี้น่าแปลกใจที่ผู้ก่อเหตุเป็นเยาวชนและใช้อาวุธปืนทำร้ายผู้บริสุทธิ์ ซึ่งยอมรับว่าในประเทศไทยพบไม่มากถ้าไม่มีเหตุโกรธเคืองกันมา

ดูแล้วผู้ก่อเหตุน่าจะเตรียมการมาก่อน สังเกตอย่างไร? ปกติเมื่อเห็นข่าวเยาวชนใช้ปืนมายิงเหยื่อในต่างประเทศ เคสนี้เป็นเคสแรก ๆ ของไทยในระยะ 10 ปีที่ผ่านมาเลยหรือไม่?

รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงศ์: ยอมรับว่าเป็นเคสแรกที่ผู้ก่อเหตุเป็นเยาวชนมาก่อเหตุในห้างสรรพสินค้า ประเด็นการเตรียมการ ผู้ก่อเหตุนำอาวุธติดตัวมาพร้อมกระสุนพร้อมใช้งาน ต่อมาคือเรื่องสถานที่และเวลา การไม่เตรียมการจะพบ เช่น เยาวชนทำร้ายกันโดยไม่รู้จักกันมาก่อน

แต่เคสนี้เหมือนเจาะจงมาว่าต้องเป็นที่นี่เวลานี้ หากมีการตรวจสอบข้อมูลอื่น เช่น โทรศัพท์หรือบ้านพัก หรือตรวจสอบข้อมูลจากคนรอบข้าง ก็จะพบหลักฐานเชื่อมโยงมากขึ้น จะสะท้อนแรงจูงใจของผู้ก่อเหตุ ในต่างประเทศหรือไทยบางกรณีผู้ก่อเหตุมีการซ้อมยิงปืน ทักษะการใช้อาวุธ หรือบางกรณีพบว่าผู้ก่อเหตุโพสต์ข้อความระบายความคับแค้นใจ สิ่งกังวล หรือความน้อยเนื้อต่ำใจที่บอกคนใกล้ชิดก็มีบ้าง สิ่งเหล่านี้จะบอกว่าผู้ก่อเหตุตัดสินใจก่อเหตุจากสาเหตุใด

ลักษณะการก่อเหตุคนเดียว (Lone Wolf) ปกติหากเราเห็นผู้ก่อเหตุเป็นผู้ใหญ่กับเยาวชน แรงจูงใจหรือลักษณะของ Lone Wolf มันแตกต่างกันไหม?

รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงศ์: การก่อเหตุคนเดียวในเมืองไทยมีไม่มาก แต่เคยเกิดมาบ้าง ช่วงหลังในต่างประเทศเกิดถี่ขึ้น ในไทยต้องยอมรับว่านี่เป็นเคสเยาวชนแรก ๆ ที่ก่อเหตุลักษณะนี้ ที่น่ากังวลคือเราไม่ทราบว่าเยาวชนเขาคิดอะไร แล้วทำไมมาก่อเหตุ

เป็นเรื่องที่อาจจะต้องมาให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัว พ่อแม่ ผู้ปกครอง จะต้องสื่อสารให้ความรักความเข้าใจดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิดมากขึ้น อาจจะต้องมองย้อนไปที่สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวว่าเป็นอย่างไร อยู่กับพ่อ แม่ หรือทั้งสองท่าน มีปัญหาในครอบครัว มีประวัติการใช้ความรุนแรงหรือถูกใช้ความรุนแรงมาก่อนหรือไม่ มีการใช้สารเสพติดหรือไม่ อาจจะต้องดูสภาพจิตใจ ส่วนนี้เรายังทราบข้อมูลไม่มากอยู่ในระหว่างการสอบสวนของตำรวจ

การยิงคนในห้าง ช่วงเวลา 4 โมงเย็น มีแรงจูงใจอะไรที่ทำให้ต้องเลือกที่นี่เป็นที่ก่อเหตุ

รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงศ์: ประเด็นแรกคือช่วงเวลาที่ก่อเหตุเป็นช่วงที่มีคนเยอะ ประเด็นที่สองคือห้างสรรพสินค้าพารากอนเป็นห้างกลางเมือง ประเด็นที่สามห้างนี้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสถานีหลักคือสยาม หมายความว่าผู้ก่อเหตุเข้าใจบริบทนี้เป็นอย่างดี ที่น่าสนใจคือทำไมถึงนำอาวุธปืนเข้าไปในห้างนี้ได้ต้องมาทบทวนมาตรการการตรวจสอบ ป้องกันการนำอาวุธเข้าไปให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น

การนำเสนอข่าวสารของผู้ก่อเหตุต้องไปเปิดเผยพฤติการณ์ เสี่ยงเกิดการเลียนแบบ

รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงศ์: ประเด็นแรกเราไม่ควรเปิดเผยชื่อ และตัวตนของผู้ก่อเหตุ ประเด็นที่สองไม่ควรเปิดเผยพฤติการณ์การก่อเหตุขณะนั้น เช่น บางท่านมีการบันทึกคลิปจังหวะการเดินยิงปืน แบบนี้ไม่ควรเปิดเผยรูปแบบ เพราะจะทำให้ผู้ที่คิดจะก่อเหตุหรือกระทั่งเยาวชนที่ดูข่าวซ้ำ ๆ จะจดจำและนำไปสู่พฤติกรรมที่ก้าวร้าวและการเลียนแบบ

สำหรับการนำเสนอข่าวซ้ำ ๆ สามารถทำได้เพียงแต่ว่าควรไปในเชิงให้ข้อคิด เช่น ให้ผู้ปกครองพ่อแม่เอาใจใส่บุตรหลานมากขึ้น ดูที่การเฝ้าระวังป้องกัน ไม่ควรมุ่งไปที่การนำเสนอแบบละครดราม่าเพราะคนดูจะซึมซับสิ่งเหล่านี้ และหากติดตามเรื่องราวนี้จากหลากหลายช่องทางทั้งโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ทีวี สมองเราจะจดจำสิ่งเหล่านี้ไปโดยอัตโนมัติ เช่น หากมีการนำเสนอภาพข่าวเลือด มีคนนอนเจ็บ ร้องโอดครวญสิ่งเหล่านี้จะทำให้คนเกิดความชินชาไปโดยอัตโนมัติ

ชมรายการแบบเต็ม ๆ ได้ที่ Today LIVE

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า