Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ครูแอ๊ะ-กมลลักษณ์ นนทะสร ครูชั้นอนุบาล 3 จากโรงเรียนชุมชนวัดควนมีด อ.จะนะ จ.สงขลา ผู้ให้พลังงานบวกในการใช้ “ความรัก” สร้างความเสมอภาคทางการศึกษาเราจะใช้หัวใจไปดูแนวคิดของครูพร้อมๆ กัน โรงเรียนชุมชนวัดควนมีด คือ 1 ใน 290 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง หรือ TSQP (Teachers & School Quality Program)” ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ที่มุ่งพัฒนาให้เป็นสถานศึกษาต้นแบบลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในมิติคุณภาพโรงเรียนและครู

อาจารย์กมลลักษณ์ บอกว่า “ตอนนี้เราไม่มีเด็กหลังห้องแล้วนะ” แต่ก่อนเคยเบื่อกับวิธีการสอนแบบเดิมๆ ลูกศิษย์ก็จะออกมาเป็นแบบเดิมทุกปี เคยแม้กระทั่งสอนไปวันๆ ก่อนจะกลับมาคิดได้ว่า “มันบาปมั้ย?” ที่ปล่อยปละละเลยเด็กไปแบบนั้น จนเมื่อเวลาผ่านไป พอเราอายุมากขึ้น เลยคิดว่าเขาจะต้องได้คุณค่าอะไรกลับไป

ครูแอ๊ะ นำ “ความรัก” ในตัวลูกศิษย์กลับมาเป็นตัวตั้ง แล้วได้วิธีการสอนแบบ Active Learning จากโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ม.สงขลานครินทร์ หนึ่งในทีมโค๊ชของโครงการ TSQP มาเป็นตัวคูณ มุมมองและทิศทางการสอนของครูก็เปลี่ยนไปเป็นเหมือนโลกอีกใบ

การนำเทคนิค “จิตศึกษา” ถือเป็น “ทางเลือกใหม่” ในการเรียนการสอน นอกจากจะได้ฉีกกรอบเดิมๆ แล้ว ยังได้สร้าง “ความเท่าเทียม” ทางการศึกษาให้เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ในชั้นเรียนอนุบาล แต่เราต้องทำจริง ไม่ใช่ทำเพื่อแค่ได้ทำ แต่ต้องมีผล มีเป้าหมาย ต้องทำให้ได้ ซึ่งการเรียนการสอนแบบจิตศึกษานี้ โดยพื้นฐานแล้วคือ กระบวนการพัฒนาเด็กๆ จาก “ข้างใน” ของจิตใจ ทำให้เกิดการเรียนรู้และความฉลาดทั้งทางด้าน

อารมณ์ (EQ) และความฉลาดด้านจิตวิญญาณ (SQ) เปรียบเสมือนการ “Detox” จิตใจให้โล่ง สบาย ปลอดโปร่ง มีพื้นที่ในใจ มีสมาธิพร้อมก่อนเริ่มเรียนในแต่ละวัน

โดยปกติครูจะทำกิจกรรมง่ายๆ เป็นเวลา 5-10 นาที ก่อนสอน เพื่อให้เด็กๆ นิ่ง พอเด็กนิ่งเขาจะฟังเราได้ดีขึ้น ห้องไม่วุ่นวาย สงบ ดีขึ้น ทำทุกวันซ้ำๆ จนเด็กเกิดความเคยชิน ซึ่งเราจะเปลี่ยนกิจกรรมทุกครั้งที่สอน เช่น ร้องเพลงบ้าง ฟังเพลงบรรเลงบ้าง นั่งสมาธิกำหนดลมหายใจเข้าออกบ้าง บางครั้งเด็กๆ ฟังเพลง “ค่าน้ำนม” แล้วก็คิดตามซึ้งจนร้องไห้ก็มี หรือการฟังนิทานอย่าง “ลูกหมู 3 ตัว” แล้วให้จับใจความว่านิทานเกี่ยวกับอะไร เด็กก็จับใจความสรุปให้เราได้ แต่เด็กๆ ทุกคนต้องเคารพกติกาเดียวกันคือ “ถ้าครูพูดหนูต้องฟัง ถ้าหนูพูดเพื่อนต้องฟัง ถ้าเพื่อนพูดหนูเองก็ต้องฟัง ถ้าไม่เข้าใจ หรือถ้าต้องการจะตอบให้ยกมือ”

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการสอนรูปแบบใหม่จะไม่ได้ผลเลย ถ้าปราศจากความรักของครูเป็นพลังขับเคลื่อนในการเข้าถึงนักเรียน ครูแอ๊ะบอกเราต้องเปลี่ยนบทบาทจาก “ครูผู้นำ” มาเป็น “ครูผู้ตาม” มากขึ้น นั่นคือการให้ความเข้าใจในความแตกต่างของเด็กๆ ไม่ตัดสิน ไม่ปล่อยทิ้ง

“ด้วยความเป็นครู ไม่ว่าเด็กเขาจะเป็นยังไง พร้อมหรือไม่พร้อมที่จะเรียน เราต้องให้โอกาสเขาบางวันอาจจะเหนื่อยหน่อย แต่พี่มีความสุข เมื่อเด็กๆ พี่ทำได้ เราคิดแค่ว่าเขาจะต้องได้คุณค่าอะไรกลับไป รักพวกเขาทุกคน” อาจารย์กมลลักษณ์ กล่าว

อย่างครูมีหัวหน้าแก๊งเด็กซนอยู่คนหนึ่งที่เขาจะสมาธิสั้น เล่นแรง ซึ่งเมื่อก่อนถ้าเขาซนแล้วเราจะดุ แต่เดี๋ยวนี้พอเราได้ลองเป็นผู้ตาม ฟังเสียงหัวใจเขาบ้าง ให้เขาได้พูด ได้แสดงความคิดเห็นบ้าง ฝึกสมาธิเขา เขาก็มีสติขึ้น อยู่กับตัวเองได้มากขึ้น เอาเขามากอด ชื่นชมเขา พอเราเห็นความสำคัญเขามากขึ้น ให้ความใส่ใจเขามากขึ้น เขาก็จะใกล้ชิดกับเรามากขึ้น มีอะไรก็มาเล่าให้เราฟัง ถ้าหัวหน้าแก๊งนิ่ง ลูกน้องก็นิ่งตาม จากแต่ก่อนที่แม่เป็นห่วงถามทางไลน์ว่าเปนไง ตอนนี้ไม่ต้องแล้วค่ะ

ครูแอ๊ะ กล่าวว่า แม้กระทั่งเด็กพิเศษที่เป็นออทิสติกที่ครูเคยเล่าให้ฟัง “ถึงทุกวันนี้ เขาก็กล้าถาม กล้าตอบ จากที่ซน ไม่เอาเรื่อง ก็ได้พฤติกรรมเปลี่ยนไปเลย เพราะเราเริ่มให้ความสำคัญเขา ฟังเขามากขึ้น เขาก็จะภาคภูมิใจ อย่างวันก่อนสอนเรื่องดิน น้ำ น้ำมัน เขาก็ตอบเข้าประเด็นนะ”

“ด้วยความเป็นครู ไม่ว่าเด็กเขาจะเป็นยังไง พร้อมหรือไม่พร้อมที่จะเรียน เราต้องให้โอกาสเขา อย่างของครูมีเด็กในห้อง 23 คน ไม่ว่าใครจะเป็นยังไงเราก็รักหมดนะ ยังไงเราก็ต้องเคี่ยวเข็ญให้เขาขึ้น ป.1 เขียนได้ อ่านได้ในระดับปฐมวัย บางวันอาจจะเหนื่อยหน่อย แต่เรามีความสุข เมื่อเด็กๆ เราทำได้ เราคิดแค่ว่าเขา

จะต้องได้คุณค่าอะไรกลับไป รักพวกเขาทุกคน ตอนนี้ไม่มีเด็กหลังห้องแล้วนะ เพราะทุกคนเก่งในแบบของตัวเอง” ครูแอ๊ะ กล่าว

ครูแอ๊ะ กล่าวอีกว่า แม้จะเข้าโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (TSQP) นี้มาได้แค่ 3 เดือน แต่มันมีความเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เราภูมิใจมาก อย่างวันหยุดที่ต้องไปอบรม แม้จะเหนื่อย แต่ถ้าเด็กๆ เขาทำได้เราก็หายเหนื่อย

ดร.อุดม วงษ์สิงห์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาครู นักศึกษาครู และสถานศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาในปี 2562 มีโรงเรียนสังกัด สพฐ.ประมาณ 290 แห่ง ทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง หรือ TSQP (Teachers & School Quality Program)” โดยกสศ.ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาโรงเรียนใน 3 มิติ คือ1.) ระบบการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ (WHOLE SCHOOL APPROACH) 2.) ระบบการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ที่เกิดจากการปฏิบัติจริงและมีกระบวนการเรียนรู้ที่แตกต่างกันในชั้นเรียน มุ่งให้เกิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และครูสามารถประเมินผู้เรียนได้เป็นรายบุคคลและ 3.)การมีส่วนร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน ในลักษณะเครือข่าย เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียน

ทั้งหมดนี้มุ่งให้เกิดสัมฤทธิผลกับนักเรียนโดยตรง และมีโจทย์ความท้าทาย เช่น การดูแลเด็กที่มีความหลากหลาย จะมีวิธีการดูแลให้ตรงกับความต้องการของเด็กอย่างไร เพื่อผลักดันการเรียนการสอนให้ครอบคลุมและเข้าถึงเด็กๆ มากขึ้น จนไม่มีใครถูกทิ้งไว้หลังห้องอีกต่อไป เช่น ความแตกต่างของเด็กเรียนเก่ง เด็กเรียนอ่อน เด็กที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ เด็กด้อยโอกาส

สำหรับปี 2563 นี้ มีโรงเรียนอีกกว่า 560 แห่ง (โรงเรียนขนาดกลาง) เข้าร่วมโครงการเป็นรุ่นที่ 2 คาดว่าจะเริ่มต้นช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ในภาคเรียนการศึกษา 1/2563 จะส่งผลให้มีครูได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ประมาณ 10,000 คน นักเรียนประมาณ 100,000 คน ครอบคลุมพื้นที่ 41 จังหวัดทั่วประเทศ โดยขยายจาก 5 โครงข่ายเดิม และเพิ่มเครือข่ายในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ ระยอง สตูล เชียงใหม่ กาญจนบุรี รวมถึง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถือเป็นการทำงานเชิงรุกมากยิ่งขึ้น และนอกจากพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โรงเรียนในสังกัด สพฐ แล้วยังเพิ่มโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายอื่น 20 % ประกอบด้วย โรงเรียนพระปริยัติธรรม โรงเรียนสังกัด ตชด.ที่มีความพร้อม และโรงเรียนในสังกัด อปท.

“การทำงานในรุ่นที่สองเป็นการทำงานเชิงรุกกับ 560 โรงเรียน ซึ่งอย่างน้อยจะมีจังหวัดใหม่ 5 จังหวัดในพื้นที่ภาคกลาง ที่มีความเหลื่อมล้ำทางฐานะสูง ได้แก่ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง นครสวรรค์ และ

อยุธยา จังหวัดเหล่านี้ไม่ไกลจากรุงแทพฯ แต่ยังมีสภาพปัญหา สังคม เศรษฐกิจ มีความแตกต่างระหว่างในเมืองกับนอกเมืองอยู่มาก อีกทั้งการพัฒนาอาจถูกมองข้ามไปในช่วงเวลาที่ผ่านมา” ดร.อุดม กล่าว

ดร.อุดม กล่าวว่า สิ่งที่คาดหวังสำหรับการดำเนินการรุ่นที่สองที่มีโรงเรียนเข้าร่วม 560 โรงเรียนคือการสร้างความเปลี่ยนแปลงในลักษณะ School Transformation สร้างทักษะที่เหมาะสมกับตัวเด็กคือทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 ซึ่งการทำงานเชิงรุกในพื้นที่นวัตกรรมไม่มีสูตรตายตัวเป็นการทำงานที่ต่างกันในตามบริบทพื้นที่โดยมีเครือข่ายช่วยออกแบบระบบที่เหมาะสมกับการพัฒนาตัวเอง เช่น จังหวัดระยอง มีแนวทางรูปแบบของโรงเรียนรุ่งอรุณ เป็นฐาน จังหวัดศรีสะเกษ มีความร่วมมือกับมูลนิธิสยามกัมมาจล และธนาคารกสิกรไทย จังหวัดสตูล ทำงานร่วมกับ เครือข่ายคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีอาจารย์สมพงษ์ จิตระดับ ที่ปรึกษากสศ. เป็นแกนนำ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า