SHARE

คัดลอกแล้ว

ททท. เล็งทบทวนแผนเปิด 10 จังหวัดนำร่อง หลังเตรียมเปิดเดือน ต.ค. นี้ ชี้ ‘กทม.-พัทยา-ชลบุรี’ เป็นไปได้ยาก เนื่องจาก เนื่องจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังรุนแรง

วันที่ 24 ก.ค. 2564 นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ตามแผนการเปิด 10 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ประจวบคิรีขันธ์ เพชรบุรี ชลบุรี ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา และบุรีรัมย์ เพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งตั้งเป้าเปิดทั้ง 10 จังหวัด ให้ได้ภายในเดือน ต.ค. 2564 หากประเมินจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศ ที่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่พุ่งสูงในหลักหมื่นคนอย่างต่อเนื่อง คงต้องหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับแผนเดินหน้าจังหวัดนำร่องต่อไป โดยเฉพาะการเปิด กรุงเทพฯ ประจวบคิรีขันธ์ เพชรบุรี และชลบุรี ที่ประเมินแล้วเป็นไปได้ยาก เนื่องจากการระบาดททท. เล็งทบทวนแผนเปิด 10 จังหวัดนำร่องขณะนี้ยังไม่สามารถควบคุมได้ และผู้ติดเชื้อในจังหวัดเหล่านี้อยู่ในระดับสูง รวมทั้ง ผู้ได้รับวัคซีนในพื้นที่ยังค่อนข้างน้อย

ส่วน จ.บุรีรัมย์ เดิมที่เลือกเป็นจังหวัดนำร่อง เพราะมีเงื่อนไขผูกกับการจัดงานโมโต จีพี เมื่อมีการเลื่อนการจัดงานไปแล้ว คงต้องรอนโยบายว่าจะเดินหน้าต่อหรือไม่อย่างไร ซึ่งเมื่อทบทวนและปรับแผนแล้วเสร็จ จะต้องนำรายละเอียดแผนใหม่ทั้งหมดนำเสนอเข้าที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ (ศบศ.) เพื่อพิจารณาอีกครั้ง

ทั้งนี้ ในที่ประชุม ศบศ. ได้เสนอให้ประเมินพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ร่วมด้วย อาทิ ภาคตะวันออก ในพื้นที่เกาะหมาก เกาะกูด ซึ่งจะต้องศึกษาความเป็นไปได้ และนำมาปรับกับแผนเดิมที่วางไว้ โดยเฉพาะการผ่านเงื่อนไขของแผนกระจายวัคซีนที่ต้องทำให้ได้ตามแผนเท่านั้น จึงจะสามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ ทำให้ภายในเดือน ต.ค. นี้ จะสามารถเปิดจังหวัดนำร่องได้ครบ 10 จังหวัดตามกำหนดหรือไม่นั้น ยังต้องทบทวนแผน รอความชัดเจน และประเมินสถานการณ์ก่อน

โดยการเปิดพื้นที่รับต่างชาติ จะต้องประเมินจากความพร้อมในเชิงพื้นที่เป็นหลัก รวมถึงแผนเปิดเมือง 5 ด้าน ได้แก่

1. แผนกระจายวัคซีน ที่ต้องฉีดให้กับคนในชุมชนอย่างน้อย 70% เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่
2. แผนการพัฒนาเมือง ที่ต้องแก้ปัญหาหรือจุดอ่อนของแต่ละพื้นที่ เพื่อเป็นเหตุผลทำไมจึงเลือกจังหวัดดังกล่าว และทำไมต้องจัดสรรวัคซีนให้จังหวัดเหล่านี้ก่อน
3. แผนการตลาด ซึ่งททท.จะศึกษาและวางแผนในการดำเนินการ อาทิ การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย การทำตลาดในประเทศต้นทางที่มีความน่าสนใจ
4. แผนการสื่อสาร ซึ่งมีความสำคัญมาก เนื่องจากจะต้องทำความเข้าใจกับคนในพื้นที่และใกล้เคียง ว่าทำไมต้องเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ มีความเสี่ยงที่ยอมรับได้อยู่ในระดับใด และหากเกิดเหตุที่ไม่สามารถควบคุมได้ จะมีการช่วยเหลือเยียวยาอย่างไรบ้าง โดยจะต้องได้รับความยินยอมจากคนในพื้นที่ก่อน
5. แผนเผชิญเหตุ เพื่อกำหนดระดับของจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ จะต้องอยู่ที่เท่าใดจึงจะต้องทบทวนแผนใหม่ หรือถึงขั้นชะลอการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

สำหรับ การปรับรูปแบบเชื่อมโยงการท่องเที่ยว (7+7) ใน 3 จังหวัด ได้แก่ โครงการสมุย พลัส โมเดล ในพื้นที่เกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี โครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์แล้ว และพื้นที่เกาะพีพี เกาะไหง และไร่เลย์ จังหวัดกระบี่ โดยปรับจากเดิมที่กำหนดให้นักท่องเที่ยวอยู่ภูเก็ตให้ครบ 14 วัน เหลือ 7 วัน และต้องตรวจหาเชื้อ 2 ครั้ง จากนั้นสามารถเดินทางท่องเที่ยวและพำนักในเกาะอื่นๆ ที่กำหนดไว้ได้ เป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน จึงจะสามารถเดินทางเที่ยวได้ทั่วประเทศ ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 1 สิงหาคมนี้ แต่กว่าจะเริ่มจริงๆ ต้องเป็นวันที่ 8 เป็นต้นไป เพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติจะต้องอยู่ภูเก็ตให้ครบ 7 วันก่อน โดยขณะนี้นักท่องเที่ยวต่างชาติจะตั้งต้นอยู่ที่ภูเก็ตใน 7 วันแรกเท่านั้น เพราะจังหวัดอื่นๆ ยังไม่มีเที่ยวบินตรงเข้า

ส่วน จ.พังงา ที่จะเปิดพื้นที่เขาหลัก เกาะยาวน้อย และเกาะยาวใหญ่ ขณะนี้ติดที่แผนกระจายฉีดวัคซีน เพราะยังต้องการวัคซีนประมาณ 63,000 โดส ฉีดให้กับคนในพื้นที่โดยเฉพาะในเขาหลัก จึงยังต้องประเมินว่า จะสามารถฉีดวัคซีนได้ตามแผนที่วางไว้หรือไม่ เพราะหากไม่สามารถทำตามแผนกระจายวัคซีนได้ ก็ไม่สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในรูปแบบการท่องเที่ยวระหว่างเกาะในเดือน ส.ค. นี้ได้ เนื่องจากจะทำให้คนในพื้นที่มีความเสี่ยงมากขึ้น

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า