SHARE

คัดลอกแล้ว

อาจารย์จุฬาฯ ชี้ สงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ เป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดยุคโลกาภิวัฒน์ การค้าโลกจะไม่มีวันกลับมาเหมือนเดิมอีก และในอนาคตห่วงโซ่อุปทานโลกจะมี 2 ห่วงแยกกัน ห่วงหนึ่งจะเชื่อมโยงกับจีน ส่วนอีกห่วงหนึ่งจะเชื่อมโยงกับสหรัฐฯ

ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องประเทศจีนและผู้เขียนหนังสือ China 5.0: สีจิ้นผิง เศรษฐกิจยุคใหม่ และแผนการใหญ่ AI ได้แสดงความคิดเห็นผ่านคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และได้แชร์บทความดังกล่าวลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว ในหัวข้อ โลกที่แตกเป็นสองห่วงโซ่ โดยระบุว่า สงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ จะทำให้การค้าโลกไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

โดยให้ข้อมูลว่า ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา โลกถือว่าอยู่ในยุคโลกาภิวัฒน์เต็มตัว การค้าโลกเชื่อมโยงถึงกันหมด ทั่งโลกเกิดสิ่งที่เรียกว่าห่วงโซ่อุปทานโลก (Global Supply Chain) ที่ทุกประเทศทั่วโลกเชื่อมต่อถึงกันหมดในทางการค้าและการผลิต  แต่สงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ กำลังทำให้ห่วงโซ่อุปทานโลกนี้จบสิ้นลง

เพราะทั้งจีนและสหรัฐฯ ต่างต้องเปลี่ยนยุทธศาสตร์ใหม่ จีนต้องปรับห่วงโซ่อุปทานของตนเองให้แยกออกจากสหรัฐฯ เพื่อกระจายความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการโดนสหรัฐฯ ขึ้นกำแพงภาษี  ส่วนสหรัฐฯ เองก็ต้องพยายามออกห่างจากจีนเพราะการเชื่อมโยงกันมากเช่นนี้ทำให้สหรัฐฯ สูญเสียอำนาจต่อรอง

ดังนั้นแล้วในอนาคต การค้าโลกจึงจะไม่เหมือนเดิมอีก เพราะห่วงโซ่อุปทานโลกหนึ่งเดียวจะไม่มีอีกต่อไป อนาคตจะเกิดห่วงโซ่อุปทาน 2 ห่วง โดยห่วงหนึ่งมีจีนเป็นศูนย์กลาง ส่วนอีกห่วงมีสหรัฐฯ เป็นศูนย์กลาง

https://www.facebook.com/armtung/posts/10156124252860025

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า