Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์ (AI) ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วและเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาธุรกิจต่อยอดการทำงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าจับตามองอย่างมาก แต่การพัฒนาขึ้นไปของ AI ยังอยู่ท่ามกลางความกังวลของผู้คนมากมาย

‘ทรู คอร์ปอเรชั่น’ จึงมุ่งผลักดัน AI สู่สังคมไทยอย่างมีคุณภาพ ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและสนับสนุนการใช้ AI อย่างมีจริยธรรม พร้อมสะท้อนมุมมองให้เห็นได้ว่า AI ไม่ได้เข้ามาแทนที่คน แต่จะเข้ามาทำงานร่วมกับคนต่างหาก

[ AI เพิ่มขีดความสามารถ แต่ต้องใช้อย่างมีจริยธรรม ]

‘ชารัด เมห์โรทรา’ รองประธานคณะผู้บริหาร และผู้บริหารที่ดูแลงาน Digitalization และ Transformation บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  อธิบายว่า ปัจจุบันขณะที่หลายๆ คนกังวลเรื่องการเข้ามาของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI แต่จริงๆ แล้วผู้ที่ใช้ AI สนับสนุนในการทำงานกลับมีเวลาเหลือมากขึ้นถึง 40% AI จึงกำลังเติบโตได้ดีในหลายประเทศ อาทิ สิงค์โปร์ จีน สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และประเทศในภูมิภาคยุโรป

ส่วนประเทศไทยเองก็จำเป็นที่จะต้องนำ Al เข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงานมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในหลายๆ อุตสาหกรรม

ปัจจุบัน AI พัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็วและเข้ามามีส่วนสำคัญในการต่อยอดการทำงาน แต่ระบบของ AI ที่ดีจะต้องพัฒนาควบคู่ไปกับแนวทางจริยธรรม ความปลอดภัย รวมถึง AI จะต้องมีประสิทธิภาพและถูกนำมาใช้อย่างยั่งยืน

‘ทรู คอร์ปอเรชั่น’ เป็นโทรคมนาคมรายแรกของไทยที่นำแชตบอต AI เข้ามาประยุกต์ใช้กับบริการของลูกค้า โดยแชตบอต AI นี้มีชื่อว่า ‘มะลิ มาช่วย’ ซึ่งสามารถช่วยจัดการธุรกรรมได้ 150,000 รายการต่อเดือน มีความแม่นยำมากถึง 91% สามารถให้คำแนะนำเบื้องต้นกับลูกค้า ซึ่งช่วยลดระยะเวลาในการจัดการลงถึง 35%

รวมถึงการนำ AI เข้ามามีส่วนในการทำให้เกิดศูนย์บริการลูกค้าทรูและดีแทคแบบไร้กระดาษ (Paperless) 100% ในปี 2566 และตั้งเป้าปี 2570 จะใช้ระบบอัตโนมัติ 100% ในงานพื้นฐานประจำวัน

นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดเป้าหมายจัดฝึกอบรม ‘Citizen Developer’ นักพัฒนาที่เป็นพนักงานจำนวน 200 รายจำนวน 200 รายในปี 2570 ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปที่อาจไม่ได้มีทักษะในการพัฒนาโปรแกรมสามารถสร้างระบบดิจิทัลได้

‘ชารัด’ เล่าต่อว่า เนื่องจาก AI เข้ามามีส่วนในการประมวลข้อมูลและมีผลต่อการตัดสินใจ ซึ่งอาจเกิดความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อสังคมได้ ‘ทรู คอร์ปอเรชั่น’ จึงให้ความสำคัญในเรื่องของกฎบัตร AI และกำหนดหลักการ 4 ประการในการใช้งานอย่างมีจริยธรรม ได้แก่

1.จรรยาบรรณที่ดี (Good Intent): ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ควรใช้เพื่อสร้างประโยชน์ต่อมนุษย์เท่านั้น

2.ความเป็นธรรมและลดอคติ (Fairness and Bias Mitigation): ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อการใช้งาน

3.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ (Data Privacy and AI Functionality): ควรคุ้มครองสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย

4.ความโปร่งใส (Transparency) : การตัดสินใจของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ต้องสามารถอธิบายได้

[ ไทยขาดบุคลากรด้าน AI ต้องเร่งสร้างความพร้อม ]

‘ดร.ชนนิกานต์ จิรา’ หัวหน้า ทรู ดิจิทัล อคาเดมี อธิบายว่า หนึ่งในพันธกิจหลักที่สำคัญของทรู ดิจิทัล กรุ๊ป คือการสนับสนุน Digital Transformation รวมถึงสร้างโอกาส สร้างความเสมอภาค และสร้างการพัฒนาผ่าน AI ให้กับองค์กรและบุคลากรทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

ที่ผ่านมา ‘ทรู คอร์ปอเรชั่น’ ได้นำ AI เข้ามาช่วยพัฒนาศักยภาพในแต่ละอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มค้าปลีก เกษตรกรรม และสุขภาพ โดยผสานข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT การใช้งาน 5G และการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine learning) เข้าด้วยกันเพื่อการใช้งานรูปแบบต่างๆ 

นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาโซลูชั่นที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ของแต่ละองค์กร ทั้ง Data Analytics, Cyber Security และ Blockchain

ดร.ชนนิกานต์ กล่าวต่อว่า เห็นได้ชัดว่า ‘ทรู คอร์ปอเรชั่น’ มีความพร้อมในการสนับสนุนและช่วยพัฒนาองค์กรไปสู่โลกของ AI แต่มีอีกเรื่องที่ยังเป็นสิ่งที่ท้าทายมากๆ คือ ‘ความพร้อมของกำลังคน’ 

ข้อมูลจาก World Economy Forum ระบุว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า 44% ของสกิลการทำงานจะเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้รองรับการเติบโตของ AI 

ขณะเดียวกันในรายงานแผนเอไอแห่งชาติ ประจำปี 2566 ระบุว่า ประเทศไทยมีความพร้อมในการพัฒนาบุคลากรด้าน AI เพียง 39% เท่านั้น ซึ่งค่อนข้างน่ากังวล 

ดังนั้น สิ่งสำคัญคือการสร้างความพร้อมให้คนและ AI ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง 3 สิ่งที่จำเป็นต้องพัฒนาให้กับคนคือ ความเข้าใจในเทคโนโลยี AI การมีความคิดสร้างสรรค์ที่มาพร้อมกับการมีวิจารณญาณ และความยืดหยุ่นในการรับความเปลี่ยนแปลง

ที่ผ่านมาสิ่งที่ ‘ทรู คอร์ปอเรชั่น’ ได้ทำเพื่อสนับสนุนองค์กรสำหรับพัฒนาบุคลากร มีด้วยกัน 3 เรื่องคือ Skill assessment, Learning program, Talent pipeline ผ่านการทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัย, องค์กรภาครัฐ และร่วมงานกับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ เพื่อทำศึกษาแนวโน้มการทำงานและความต้องการของ AI ในอนาคตมากขึ้น 

[ เปิดใจมอง AI ให้เป็นโอกาสไม่ใช่ศัตรู ] 

‘ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์’ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA  ให้อีกมุมมองว่า AI มาพร้อมกับโอกาสและความเสี่ยง จึงต้องมีการติดตามและกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด  การกำกับดูแล AI ในประเทศไทยถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ แต่เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ เพื่อให้การประยุกต์ใช้ AI ในทุกภาคส่วนมีความเสี่ยงและผลกระทบเชิงลบต่อผู้ใช้งานน้อยที่สุด

นอกจากนี้ ในการทำงานร่วมกันระหว่างคนและ AI สิ่งที่จำเป็นคือการสร้างความรู้ความเข้าใจควบคู่ไปกับความเสี่ยงและโอกาสให้ทุกคน ซึ่งน่าจะช่วยให้ความกังวลที่ AI จะเข้ามาแย่งงานให้ลดน้อยลงไป

‘ผศ. ดร.จิตร์ทัศน์ ฝักเจริญผล’  อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  เสริมว่า การพัฒนาและนำระบบ AI มาใช้โดยไม่ระมัดระวังอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงได้ องค์กรต่างๆ จึงควรคำนึงถึงหลักการที่จะนำมาใช้งาน เช่น ความเป็นธรรมและความโปร่งใสในการลงทุนพัฒนา AI เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

แต่การสร้างบุคคลกรที่มีความชำนาญยังเป็นเรื่องที่ท้าทายและเป็นโจทย์ใหญ่ของประเทศไทย ซึ่งทักษะสำคัญที่จำเป็นต้องสร้างและควรเพิ่มลงในหลักสูตรการศึกษา คือ ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ รวมถึงทักษะความคิดสร้างสรรค์และการปรับตัว เพื่อสร้างพื้นฐานความเข้าใจการทำงานของ AI 

‘มนตรี สถาพรกุล’ หัวหน้าสายงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ยืนยันว่า แม้ปัจจุบันประเทศไทยจะยังไม่ได้มีข้อกำกับดูแลที่ชัดเจนสำหรับ AI แต่ ‘ทรู คอร์ปอเรชั่น’ ได้ใช้ข้อกำกับโดยยึดจากการใช้ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อกำหนดบริบทของการใช้ข้อมูลและให้การใช้ข้อมูลของ AI เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ชอบธรรมมากที่สุด

ในด้านการทำงานที่เปลี่ยนผ่านไปสู่ AI มากขึ้น เป็นสิ่งที่คนทำงานควรรู้และทำความเข้าใจ และใช้ประโยชน์จาก AI เป็นเครื่องมือสนับสนุนการทำงานมากกว่ามองว่า AI จะเข้ามาแย่งงานหรือเป็นคู่แข่ง

‘เรวัฒน์ ตันกิตติกร’ หัวหน้าสายงาน Channel Strategy บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) อธิบายว่า การใช้ AI ทำให้เกิดความกังวลในเรื่องของอคติหรือความไม่เป็นธรรมในการประมวลข้อมูล แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้การประมวลผล AI มีจริยธรรมหรือไร้จริยธรรมขึ้นอยู่คนที่เทรนด์ AI เพราะหากทำตามบริบทที่ถูกต้อง AI ก็จะสามารถประมวลผลออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีจริยธรรมและไร้อคติ 

ขณะที่การใช้ AI ร่วมกับการทำงาน เป็นเรื่องที่องค์กรและพนักงานควรเปิดใจ รวมถึงทำความเข้าใจ เพื่อปรับตัวให้ทันและสร้างความพร้อมในการทำงานร่วมกับ AI ในอนาคต  

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า