SHARE

คัดลอกแล้ว

รู้ตัวนะว่าทำงานหนักไป แต่พอถึงเวลาพักก็หยุดคิดไม่ได้ซักที.. นี่เรากำลังเสพติดการทำงานหรือเปล่า?

ความสำเร็จของคนอื่นๆ ความกดดันจากสังคม และบางครั้งค่านิยม ‘ทำงานหนัก=เป็นสิ่งที่ดีงาม’ ทำให้เราเผลอเสพติดการทำงานหามรุ่งหามค่ำ และตกอยู่ในภาวะ Toxic Productivity โดยไม่รู้ตัว

Toxic Productivity หรือภาวะคลั่งไคล้ความ Productive คือส่วนหนึ่งของอาการเสพติดการทำงาน (Work Addiction) จนทำให้สะกดจิตว่าต้อง Productive ตลอดเวลา ทำงานหนักอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อไม่ให้ตัวเองรู้สึกผิด จนลืมคิดถึงผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขจิต 

ก่อนอื่นขออธิบายก่อนว่าคำว่า ‘Productive’ นั้นไม่ใช่การทำงานหนักอย่างไม่ลืมหูลืมตา แต่เป็นการทำงานอย่างมี ‘ประสิทธิภาพ’ โดยอาศัยความสามารถในการจัดการและบริหารเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะฉะนั้นมันไม่ใช่คำที่เลวร้ายไปเสียทีเดียว แต่อย่าลืมว่าอะไรที่มากเกินไปก็ไม่ใช่เรื่องดี

Toxic Productivity เริ่มถูกพูดถึงมากขึ้นหลังยุคโควิด-19 ที่พนักงานออฟฟิศต้องปรับตัวการทำงานยกใหญ่ เปลี่ยนจากการนั่งประจำในออฟฟิศ มาทำที่บ้าน ซึ่งมีงานวิจัยจาก Bloomberg บอกว่า New-Normal ใหม่นี้ทำให้ชาวสหรัฐฯ มีประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้น 5% เนื่องจากไม่ต้องเจอปัญหาการเดินทาง และจัดระเบียบตัวเองได้ง่ายขึ้น

แต่ในเวลาเดียวกันการต้อง Work From Home ช่วงโควิด-19 ก็ทำให้กิจวัตรประจำวันหลายๆ อย่างของเราหายไป เช่น การเดินเล่นหลังเลิกงาน การกินข้าวกับเพื่อนร่วมงาน การที่ต้องอยู่ในพื้นที่จำกัด ทำกิจกรรมจำกัด กระตุ้นให้พนักงานหันมาโฟกัสกับการทำงานมากขึ้น และจะรู้สึกว่างเปล่าหากปล่อยให้เวลาผ่านไปโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราตกอยู่ในภาวะ Toxic Productivity หรือยัง?

สถาบัน Greenbrook TMS NuroHealth Center ได้แนะนำให้พนักงานเริ่มสังเกตตัวเองผ่าน 4 สัญญาณ ได้แก่

  1. ทำงานหนักเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา หรือความไม่สบายใจบางอย่าง 

พยายามทำงานหนักเพื่อให้ลืมช่วงเวลาที่ไม่อยากนึกถึง ใช้ความสำเร็จจากการทำงานเติมเต็มความไม่สบายใจ หรือปัญหาในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกผิด ปัญหาทางการเงิน หรือแม้กระทั่งใช้งานเป็นข้ออ้างในการปฏิเสธความสัมพันธ์ต่างๆ

  1. พร้อมทำงานทุกเมื่อ

ร่างกายและสมองไม่มีกลไกปิดสวิตช์การทำงาน แม้ว่าจะทำอย่างอื่นอยู่ แต่ก็พร้อมจะกระโจนกลับไปทำงานทุกเมื่อหากมีเหตุฉุกเฉิน หรือต่อให้ไม่มีเหตุฉุกเฉิน แต่ก็คอยมอนิเตอร์งานอยู่ตลอด เช่น เช็กไลน์ เช็กอีเมล เพราะกลัวจะพลาดอะไรไป

  1. มองว่าคุณค่าตัวเองขึ้นอยู่กับเนื้องาน

รู้สึกว่าตัวเองจะมีค่าก็ต่อเมื่อได้สร้างผลงานดีๆ ที่มีประสิทธิภาพ ทั้งที่ความจริงคุณค่าของมนุษย์ไม่ได้ผูกพันกับแค่เรื่องงานเท่านั้น แต่ความสัมพันธ์ ชีวิตประจำวัน ความสนใจก็ล้วนเป็นส่วนประกอบของคุณค่าในตัวเราทั้งนั้น

  1. ให้ความสำคัญกับการทำงานจนละเลยสิ่งต่างๆ 

เผลอมองว่างานคือทุกอย่างของชีวิต เป็นสิ่งสำคัญที่สุด จนลืมที่จะใส่ใจสิ่งต่างๆ รอบตัว ลืมว่าชีวิตหนึ่งเราไม่ได้มีแค่บทบาทของพนักงาน แต่เรายังมีฐานะเป็นเพื่อน เป็นลูกของพ่อแม่ และเป็นมนุษย์ที่ต้องการเวลาพักผ่อนให้กับตัวเอง 

นอกจาก 4 ข้อนี้ เรายังสามารถเช็กสัญญาณอื่นๆ ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นหมกมุ่นอยู่กับความสำเร็จในการทำงาน กลัวความล้มเหลว ไม่รู้สึกพอใจ และหวาดระแวงตลอดเวลาว่างานจะออกมาไม่มีประสิทธิภาพ คิดถึงเรื่องงานตลอดเวลาแม้แต่ตอนที่พักผ่อน หรือบางครั้งก็ยังเก็บเรื่องงานไปฝัน

ปัญหาเหล่านี้หลายคนอาจจะคิดว่าไม่เป็นอะไร เสพติดความคิดที่ว่า “ฉันยังไหว ยังไปได้อีก” แต่หารู้ไม่ว่าทุกวินาทีที่คุณตกอยู่ในบ่วงของ Toxic Productivity มันกำลังกัดกินคุณไปทีละเล็กละน้อย ไม่ว่าจะด้านสภาพร่างกาย หรือสภาพจิตใจ ซึ่งอาจนำไปสู่อาการป่วยรุนแรงในระยะยาว ดังนั้น การรู้เท่าทันอาการของตัวเอง และรีบหาทางป้องกัน ย่อมดีกว่าการตามมาเช็ดล้างภายหลัง

สำนักข่าวออนไลน์ HuffPost ได้รวบรวมวิธีเอาตัวรอดจาก Toxic Productivity มาให้คนที่กำลังตกอยู่ในภาวะนี้ได้ลองทำตามกันดู เพื่อจะได้เปลี่ยนจาก ‘Work ไร้ Balance’ มาเป็น ‘Work Life Balance’ โดยที่ประสิทธิภาพงานไม่ตก และชีวิตส่วนตัวไม่พัง

  1. มองหาสัญญาณของปัญหา 

เริ่มต้นจากการสำรวจตัวเองว่าเข้าข่าวภาวะ Toxic Productivity หรือไม่ ซึ่งนอกจากคำแนะนำต่างๆ ด้านบน อาจลองสังเกตเพิ่มเติมจากพฤติกรรมชีวิตประจำวันของตัวเอง เช่น รู้สึกเหนื่อยล้าตลอดเวลา นอนไม่เต็มอิ่ม ตื่นมาไม่สดใส หรือแม้กระทั่งใช้เวลากับงานชิ้นใดชิ้นหนึ่ง หรือการประชุมใดๆ มากเกินความจำเป็น เพราะลึกๆ แล้วอยากให้คนอื่นรับรู้ว่าเรากำลังทำงานหนัก

  1. หยุดตั้งคำถามทำนองว่า “ตอนนี้ฉันควรทำอะไรกันแน่?”

หยุดเพิ่มภาระหน้าที่หรือความรู้สึกผิดโดยไม่จำเป็น เมื่อทำงานชิ้นนึงจบ เราไม่จำเป็นต้องกระโดดไปทำชิ้นต่อไปในทันที ให้เวลาตัวเองได้พักผ่อนบ้าง

  1. เจ้านายไม่ได้สนใจคุณตลอดเวลาอย่างที่คิด

หลายๆ คนอาจจะคิดว่าเจ้านายกำลังจับตาดูการทำงานของคุณทุกฝีก้าว แต่ความจริงแล้ว ทุกคนล้วนสนใจที่ผลลัพธ์มากกว่ากระบวนการทำงาน เขาไม่ได้สนว่าคุณจะใช้เวลาทุ่มเทให้งาน 8 ชั่วโมงหรือ 24 ชั่วโมง ตราบใดที่ผลลัพธ์ออกมาไม่ต่างกัน

  1. รักตัวเองให้มาก 

จำไว้ว่าคนที่จะอยู่กับคุณจนถึงวันสุดท้ายก็คือคุณ เฉพาะฉะนั้นอย่าลืมรักตัวเองด้วยการใส่ใจชีวิตประจำวันเล็กๆ น้อยๆ เช่นการกินข้าวให้ครบ 3 มื้อ หรือหาเวลาไปออกกำลังกายบ่อยๆ

  1. รู้จักแยกแยะชีวิตส่วนตัวและชีวิตงาน

“งานเป็นงาน เรื่องส่วนตัวก็เป็นเรื่องส่วนตัว!” อย่างที่บอกไป งานไม่ใช่ทุกอย่างในชีวิต หลังจากเหนื่อยล้าจากการเป็นพนักงานที่ดีมาตลอดทั้งวัน อย่าลืมเป็นคนที่ดีของตัวเองด้วยนะ

  1. อย่าถูก ‘วัฒนธรรมเร่งรีบ’ กลืนกิน

ทุกวันเราต้องใช้ชีวิตเร่งรีบ แข่งกับเวลา แข่งกับความสำเร็จคนอื่นๆ ระลึกไว้เสมอว่าเราไม่สามารถทำทุกอย่างหรือเป็นทุกอย่างที่สังคมต้องการ ให้ความสำคัญกับ ‘ความสมดุลในชีวิตให้มากๆ’ อย่ากระโดดเข้าไปทุกอย่างที่สังคมชี้นิ้วบอก หมั่นถามตัวเองเสมอว่า ฉันต้องการอะไร ฉันเหมาะสมกับอะไร สิ่งไหนสำคัญกับฉันจริงๆ 

หากอ่านมาถึงตรงนี้แล้วยังคิดว่าเรื่องพวกนี้ไกลตัว โอมศิริ วีระกุล นักเขียนและนักเล่าพอดแคส ได้แชร์ประสบการณ์การตกอยู่ในภาวะเสพติดการทำงาน จนเจอจุดเปลี่ยนในชีวิตนั่นคือปัญหาสุขภาพ และทำให้ต้องหันมาเปลี่ยนเป้าหมายของตัวเองว่าความสำเร็จไม่ได้ถูกอยู่แค่กับเนื้องาน แต่การมีสุขภาพที่ดีคือสิ่งที่ควรให้ความสำคัญอย่างแท้จริง

โอมศิริใช้คำว่า “เหมือนเวลาเมา แล้วบอกเพื่อนว่าไม่ได้เมา” มาอธิบายภาวะเหนื่อยล้าจากการทำงานหนักของตัวเอง เขาเป็นคนหนึ่งที่คิดว่ายังสู้ต่อไปได้ จนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุล้มในห้องน้ำ จนต้องแอดมินเข้าโรงพยาบาล ซึ่งแม้จะไม่ร้ายแรงถึงขั้นชีวิต แต่ก็เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เขาเปลี่ยนนิสัยการทำงาน และหันมาดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้น

โอมศิริเล่าในรายการ Tomorrow ของ workpointTODAY ให้ฟังว่า หลังผ่านเหตุการณ์นั้นมาได้ เขาหักดิบด้วยการปิดเครื่องมือสื่อสารนอกเวลางาน (แต่แจ้งล่วงหน้าไว้ก่อน) และเลิกใช้คำว่า ‘งานยุ่ง’ มาเป็นข้ออ้างในการไม่ดูแลตัวเอง นักเขียนฝีมือดีพยายามกลับมาใช้ชีวิตอย่างใจดีกับตัวเอง และค้นพบว่ามันเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่เขาเองก็ตามหามาตลอด

คำบอกเล่าสั้นๆ ของโอมศิริน่าจะเป็นตัวอย่างที่เข้าไปสะกิดใจใครหลายๆ คน อย่าคิดว่าตัวเองไหว จนกว่าร่างกายจะไม่ไหว ชีวิตคุณจะเป็นอย่างไรต่อไปก็ขึ้นอยู่กับการกระทำของคุณในทุกๆ วัน

อ้างอิงจาก

https://www.psychologytoday.com/us/blog/leading-success/202201/when-doing-is-your-undoing-toxic-productivity

https://www.healthline.com/health/addiction/work

https://www.huffpost.com/entry/toxic-productivity-work_l_606655e7c5b6aa24bc60a566

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า