Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ความเห็นไม่ตรงกัน กรณีคร่อมรถจักรยานยนต์ที่ยังติดเครื่องแล้วใช้มือถือ ตำรวจชี้ไม่ว่าจะเคลื่อนที่หรือหยุดรถสัญญาณจราจรถือว่าอยู่ระหว่างควบคุมรถ ด้าน ทนายเดชา แห่งเพจทนายคลายทุกข์แย้ง ยกคำพิพากษาฎีกา มีความผิดเฉพาะกรณีที่รถแล่นอยู่เท่านั้น 

จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊ก Guy Thanapon โพสต์คลิปเมื่อวันที่ 12 ก.ค. กรณีถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.บางโพงพาง จับเนื่องจากใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ โดยเจ้าของคลิปพยายามชี้แจงว่าจอดคร่อมรถเพื่อรับโทรศัพท์ไม่ได้ขับขี่ แต่เจ้าหน้าที่ระบุในคลิปว่า ยังอยู่บนรถต้องจอดแล้วลงจากรถ

ต่อมาช่วงดึกวันที่ 12 ก.ค. เฟซบุ๊ก ศูนย์โซเชียลมีเดีย ศปก.ตร. อธิบายถึงกรณีดังกล่าว ว่า ตำรวจ สน.บางโพงพาง ที่เป็นผู้จับกุมชี้แจงว่า ผู้โพสต์จอดรถบริเวณสัญญาณไฟจราจรทางข้าม ปากซอยสาธุประดิษฐ์34 โดยไม่ดับเครื่องยนต์ หลังจากนั้นได้หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาใช้งาน ซึ่งอยู่ระหว่างการควบคุมรถ เมื่อขับรถต่อเจ้าหน้าที่จึงเรียกให้หยุดแจ้งข้อหาและออกใบสั่ง

พร้อมระบุว่า “การกระทำของผู้โพสต์ นั้นเป็นการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในขณะควบคุมรถอยู่ในทางเดินรถ ไม่ว่ารถดังกล่าวจะอยู่ในระหว่างการเคลื่อนที่หรืออยู่ในระหว่างการหยุดรถตามสัญญาณจราจร”

วันที่ 13 ก.ค. ทนายเดชา กิตติวิทยานันท์ แห่งเพจ ทนายคลายทุกข์ ได้กล่าวถึง กรณีดังกล่าวว่า เป็นการตีความกฎหมายแบบแปลกๆ เข้าใจว่าตำรวจปฏิบัติหน้าที่ แต่มองว่าไม่ค่อยเหมาะสม มีหลายกรณีที่ควรจับมากกว่านี้ เช่น ขี่รถย้อนศร ตั้งสิ่งของกีดขวางทางจราจร

กฎหมาย พ.ร.บ.จราจรทางบก พศ.2522 มาตรา 43 บอกว่าห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ (9) ในขณะใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เว้นแต่ใช้อุปกรณ์เสริมโดยไม่ต้องจับโทรศัพท์เคลื่อนที่

ที่ผ่านมาเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกา 6968/2545 ความผิดต้องเป็นผู้ขับรถที่กำลังแล่นอยู่ ไม่ใช่กรณีจอดรถ และฎีกา 2210/2544 ผู้ขับรถหมายถึง ต้องเป็นกรณีขับรถที่กำลังแล่นอยู่ หาใช่กรณีที่จอดรถอยู่ไม่

ดังนั้นการนั่งคร่อมรถจักรยานยนต์อยู่ไม่ว่าจะดับเครื่องหรือไม่แล้วใช้โทรศัพท์ไม่เป็นความผิด การใช้โทรศัพท์ระหว่างรถติดก็ไม่มีความผิดเช่นกัน จะตีความอย่างอื่นไม่ได้ เพราะมีแนวคำพิพากษาอยู่

ทนายเดชา ยังอ้างด้วยว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายเขียนไว้เพื่อไม่ให้เสียสมาธิระหว่างขับรถ ทำให้เกิดความระมัดระวัง ฉะนั้นระหว่างรถจอดจึงใช้โทรศัพท์ได้ กฎหมายไม่ได้ห้าม

พร้อมเสนอว่าถ้าถูกตำรวจจับข้อหานี้ให้สู้คดี ถ้าตำรวจยังจับให้ฟ้องกฎหมายอาญา มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทนายเดชา กล่าวถึง กรณีที่ตำรวจอ้างการตีความกฎหมายของสำนักงานกฤษฎีกาว่า เป็นเพียงความเห็นทางกฎหมาย ไม่ใช่คำตัดสินของศาล หลายเรื่องที่กฤษฎีกาตีความมาศาลก็ไม่เชื่อ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า