SHARE

คัดลอกแล้ว

ในที่สุด ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจาก 60 ประเทศ โดยกำหนดอัตราภาษีพื้นฐานที่ 10% และยังมีภาษีตอบโต้พิเศษเพิ่มอีก ทำให้ไทยถูกขึ้นภาษีภาพรวม 36% ส่วน จีน เพิ่มขึ้นมาอีก 34% จากเดิมที่โดนขึ้นไปก่อนหน้าแล้ว 20% , เวียดนาม 46%, กัมพูชา 49% 

นอกจากนี้ ทรัมป์ยังได้ยกเลิกข้อยกเว้น de minimis ที่อนุญาตให้นำเข้าสินค้าที่มีมูลค่าต่ำกว่า 800 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ค้าปลีกออนไลน์ที่ขายสินค้าในราคาถูก 

สำหรับประเทศไทย การขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ที่อัตรา 36% ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ อย่างแน่นอน ซึ่งมาตรการนี้จะมีผลบังคับใช้ 9 เม.ย.68 

‘TODAYBizview’ สำรวจมุมมองของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ชั้นนำซึ่งเป็นบริษัทการเงินการลงทุนในไทยถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด มองการประกาศเก็บภาษีตอบโต้ทั่วโลก ซึ่งไทยโดนเรียกเก็บภาษีนำเข้าสูงที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ในอาเซียน โดยสัดส่วนการส่งออกไทยไปสหรัฐฯราว 18% ซึ่งหากการส่งออกจากไทยไปสหรัฐฯ ลดลงทุกๆ 1% จะส่งผลให้มูลค่าส่งออกไทยลดลงราว 1.2 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน GDP ไทยราว -0.11%

ขณะที่ในมุมอื่นๆ ที่น่าจะกระทบต่อไทย คือ มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มีโอกาสที่จะไม่เพิ่มขึ้นหรือไม่โดดเด่นเหมือนยุค ทรัมป์ 1.0 เนื่องจากการจงใจขึ้นภาษีทุกประเทศ (การย้ายฐานการผลิตอาจจะไม่มีผล) ซึ่งส่งผลต่อ GDP ที่มีโอกาสลดลง ซึ่งค่าเฉลี่ยแต่ละสำนักเศรษฐกิจก่อนหน้านี้มองอยู่ที่ 2.9%  

ขณะที่กระทรวงพาณิชย์เสนอว่าแผนการรับมือของไทยมีอยู่ด้วยกัน 2 แนวทาง ได้แก่ 

  1. ไทยพิจารณาปรับลดภาษีนำเข้าแต่ละสินค้าลงให้ไม่เกิน 36% คาดจะทำให้ผลขาดดุลการค้าระหว่าง สหรัฐฯ-ไทย ลดลง 3,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  1. ไทยเพิ่มปริมาณสินค้านำเข้าเกษตรจากสหรัฐญเพิ่มขึ้น อาทิ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื้อสัตว์ แอลกฮอล์ ถั่ว เหลือง เศษเนื้อและเครื่องใน เครื่องบิน 

ในด้านของ  บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด ประเมินว่าจากการประกาศเก็บภาษีประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือประเทศที่มีการส่งออกเยอะๆ โดยเฉพาะในแถบเอเชีย 

โดยมองว่าเป้าหมายหลักๆ ของทรัมป์คือต้องการให้แต่ละประเทศเข้าไปเจรจา ซึ่งสำหรับภาษีตอบโต้ที่ประกาศออกมาน่าจะเป็นระดับที่สูงที่สุดแล้ว แต่หากมีการเจรจาคาดว่าอัตราภาษีอาจถูกปรับลดลงมาได้อีก 

ในแง่ของผลกระทบครั้งนี้เทียบได้กับเทรดวอร์ 2.0 แต่ผลกระทบน่าจะรุนแรงและกระทบเชิงโครงสร้างมากกว่าและจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจใหม่ ส่งผลต่อ FDI และการลงทุนในภูมิภาค

สำหรับไทยเรียกได้ว่าสหรัฐฯ เป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย มีสัดส่วนการส่งออกกว่า 18.3% ซึ่งหากดูผลกระทบในเชิงตัวเลขก็จะเห็นว่าการส่งออกอาจจะหดตัวลงต่ำกว่า 1% 

ส่วนในมุมของ GDP ของไทยในปีนี้อาจลงไปแตะ 1% หรือต่ำกว่า โดยเฉพาะในกรณีที่สงครามการค้ายืดเยื้อ ซึ่งไทยเองภาครัฐก็คงต้องเร่งเจรจาทางการค้าให้เร็วขึ้นและอาจจะเห็นภาพการเปิดเสรีทางการค้าในบางกลุ่มสินค้าเพิ่มขึ้น 

หมายความว่าไทยอาจจะจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสินค้าเกษตรหลายรายการที่ไทยได้เก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ สูงและอาจมี Non-tariff barriers ทางการค้าในอดีต

เช่น เนื้อหมู นอกเหนือจากถั่วเหลือง ข้าวโพด ที่เคยประเมินไว้ก่อนหน้านี้ และอาจจะต้องเจรจานำเข้าสินค้าพลังงานหรือสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ เพิ่มขึ้น เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ เครื่องบิน อาวุธ ยาและเวชภัณฑ์อื่นๆ เป็นต้น

ส่วนมุมมองด้าน บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)  ก็มองว่าการที่สหรัฐฯ เก็บภาษีสินค้าไทย 36% สูงกว่าที่ตลาดประเมินที่ราว 10% ซึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย อัดราที่ไทยถูกเก็บถือว่าค่อนไปในทางสูง โดยมีเพียงจีน เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า ที่สูงกว่าเรา ขณะที่ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ได้หวัน อินโดนีเซีย อินเดีย ถูกเก็บในอัดรา 24-32% มองเป็นลบต่อภาคการส่งออกโดยเฉพาะ อิเล็กหรอสิกส์ อาหารสัตว์เลี้ยง ยาง เครื่องดื่มส่งออกนอกจากนี้ คาดว่าภาษีตอบโต้จะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยรุนแรงกว่าที่คาดและอาจนำไปสู่การปรับลด GDP ลงในอนาคต โดยมีโอกาสที่จะเห็นการเติบโตในปีนี้ที่ต่ำกว่า 2% ได้

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ต้องจับตาว่ารัฐบาลไทยจะมีการเจรจากับสหรัฐฯ เพื่อลดระดับอัดราภาษีลงจากระดับกล่าวได้มากน้อยเพียงใด โดยคาดว่าจะต้องมีลดอัดราภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ ลงและนำเข้าเพิ่มขึ้น รวมถึงต้องพิจารณาด้านผลประโยชน์อื่นๆ นอกเหนือจากด้านการค้าร่วมด้วย

มาดูมุมมอง บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด ชี้ให้เห็นแต่ละอุตสาหกรรมที่อาจกระทบ ดังนี้

  1. ยานยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ : มองเป็นลบต่อกลุ่มยานยนต์ โดยประเทศไทยส่งออกรถยนต์ไปสหรัฐคิดเป็น 9% ของการส่งออกรถยนต์ และคิดเป็น 6% ของการผลิตรถยนต์ (AH SAT STANLY NYT) และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ (KCE, DELTA, HANA)
  1. เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ :  มองเป็นลบต่อกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ (DELTA HANA KCE)
  1. ยางและผลิตภัณฑ์ยาง :  มองเป็นลบต่อกลุ่มยางและถุงมือยาง (STA STGT มีส่งออกไปสหรัฐโดยตรง ขณะที่ NER จะได้รับผลกระทบทางอ้อมจากลูกค้าจีนที่ส่งออกยางไปยังสหรัฐ)
  1. สินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าว อาหารสุนัขและแมว ทูน่าและผลิตภัณฑ์ทูน่า กุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้ง มะพร้าวและผลิตภัณฑ์มะพร้าว สัปปะรดกระป๋อง : มองเป็นลบต่อ TU CFRESH COCOCO PLUS MALEE AAI ITC
  1. อัญมณีและเครื่องประดับ : มองเป็นลบต่อผู้ส่งออกเครื่องประดับอย่าง PDJ

ขณะที่ผลกระทบทางอ้อมต่อการลงทุนและเศรษฐกิจไทย อาจส่งผลให้เกิดการชะลอการลงทุนและการชะลอการขอสินเชื่อเพื่อส่งออก และเกิด Sentiment ลบต่อบรรยากาศการลงทุน

  1. นิคมอุตสาหกรรม : มองนโยบายครั้งนี้อาจส่งผลกระทบให้ลูกค้าชะลอการตัดสินใจซื้อที่ดิน ในกรณีที่ร้ายแรงที่สุดอาจส่งผลกระทบต่อ Backlog บางส่วน หุ้น ที่เกี่ยวข้อง AMATA WHA FTREIT (ความต้องการในการเช่าโรงงานและคลังสินค้าลดลง)
  1. ธนาคาร : ส่งผลกระทบทางอ้อมในแง่อัตราการเติบโตของสินเชื่อและคุณภาพสินทรัพย์เล็กน้อย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า