SHARE

คัดลอกแล้ว

“ก่อนเทคโนโลยีพร้อม คนต้องพร้อมก่อน” สิ่งสำคัญต่อการเข้าสู่ยุคดิจิตอลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทย ไอเดียหลักที่ได้จากการสัมมนาหัวข้อ Transform to Innovate: Key Incentives for a Thriving Tech Economy (เปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างสรรค์: แรงจูงใจหลักเพื่อเศรษฐกิจเทคโนโลยีที่เจริญรุ่งเรือง) ในงาน Techsauce Global Summit 2024 ที่จัดขึ้นในวันที่ 7-9 สิงหาคมที่ผ่านมา ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ โดยมี นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ บรรณาธิการบริหารสำนักข่าว TODAY เป็นผู้ดำเนินงาน

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) แสดงความคิดเห็นว่า ประเทศไทยได้รับแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกมากมายที่ทำให้ตลาดการค้าและเศรษฐกิจของไทยยังเติบโตได้ไม่เต็มที่ ทั้งการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ที่กว่า 20% ของประชากร หรือมากกว่า 13.2 ล้านคนในประเทศไทยอยู่ในช่วงผู้สูงอายุ ปัจจัยในด้านความสามารถในการผลิตสินค้าที่น้อยลง โดยเฉพาะด้านสินค้าเทคโนโลยีที่มีการส่งออกสินค้าสู่ตลาดต่างประเทศน้อยกว่า 25% เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านอย่างจีน ที่ส่งออกสินค้าเทคโนโลยีมากกว่า 35% รวมไปถึงเวียดนามที่มากกว่า 40%

ปัจจัยด้านธุรกิจส่งออกของไทยก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เมื่อมีธุรกิจของไทยเพียง 1% เท่านั้นที่สามารถเป็นผู้ส่งออกสินค้าไปต่างประเทศได้ นอกจากนี้ประเทศไทยยังส่งออกสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้น้อยกว่า 8% เมื่อเทียบกับประเทศจีนที่ส่งออกอยู่ที่ 10% และญี่ปุ่นที่ 15% รวมถึงปัจจัยในด้านของพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคที่ส่งผลให้ประเทศไทยในปี 2028 มีแนวโน้มว่าจะจำหน่ายสินค้าผ่าน e-commerce สู่ผู้ค้าปลีกต่างๆ ในตลาดโลกได้ลดลงกว่า 24% อีกด้วย

ดังนั้นจริงๆ แล้วประเทศไทยยังมีโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจด้านเทคโนโลยีอยู่อีกมาก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าส่งออกต่างประเทศได้มากขึ้นทั้งในแง่ของคุณภาพที่ดีขึ้น และได้สินค้าจำนวนมากขึ้นในเวลาเดียวกัน จึงเป็นที่มาของการก้าวเข้ามาของเทคโนโลยีต่างๆ ที่ประเทศไทยควรเริ่มมีการนำมาใช้เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่เพียงแค่การจำหน่ายในไทย แต่ต้องไปสู่ตลาดโลก

แต่จากการสำรวจพบว่า 2 ใน 3 ของธุรกิจ SME ของไทยยังไม่พร้อมต่อการปฏิรูปเข้าสู่ยุคดิจิตอลอย่างเต็มตัว ประเทศไทยอยู่ที่อันดับที่ 51 ในโลกของการเป็นประเทศที่ผู้ประกอบการพร้อมเข้าสู่ยุคของการปฏิรูปธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล โดยผู้ประกอบการไทยกว่า 35% ที่ระบุว่ามีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจสู่ยุคดิจิตอลอย่างเต็มที่ และกว่า 33% ระบุว่ามีแรงงานและพนักงานที่แสดงความพร้อมต่อการปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานต่างๆ เป็นระบบดิจิตอล แต่เป็นที่น่ากังวลว่ากว่า 63% ของธุรกิจในไทยยอมรับว่าต้องการการสนับสนุนด้านการเงินเพื่อเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบดิจิตอลได้อย่างรูปแบบจริงๆ

คนไทยต้องเก่งเรื่องเทคโนโลยีมากขึ้นให้ได้

คุณเดช ฐิติวณิช ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า นอกจากเรื่องของการสนับสนุนทางด้านการเงินที่ผู้ประกอบธุรกิจในไทยต้องการเพิ่มขึ้น เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบในการดำเนินธุรกิจและกระบวนการผลิตสินค้าต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีระบบดิจิตอลแล้ว แรงงานในไทยเองก็ต้องการความรู้เพิ่มเติมในการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีออกมามากขึ้นในโลกปัจจุบัน เพื่อที่จะได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพที่ไหนเมื่อไรก็ได้บนโลกใบนี้

ดังนั้น สิ่งสำคัญคือการสนับสนุนให้คนไทย แรงงานไทย เตรียมความพร้อม เปิดใจรับ และได้รับการฝึกสอน ได้รับความรู้ในการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ให้ได้เร็วที่สุด

ทางด้านของคุณธีรนันท์ ศรีหงส์ ประธานคณะกรรมการกำกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล ระบุว่า ประเทศไทยต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิตอลในการช่วยลดต้นทุน และเพิ่มผลประโยชน์ในการผลิตให้ได้มากที่สุด และเมื่อเศรษฐกิจมีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ก็จะส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชากรในประเทศไทยดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาคส่วนของเกษตรกรรม หรือการศึกษาของเด็กๆ ที่จะทำให้เด็กๆ สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้ได้ง่ายมากยิ่งขึ้นไปด้วย

แรงงานไทยขาดทักษะ เพราะไม่มีเงินมากพอ

สำหรับปัญหาที่องค์กรในไทยต้องพบเจอระหว่างการเปลี่ยนแปลงของภาคธุรกิจเข้าสู่ยุคดิจิตอลนั้น คุณธีรนันท์ ตอบว่า สิ่งแรกคือ ทุนมนุษย์ (human capital) แรงงานในไทยยังขาดทักษะในการปรับใช้เทคโนโลยีต่างๆ ในการผลิตสินค้าได้อย่างเต็มที่ แรงงานไทยจำเป็นต้องมีคนที่มีความรอบรู้ในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีต่างๆ อย่างลึกซึ้ง อาจจะต้องเริ่มต้นจากการนำเข้าแรงงานต่างชาติที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องเทคโนโลยีมาสอนแรงงานไทยก่อน

นอกจากเรื่องของทักษะแล้ว แรงงานไทยเองก็จำเป็นจะต้องมีใจที่เปิดกว้าง เพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้ เพราะในช่วงแรกจะเป็นสิ่งที่ยากที่จะเรียนรู้ เป็นความท้าทายของแรงงานไทยอย่างมากเช่นกัน

สุดท้าย นอกจากจะยังไม่มีผู้เล่นใหม่ๆ ในตลาดเทคโนโลยีเพื่อการผลิตของไทยแล้ว สิ่งสำคัญมากอีกอย่างหนึ่งคือ การขาดงบประมาณในการสร้างโครงสร้างของระบบนิเวศสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพต่างๆ อย่างเพียงพอ เมื่อเทคโนโลยีเป็นเรื่องของต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงแรก ธุรกิจสตาร์ทอัพเล็กๆ จึงอาจยังไม่มีเงินมากพอในการลงทุนเพื่อใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ

ดร.รักษ์ เสริมว่า การศึกษาในไทยก็เป็นเรื่องสำคัญ คนไทยยังมีปัญหาในการใช้และเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ เพราะยังไม่มีการส่งเสริมให้นักเรียนไทยได้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในภาคธุรกิจมากเท่าที่ควร นอกจากนี้การปลูกฝังเด็กไทยให้เปิดใจกว้าง พร้อมเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ค่อนข้างยาก เพื่อพัฒนาธุรกิจเข้าสู่ยุคดิจิตอลอย่างเต็มตัว ก็ยังเป็นเรื่องที่ยังต้องปรับกันต่อไป เพราะตอนนี้มีเพียง 1 ใน 3 ของผู้ประกอบการในไทยที่สามารถก้าวเข้าไปเป็นผู้ค้าในตลาดโลกได้

คุณเดช เสริมว่า ในประเทศไทยเองก็ยังหาบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ได้ยากเช่นกัน ซึ่งบุคลากรไทยหลายคนมีใจที่อยากจะเรียนรู้ แต่ไม่มีโอกาสที่จะได้รับการศึกษาที่ดีพอ และยังต้องใช้เวลาในการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจและทำงานได้จริงอีกเป็นระยะเวลายาวนานหลายปี

ภาคธุรกิจกับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิตอลในระยะสั้น

หากมองแค่ในช่วงสั้นๆ 6-12 เดือนนี้เราทำอะไรให้ดีขึ้นได้บ้าง ดร.รักษ์ ให้ความเห็นว่า ภาคธุรกิจของไทยสามารถไปในทิศทางของ “Go Green” หรือสินค้ารักษ์โลก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งสินค้ารักษ์โลกสามารถส่งเสริมไปด้วยกันกับภาคธุรกิจท่องเที่ยวของไทยที่เป็นที่นิยมอย่างสูงในคนต่างชาติได้ด้วย

นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทยสามารถใช้จ่ายเพิ่มเติมไปกับสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น เช่น โรงแรมรักษ์โลก และสามารถขยายต่อไปถึงเรื่องของธุรกิจฟาร์มอัจฉริยะ ที่หากลงทุนในการวิจัยและพัฒนาได้อย่างเป็นระบบ จะสามารถผลิตสินค้าที่รักษ์โลกและดีต่อสุขภาพได้มากขึ้น เช่น อาหารและเครื่องดื่มที่มีปริมาณโซเดียม และน้ำตาลน้อยลง เป็นต้น

นอกจากนี้การเข้าสู่ยุคดิจิตอล สามารถเริ่มได้จากส่วนของหลังบ้านอย่างการจัดการข้อมูลด้วยเอไอ ดาต้าเซ็นเตอร์ การใช้เทคโนโลยีคลาวด์มาช่วยจัดการฟาร์ม รวมถึงการพัฒนาต่อยอดจากการที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของโลก เราสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าของเราได้ด้วยใส่ระบบหุ่นยนต์เพิ่มเข้าไป เช่น การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่ใช้เทคโนโลยีในการทำงาน ที่พร้อมจะเปลี่ยนชีวิตคนให้ดีขึ้น สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เริ่มต้นจากสิ่งที่เรามีไปก่อนได้

คุณเดช เสริมว่า การผสมผสานของซอฟต์แวร์ เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้ เช่น การใช้ซอฟต์แวร์ในการจัดการและลดข้อมูลซ้ำซากจำนวนมหาศาล ก็ช่วยให้กระบวนการในการทำงานต่างๆ รวดเร็วได้มากขึ้น เป็นสิ่งที่สามารถเริ่มทำได้ทันทีในตอนนี้เช่นเดียวกัน

ปิดท้ายที่คุณธีรนันท์ แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า การได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐในการช่วยเจรจาต่อรองนำคนเก่งๆ จากบริษัทใหญ่ๆ เข้ามาสอนคนไทย ก็จะช่วยให้คนไทยได้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ เพื่อวางรากฐานการผลิตของไทยให้เข้าสู่ยุคดิจิตอลอย่างแข็งแรง

และเพื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ทักษะภาษาอังกฤษเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน แม้จะเป็นการเริ่มต้นจากสตาร์ทอัพเล็กๆ และเป็นไปอย่างช้าๆ แต่รับรองว่าเราจะสามารถก่อร่างสร้างฐานการใช้เทคโนโลยีในภาคธุรกิจของไทยได้อย่างมั่นคง พร้อมให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของอาเซียนในอนาคตได้อย่างแน่นอน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า