Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ในโลกที่การเชื่อมต่อไร้พรมแดน การแต่งงานย่อมไร้พรมแดนไปด้วย ปรากฎการณ์หญิงไทยแต่งงานกับสามีต่างชาติไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไป แต่เรารู้จักประชากรกลุ่มนี้มากน้อยแค่ไหน หรือเข้าใจผิดมาตลอด

ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ชวนมาเปิดงานวิจัยที่ศึกษาสาวไทย ‘แฟนฝรั่ง’ โดยเฉพาะกัน

“หลายปัจจัย ไม่ใช่แค่เงิน”

ปฏิเสธไม่ได้ว่าภาพจำของสังคมส่วนใหญ่มองว่าการแต่งงานข้ามสัญชาติมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นหลักไม่ได้เกิดมาจาก “ความรัก” ตามค่านิยมรักโรแมนติก

แต่งานวิจัยเรื่อง “ไม่ใช่เพียงเพราะเงิน: การแต่งงานข้ามชาติของผู้หญิงอีสาน” ของดร.พัชรินทร์ ลาภานันท์ ที่ลงพื้นที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี แล้วสัมภาษณ์เชิงลึกคู่รักต่างสัญชาติ พิสูจน์ว่าเราเหมารวมอย่างนั้นไม่ได้เพราะมีเหตุผลมากมายซับซ้อนกว่านั้น


ส่วนหนึ่งก็มีเรื่องเศรษฐกิจเข้ามาเกี่ยวข้องจริง แต่การตัดสินใจแต่งงานก็เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ต้องการให้ลูกได้รับการศึกษา หรือครอบครัวสนับสนุนให้แต่งงาน

นอกจากนี้ผู้หญิงหลายคนที่เข้าร่วมการวิจัยมีลักษณะร่วมกันคือเคยแต่งงานกับชายไทยมาก่อน แต่ต้องเลิกร้างกันเพราะฝ่ายชายมีปัญหานอกใจ ติดสุราและการพนัน ตลอดจนไม่เลี้ยงดูส่งเสียลูก ผลักภาระให้ฝ่ายหญิงต้องทำงานหนักคนเดียว พวกเธอเชื่อว่าการแต่งงานกับชายตะวันตกจะทำให้มีชีวิตครอบครัวที่สมบูรณ์ ทำกิจกรรมชุมชนและใช้เวลาร่วมกัน

ที่น่าสนใจคือพบว่า แม้แต่ผู้หญิงที่มีหน้าที่การงานมั่นคงและมีการศึกษาสูงในหมู่บ้านก็ตัดสินใจแต่งงานกับชาวต่างชาติ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการได้รับการศึกษาสูงทำให้หาคู่แต่งงานที่เหมาะสมในท้องถิ่นได้ยาก และพวกเธอได้รับค่านิยมสมัยใหม่ ทำให้แม้ฝ่ายชายจะออกตัวว่าไม่ได้มีทรัพย์สินมากมายเธอก็บอกเขาว่า “ไม่เป็นไร” โดยบอกว่าเพียงแค่ดูแลกันก็พอแล้ว

ขณะที่บางคนก็เผยว่าส่วนหนึ่งเพราะต้องการมีลูกเป็น ‘ลูกครึ่ง’ แม้จะผ่านการแต่งงานที่ไม่ประสบความสำเร็จกับชาวต่างชาติมาแล้วก็ยังต้องการจะสมรสกับชาวต่างชาติอยู่ดี
.
ผู้วิจัยสรุปว่า “คำอธิบายภายใต้กรอบคิดขั้วตรงข้าม (เงินตราและความรักโรแมนติก) ไม่สามารถสะท้อนถึงความหลากหลายและซับซ้อนของเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ รวมทั้งความหมายของการแต่งงานสำหรับหญิงชายเหล่านี้”

แม้ปัจจัยต่าง ๆ จะดูแล้วไม่ใช่ ‘ความรัก’ ในสายตาของสังคม แต่ผู้เข้าร่วมวิจัยรายหนึ่งก็ยืนยันว่าเธอพบ “รักแท้” แน่แล้ว

อ่านงานวิจัยเต็ม ๆ ได้ที่ :
Patcharin Lapanun. 2012. “It’s Not Just About Money: Transnational marriages in a Northeast Thai Village.” Journal of Mekong Societies 8 (3) : 1-28.

“ไม่ได้สบายเสียทั้งหมด-ต้องทำงานเหมือนกัน”
หลังจากอ่านงานวิจัยก่อนหน้าที่พิสูจน์ว่าเงินไม่ใช่ทุกอย่างในการแต่งงาน ทีมข่าวเวิร์คพอยท์พบงานวิจัยอีกชิ้นที่พิสูจน์ว่าการแต่งงานกับชาวต่างชาติไม่ได้ทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้นเสมอไป

งานวิจัยเรื่อง”เศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของครัวเรือนผู้หญิงที่สมรสข้ามวัฒนธรรมในชนบทอีสาน” ของทิพย์สุดา ปรีดาพันธุ์ ผศ.ดร.ดุษฎี อายุวัฒน์ และ รศ.ดร.ศิริรัตน์ แอดสกุล สัมภาษณ์ครอบครัวข้ามวัฒนธรรมในหมู่บ้านจังหวัดขอนแก่น ทั้งหมด 10 ครอบครัว

ผลที่พบสามารถจำแนกออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน
1) มีครัวเรือนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ดีขึ้นมาก มีรายได้เพิ่มขึ้น มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น มีการออม และไม่มีหนี้สิน
2) ครัวเรือนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ดีขึ้นค่อนข้างมาก มีรายได้เพิ่มขึ้น มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ไม่มีหนี้สิน แต่ไม่มีการออม
3) ครัวเรือนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ดีขึ้นเล็กน้อย คือรายได้เพิ่มขึ้น ไม่มีหนี้สิน ไม่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นและไม่มีการออม

งานวิจัยนี้ชี้ว่าเงื่อนไขที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงของฐานะต่างกันมีอยู่สองอย่าง คือพื้นฐานอาชีพของสามีชาวตะวันตกที่ส่งผลต่อปริมาณเงินสวัสดิการเกษียณอายุ และขึ้นอยู่กับว่าสามีชาวตะวันตกกลับมาอาศัยอยู่ที่ไทยถาวรหรือไม่

งานวิจัยยังชี้ว่า ผู้หญิงที่สมรสข้ามวัฒนธรรมบางคนที่เข้าร่วมการวิจัยก็มีการลงทุนประกอบธุรกิจต่าง ๆ เช่น รีสอร์ท ร้านอาหาร ร้านค้า เป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งที่ทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจของครองครัวดีขึ้น และหากผู้หญิงมีการศึกษาสูงมีรายได้ประจำก็มีการพึ่งพารายได้จากสามีน้อยกว่าผู้หญิงที่ได้รับการศึกษาต่ำกว่า

อ่านงานวิจัยเต็ม ๆ ได้ที่ :
ทิพย์สุดา ปรีดาพันธุ์, ดุษฎี อายุวัฒน์, และ ศิริรัตน์ แอดสกุล. 2558. “เศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของครัวเรือนผู้หญิงที่สมรสข้ามวัฒนธรรมในชนบทอีสาน” วารสารวิจัย มข. มส. (บศ.) 3 (1) : 12-23.

สองชิ้นที่เสนอมาคืองานวิจัยที่มีกลุ่มตัวอย่างเป็นสาวอีสาน แต่ถ้าดูงานวิจัยชิ้นอื่น ๆ เช่นเรื่อง กระบวนการกลายเป็นเมียฝรั่งภายใต้บริบทและสังคมวัฒนธรรมในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา หรืองานวิจัยที่ชื่อ ศึกษาชีวิตสมรสของผู้หญิงไทยที่แต่งงานกับชาวต่างชาติ ในเขตจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ก็จะเห็นว่าความจริงภรรยาชาวต่างชาติก็ไม่จำเป็นต้องมาจากภาคอีสานเสมอไปอีก

ในตอนนี้เราก็จะเห็นปรากฎการณ์อย่าง “สาย ฝ.”เกิดขึ้น กลายเป็นวัฒนธรรมที่มากับการเชื่อมต่อทางเทคโนโลยี น่าสนใจว่าสุดท้ายแล้วการที่ใคร ‘ชอบฝรั่ง’ หรือมีความรักกับชาวชนชาติใดชนชาติหนึ่งก็อาจจะเป็นรสนิยมส่วนบุคคล อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับว่ามาจากภูมิภาคไหน หรือมีฐานะชนชั้นยังไงอีกต่อไป

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า