SHARE

คัดลอกแล้ว

ประวัติศาสตร์การค้าโลกในอดีตย้อนไปดูตั้งแต่ลัทธิล่าอาณานิคม สนธิสัญญาต่าง ๆ ก็ล้วนเป็นตัวบอกความได้เปรียบ เสียเปรียบ มีการเจรจาการค้า การกีดกันทางตรงทางอ้อม คว่ำบาตร แทรกแซง ฯลฯ ดังนั้นเกมการเมืองเวทีโลก เกมเจรจาการค้าก็ต้องรู้เขารู้เราให้ทันว่านานาประเทศใช้กติกา เครื่องมือ มาตรการอะไรมาเป็นอาวุธทางเศรษฐกิจ

วิธีการกีดกันทางการค้าแบบดั้งเดิม คือ การตั้งกำแพงภาษี การควบคุมสินค้า การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การห้ามนำเข้าสินค้าจากบางประเทศ การให้เงินอุดหนุนอุตสาหกรรมในประเทศ

ในโลกการค้าสมัยใหม่ หากจะยกตัวอย่างรูปแบบ ‘การกีดกันทางการค้า’ ที่ชัดเจน คือ ความตึงเครียดทางการค้าระหว่าง ‘สหรัฐอเมริกา’ และ ‘จีน’ ที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน โดยออกมาตรการกีดกันการค้าระหว่างกันอย่างดุเดือด ตั้งแต่การที่สหรัฐตั้งกำแพงภาษีกับจีน ส่วนจีนก็ลงทุนในสหรัฐฯน้อยลงอย่างมาก จนมาถึงตอนนี้ที่สหรัฐฯแบนการส่งออกชิปล้ำยุคและอุปกรณ์การผลิตชิปไปยังจีน 

 

2 ปี มานี้ การกีดกันทางการค้ายิ่งรุนแรงขึ้นและกระจายไปทั่วโลก โดยเฉพาะผลจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน จนนำมาสู่โลกแบ่งขั้ว มีคำศัพท์หลัก ๆ ที่เราจะได้ยินนักเศรษฐศาสตร์ นักวิชาการด้านภูมิรัฐศาสตร์ นักวิเคราะห์พูดถึง คือ ‘Decoupling’ ซึ่งหมายถึงแนวคิดการแยกเศรษฐกิจ หรือห่วงโซ่การผลิตออกจากอีกประเทศหนึ่งอย่างสิ้นเชิง
กับอีกคำหนึ่ง คือ ‘Friendshoring’ คือ นโยบายหรือกลยุทธ์ทางการค้าที่เลือกทำธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทานเฉพาะกับประเทศที่เป็นมิตรทางการเมืองเท่านั้น

แล้วเหตุผลหลักเขากีดกันกันไปทำไม
คำตอบคือ เพื่อปกป้องตลาดในประเทศ อีกเหตุผลคือส่งเสริมการผลิตในประเทศ รวมทั้งยังมีเหตุผลทางการเมืองในการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ เช่น กรณีรัสเซียกับประเทศตะวันตก
แต่โดยมากประวัติศาสตร์การกีดกันทางการค้า มักจะเทไปทางปกป้องตลาดในประเทศเสียมากกว่า

อย่างตอนเกิดโควิด-19 แพร่ระบาดช่วงพีคมาก การผลิตหยุดชะงักทั่วโลก นั่นทำให้ความต้องการวัตถุดิบในการผลิตสูงขึ้น แต่ละประเทศก็ต้องหาวิธีนำเข้าวัตถุดิบ หรือพูดกันง่ายๆ คือ ต้องมีวิธีการหาให้ได้มา ท่ามกลางสถานการณ์ที่บางประเทศในฐานะผู้ผลิตวัตถุดิบนั้นๆ ก็ต้องชะลอการส่งออกเพื่อเก็บไว้ใช้ผลิตในประเทศเช่นกัน

องค์การการค้าโลก (WTO) พบว่าประเทศสมาชิกใช้มาตรการจำกัดการค้าที่เกี่ยวกับ โควิด-19 มากถึง 148 มาตรการ ซึ่ง 82% เป็นมาตรการ จำกัดการส่งออก ตัวอย่างเช่นปัญหาด้านการผลิตและการกระจายวัคซีนทั่วถึงได้ช้า รวมไปถึงการผลิตและส่งออกสินค้าสำคัญทางการแพทย์อื่นๆ

พอโควิด-19 คลี่คลาย เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่กระทบเศรษฐกิจทั้งภูมิภาคยุโรปอีก มาวันนี้สงครามยืดเยื้อ 1 ปี และยังมีแนวโน้มไม่จบง่าย ๆ ก็ยิ่งทำให้มาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างยุโรปกับรัสเซียถูกนำมาใช้ต่อเนื่องไปอีก (บวกกับแผลเก่าเรื่องสงครามการค้าของสหรัฐกับจีนที่เกิดขึ้นมาหลายปีก่อนหน้า)

โดยมาตรการที่เกี่ยวเนื่องกับการแซงชั่น (Sanctions) รัสเซีย รวมแล้วมีจานวน 71 มาตรการที่ออกโดยสมาชิก WTO 43 ประเทศ

พอเกิดทั้งเรื่องโควิด-19 และ สงครามรัสเซีย กระบวนการผลิต ซัพพลายเชนก็กระทบถึงประเทศอื่นๆ ต่อเนื่อง และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขาดแคลน โดยเฉพาะเรื่องพลังงานและอาหารในประเทศ เราเลยได้เห็นว่าอย่างน้อย 27 ประเทศทั่วโลกออก มาตรการกีดกัน หรือ มาตรการจำกัดการส่งออกเพื่อป้องกันการเกิดวิกฤติขาดแคลนวัตถุดิบด้านอาหารและวัตถุดิบมาผลิตพลังงานภายในประเทศ

เครื่องมือกีดกันการค้าโลกเวอร์ชั่นล่าสุด 

การนำ ‘สิ่งแวดล้อม’ มาเป็นเงื่อนไข หรือข้อกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศจะมีบทบาทมากขึ้น

สิ่งแวดล้อมจะถูกนำมาเป็นอาวุธสังหารกันได้ถ้าแต่ละประเทศไม่รีบตั้งหลักปรับตัว

มองแบบเหรียญสองด้าน ทางบวก เป็นกติกาที่ออกแบบมาเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ ‘Climate Change’ และพาโลกไปสู่ ‘Net Zero’ โลกที่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์

แต่ถ้ามองแบบลบ ด้านหนึ่ง กติกาสิ่งแวดล้อมนี้ก็อาจถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้าได้ (จะโดยเจตนาหรือไม่เจตนา) แต่ละประเทศจึงต้องเตรียมตัวให้ดี และยิ่งน่าห่วงว่าในประเทศที่ไม่ได้มีงบประมาณมากเพียงพอที่จะบริหารจัดการภาคอุตสาหกรรมและดูแลภาคสินค้าส่งออกให้ได้เกณฑ์มาตรฐานสิ่งแวดล้อมแบบใหม่ที่เข้มข้นขึ้น ก็จะบาดเจ็บด้วยมาตรการและนโยบายต่าง ๆ จากกติกาใหม่นี้

จับตาอาวุธใหม่ของเศรษฐกิจโลกที่เรียกว่า CBAM หรือ ซีแบม 

เครื่องมือตัวล่าสุดที่จะเห็นผลในปีนี้

การทำมาค้าขายส่งออกไปยังยุโรปของประเทศต่าง ๆ ต่อไปจะมีเงื่อนไขเพิ่ม คือ มาตรการปรับภาษีคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของยุโรป ที่มีชื่อว่า Carbon Border Adjustment Mechanism เรียกสั้นๆ CBAM (ซีแบม)

พูดง่ายๆ ‘เรียกเก็บภาษีเพิ่ม’ กับอุตสาหกรรมสินค้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
จะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป ก็คือปีนี้

โดยช่วง 3 ปีแรก 2566-2568 จะเป็นการบังคับให้แต่ละประเทศเมื่อส่งออกสินค้าที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมของโลกไปยุโรปจะต้องมีการรายงานข้อมูลผลกระทบต่างๆต่อสิ่งแวดล้อม จากนั้นก็จะเริ่มมีการเก็บภาษีอย่างเต็มรูปแบบในปี 2569

ตอนนี้จึงเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยมีอุตสาหกรรมและธุรกิจที่ต้องเตรียมตัวหลัก ๆ เลย 6 อุตสาหกรรม คือ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ ปุ๋ย กระแสไฟฟ้า และไฮโดรเจน

ขณะที่ต่อไป มาตรการซีแบมจะครอบคลุมสินค้ามากขึ้นและนับรวมการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ทางอ้อมด้วย ซึ่งจะกระทบอีกหลายธุรกิจยาวเป็นหางว่าว ดังนั้นจึงต้องเร่งปรับตัวช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่เทรนด์ Green Economy ของโลก

ไทยรับมืออย่างไร 

อุตสาหกรรมและธุรกิจหลักขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับ 6 อุตสาหกรรมที่เล่าไว้ข้างต้น ต่างมีการเตรียมความพร้อมมาระยะหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะการปรับกระบวนการผลิตและเริ่มประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์

กลุ่มสินค้าไทยที่เข้าข่ายมาตรการซีแบมที่สำคัญ คือ เหล็กและเหล็กกล้า เรามีมูลค่าส่งออกที่ 1.6 หมื่นล้านบาท ส่วนผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม ส่งออก 3.6 พันล้านบาท โดยมีมูลค่าส่งออกรวมไปสหภาพยุโรปไม่ต่ำกว่า 1.7 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 2.1% ของการส่งออกของไทยไปยุโรป

ดังนั้นถ้าไม่ปรับตัวก็จะถูกมาตรการซีแบมเล่นงาน กระทบดุลการค้ากับยุโรป

ไม่ใช่แค่เรื่องกับยุโรป กับสหรัฐอเมริกาด้วย 

สหรัฐอเมริกาออกร่างกฎหมาย Clean Competition Act (CCA) เก็บภาษีคาร์บอนสำหรับสินค้าที่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สูงในกระบวนการผลิต อาทิ เชื้อเพลิง ฟอสซิล ผลิตภัณฑ์จากการกลั่นปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า และถ่านหิน เช่นกัน

ดังนั้นภาครัฐและผู้ประกอบการไทย ต้องเร่งปรับตัวใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อให้กระบวนการผลิตปล่อยคาร์บอนได้ตามเกณฑ์

ไทยเอาอะไรไปสู้ในเวทีเศรษฐกิจโลกที่มุ่งหน้าเรื่องสิ่งแวดล้อม 

จนถึงตอนนี้อาวุธทางเศรษฐกิจที่เราได้ยินว่าจะนำไปรับมือและต่อยอดในเรื่องนี้ ก็คือการผลักดันเศรษฐกิจด้วยโมเดล ‘BCG’ ดันภาคเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมมุ่งไปสู่ Net Zero emissions เกาะกระแสไปกับทั่วโลกนั่นเอง

โมเดลเศรษฐกิจ BCG เน้นไปที่ 3 ด้านหลัก คือ เศรษฐกิจชีวภาพ Bio Economy เศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy และเศรษฐกิจสีเขียว Green Economy

แต่ BCG ของไทยจะไปได้ไกลแค่ไหนยังเป็นคำถาม

ในอนาคต กติกาใหม่ ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมการค้าโลกให้อยู่บนเส้นทางสายสิ่งแวดล้อมจะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นทั้งมาตรการช่วยโลกบรรเทาปัญหาสภาพภูมิอากาศแปรปรวน และรักษาระบบนิเวศของโลกที่พังลงไปทุกวัน แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นมาตรการกีดกันการค้าบางประเทศไปในตัว

…ดังนั้นใครแพ้ตกขบวน ถูกกีดกันด้วยอาวุธสิ่งแวดล้อมแน่นอน เครื่องมือกีดกันการค้าโลกตัวล่าสุดกัน และประเทศไทยจะรับมือและเอาอะไรไปสู้กันได้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า