SHARE

คัดลอกแล้ว

ทรีนีตี้’ แนะนำการลงทุนช่วงโค้งสุดท้าย เก็บหุ้นปันผลรับฟันด์โฟลว์ไหลเข้าปีหน้า มองปี 2567 หุ้นไทยชนะหุ้นโลก หลังปีนี้ผลตอบแทนติดลบ 13% ฟันด์โฟลว์ไหลออก 1.7 แสนล้าน

ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด เปิดเผยถึงทิศทางการลงทุนโค้งสุดท้ายของปีว่า ตลาดหุ้นทั่วโลกจะผันผวนสูงมากในช่วงสั้น กระแสเงินลงทุน (Fund Flow) ยังคงไหลออกจากตลาดพันธบัตร และตลาดหุ้นทั่วทั้งภูมิภาค โดยมีสินทรัพย์เสี่ยงตอบสนองต่อข่าวทุกอย่างเป็นข่าวร้าย

ซึ่งในเชิงของการโยกสินทรัพย์ลงทุน (Asset Allocation) ในช่วงสั้น 1-2 เดือน แนะนำลงทุนให้ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น หรือเทอมฟันด์ และหาจังหวะลงทุนในหุ้นไทยที่มีปันผลสูง เนื่องจากราคาหุ้นได้ลดลงมากแล้วทำให้หุ้นที่มีปันผลสูงจะได้รับฟันด์โฟลว์ไหลเข้า เมื่อเหตุการณ์ตะวันออกกลางคลี่คลาย

ในเชิงของหุ้นที่จะปรับตัวขึ้นโดดเด่น (Outperform) จะมีลักษณะปรับขึ้นได้ต่ำกว่าเพื่อน (Low Beta), เงินปันผลในอนาคตสูง (Forward Dividend) และราคาต่อกำไร (P/E) ต่ำ

ในปี 2566 ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนติดลบกว่า 13% เนื่องจากต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นผ่านการขึ้นดอกเบี้ยหลายๆ ครั้งของธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลก จะทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ (Bond Yield) สูงสุดในรอบกว่า 10 ปี

สภาพคล่องภายในที่ลดลงอย่างมาก ความไม่มีเสถียรภาพของปัจจัยทางการเมืองในช่วงครึ่งปีแรก ความตึงเครียดของภูมิรัฐศาสตร์ ส่งผลให้นักลงทุนต่างประเทศขายหุ้นไทยกว่า 1.7 แสนล้านบาท เกือบ 84% ของเม็ดเงินที่ไหลเข้าในปี 2565 แต่ซื้อพันธบัตรเบาบางแค่ 2 หมื่นล้านบาท

ดร.วิศิษฐ์ กล่าวว่า สำหรับทิศทางตลาดหุ้นในปี 2567 มีมุมมองต่อตลาดหุ้นไทยที่เป็นบวก จากมูลค่า (Valuation) ในมูลค่าทางบัญชีล่วงหน้า (Forward P/Book Value) ที่ถูกเป็นอันดับ 3 ในรอบ 15 ป

การเติบโตของ GDP ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกเติบโตลดลง ดอกเบี้ยทั่วโลกเริ่มถึงจุดอิ่มตัว และจะปรับตัวลดลงในกลางปี 2567 บริษัทจดทะเบียนมีกำไรต่อหุ้นที่เติบโตกว่า 15% ในปี 2567 เมื่อเปรียบเทียบติดลบ 5% ในปี 2566

หุ้นไทยจะ Outperform หุ้นโลก เนื่องจาก 1. การเติบโตของเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยจะดีกว่าค่าเฉลี่ยหุ้นโลก 2. Valuation หุ้นไทยยังคงไม่แพงในแง่ราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชี และในเชิงส่วนต่างผลตอบแทน (Earning Yields Gap) (ส่วนกลับของ P/E กับผลตอบแทนพันธบัตร)

โดยคาดการณ์ดัชนี SET (SET Index) เป้าหมายในปี 2567 ที่ระดับ 1650 โดยอาศัยสมมติฐานกำไรต่อหุ้น (EPS) ปี 2568 ที่ 113 บาท และ Bond Yields 10 ปีที่ 3.3% แต่ถ้าเป็นค่า P/E ล่วงหน้า (Forward P/E) ที่ 13.4x และดอกเบี้ย RP ที่ 2.25% จะได้ดัชนีเป้าหมายที่ 1560

‘ปีหน้านักลงทุนต่างชาติ จะขายตลาดหุ้นไทยน้อยลง เนื่องจากปี 2566 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยกว่า 1.6-1.7 แสนล้านบาท หลังจากเป็นฝ่ายซื้อสุทธิกว่า 2 แสนล้านบาทในปี 2565 ถือได้ว่านักลงทุนต่างชาติเป็นฝ่ายขายสุทธิกว่า 8 แสนล้านบาทในรอบ 13 ปี ตั้งแต่การใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เป็นต้นมา’

นอกจากนี้ มองว่า ในปี 2567 นักลงทุนจะเป็นฝ่ายซื้อตราสารทุนสุทธิ แต่จะขายตราสารหนี้สุทธิ โดยปัจจุบันนักลงทุนต่างชาติถือพันธบัตรไทยประมาณ 9.4 แสนล้านบาท หรือ 11.6% และน้ำหนักของพันธบัตรประเทศไทยในดัชนี JP Morgan Local Government Bond Index (GBI-EM GD) อยู่ที่ 10%

แต่ในช่วงระยะเวลา 10 เดือน นับตั้งแต่ 28 มิถุนายน 2567 น้ำหนักของพันธบัตรประเทศอินเดียจะถูกรวมเข้าคำนวณในดัชนี อาจจะทำให้ Fund Flow ออกจากพันธบัตรไทย 1.7 แสนล้านบาท เพื่อถูกแทนที่โดยน้ำหนักการลงทุนของพันธบัตรประเทศอินเดีย

สำหรับการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางต่างๆ ได้ถึงจุดสูงสุดแล้ว มองดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐ (Fed Fund Rate) ว่า จะเริ่มจะลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% ในไตรมาส 3 ปีหน้า เมื่อ Fed หยุดการขึ้นดอกเบี้ย ตลาดหุ้นจะให้ผลตอบแทนในทางบวก

ในเอเชียรวมทั้งในประเทศไทยมองเงินเฟ้อปี 2567 เริ่มกลับสู่ระดับ 2% ใกล้เคียงกับระดับการเกิดโควิด-19 และเริ่มกลับสู่ระดับที่สบายใจของธนาคารกลางทั่วเอเชีย ซึ่งเป็นภาวะที่เปลี่ยนจากเงินเฟ้อสู่ระดับเงินเฟ้อต่ำ (Low-flation)

ในส่วนของ Bond Yields พันธบัตรของสหรัฐฯ มองว่าจะเข้าสู่ระดับสูงสุด (Peak) ในไตรมาส 4 เช่นเดียวกัน Fed Fund ของสหรัฐฯ จะถึงจุดสูงสุดในไตรมาส 4 ปี 2566 ส่วนราคาน้ำมันที่ระดับราคา 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จะนำไปสู่การทำลายอุปสงค์ (Demand Destruction) หรือภาวะน้ำมันแพงนำไปสู่การใช้น้ำมันที่ลดลง

ส่วนค่าเงินดอลลาร์ อยู่ในโซนราคาแพงหรือมูลค่าเกินความเป็นจริง แต่จะยังคงอยู่ในระดับสูงอยู่ แต่การปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและเงินเฟ้อที่ชะลอตัวจะเป็นไปอย่างช้าๆ

[ ปัจจัยบวก ]

1) คาดการณ์การเติบโตของกำไรต่อหุ้นหรือ EPS ของหุ้นไทยเติบโตที่ 15% ในปี 2567 สู่ระดับ 113 บาทต่อหุ้น จากที่เติบโตติดลบ -5.4% ในปี 2566

2) มีโอกาสมากกว่า 60% ที่ Fed Fund Rate ถึงจุดสูงสุดไปแล้วที่ 5.25-5.5% และมีโอกาสต่ำกว่า 40% ที่ Fed อาจจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง ในช่วงเดือน ธ.ค. 2023

3) คาดการณ์ GDP ไทยเติบโตที่ 3.6% ในปี 2024 เมื่อเปรียบเทียบกับ 3% ในปี 2023 ในขณะที่ประเทศอื่น เช่น จีน สหรัฐ ยุโรป ต่างมีการเติบโตที่ถดถอยในปี 2024 เมื่อเปรียบเทียบ 2023

4) ธปท.มีมุมมองเชิงบวกเพิ่มขึ้นอย่างมากต่อแนวโน้มอุปสงค์ภายในประเทศ สาเหตุหลักจากมาตรการลดค่าครองชีพและมาตรการกระตุ้นการบริโภค

5) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่แท้จริง (เมื่อลบเงินเฟ้อแล้ว) หรือ Real Bond Yields ของไทยจะสูงกว่าของสหรัฐเกือบ 0.5% ค่าเงินบาทอาจจะแข็งค่าขึ้น

[ ปัจจัยลบ ]

1) อัตราผลตอบแทนเงินปันผลของตลาดหุ้นต่างๆทั่วโลก ยังต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ การที่ตลาดหุ้นทั่วโลกจะปรับขึ้นได้ Bond Yield 10ปี สหรัฐจะต้องปรับตัวลดลงสู่ระดับ 3% ต้นๆ จากระดับปัจจุบันเกือบ 5%

2) มาตรวัดความเสี่ยงตลาดหุ้นผ่าน VIX index บ่งบอกว่าตลาดหุ้นโลกยังไม่ได้ Pricing ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างเต็มที่ (ยังไม่ถึงครึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับตัวชี้วัดสมัยโควิด-19)

3) ความไม่สงบสุขในตะวันออกกลางถ้ายืดเยื้อ และเป็นสาเหตุให้ราคาน้ำมันทะลุ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเหมือนปี 2554 อาจจะเป็นสาเหตุให้หุ้นในตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ปรับตัวลดลง 9% ใน 12 เดือน

4) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านดิจิทัลวอลเล็ตอาจจะทำให้ Bond Yields ในไทยสูงขึ้น

[ ปัจจัยที่เป็น Unknown ]

1) ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปลายปี 2567 ซึ่งจะมีผลต่อทิศทางภูมิรัฐศาสตร์ของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับไต้หวัน

2) โอกาสที่การสู้รบระหว่างฮามาสและอิสราเอลที่จะขยายวง กลุ่มที่เป็นปฏิปักษ์กับอิสราเอล เช่น Hezballoh เข้าร่วมและอาจนำไปสู่สงครามตัวแทนระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน เศรษฐกิจโลกเปราะบางเกินกว่าที่จะรับมือสถานะ ‘สองสงคราม’

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า