SHARE

คัดลอกแล้ว

ttb analytics คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะเติบโต 3.4% ออกจากหล่มได้แล้ว แต่ยังเติบโตต่ำกว่าศักยภาพ คาดว่าจะต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปีถึงจะกลับมา

‘นริศ สถาผลเดชา’ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics กล่าวว่า เป็นข่าวดีที่ว่า เศรษฐกิจไทยตอนนี้ออกจากหล่มได้แล้ว แต่การเติบโตยังไม่ชัดเจน เพราะยังโตได้ต่ำกว่าศักยภาพ ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปี กว่าที่จะกลับคืนสู่ระดับปกติ

โดย ttb analytics คาดว่าจีดีพีปีนี้จะเติบโต 3.4% หลักๆ มาจากการท่องเที่ยวไทยที่คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะยังเติบโตต่อเนื่อง 29.50 ล้านคนในปีนี้ ถัดมาคือการบริโภคในประเทศที่คาดว่าจะเติบโต 4%

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระวัง คือ การส่งออกที่คาดว่าจะหดตัว 0.50% ซึ่งหากต่ำกว่าคาด จะเป็นตัวฉุดให้จีดีพีไทยเติบโตต่ำกว่า 3% จากที่ส่งออกมีสัดส่วนต่อจีดีพีสูงถึง 65% ขณะที่การบริโภคในประเทศอยู่ที่ 55% ส่วนท่องเที่ยวอยู่ที่ 12%

สำหรับการส่งออก ถูกกดดันจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงในปีนี้ หลังฟื้นตัวจากโควิด-19 ไปแล้วในช่วงปี 2564-2565 โดยเฉพาะการชะลอตัวของประเทศเศรษฐกิจใหญ่ เช่น สหรัฐ ยุโรป อินเดีย ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงจากการนำเข้า ซึ่งคาดว่าจะเติบโต 1% สวนทางกับการส่งออกที่ติดลบ ซึ่งอาจส่งผลให้ประเทศไทยเผชิญกับการขาดดุลในปีนี้ กดดันความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท และอาจกระทบให้เงินทุนไหลออก

ขณะที่ปัญหาธนาคารล้มในสหรัฐและยุโรป มองว่าเป็นปัญหาเฉพาะของแต่ละธนาคารเท่านั้น ไม่ใช่ปัญหาของระบบธนาคารทั้งหมด จึงเชื่อว่าจะไม่นำไปสู่วิกฤตการเงินเหมือนในอดีต

อย่างไรก็ตาม ttb analytics คาดว่า ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์ธนาคารล้มอีก แต่เป็นธนาคารขนาดเล็กที่ถูกกระทบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลก โดยเฉพาะการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed)

สำหรับธนาคารในประเทศ คาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกับธนาคารที่เกิดปัญหาในต่างประเทศค่อนข้างน้อย นโยบายการเงินของไทยมาถูกทาง กล่าวคือ ปรับขึ้นดอกเบี้ยค่อยเป็นค่อยไป

นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ของไทยมีฐานเงินฝากค่อนข้างแข็งแกร่งและกระจายตัวค่อนข้างดี โดยยอดเงินฝากรายย่อยอยู่ที่ประมาณ 9 ล้านล้านบาท ส่วนภาคธุรกิจอยู่ที่ 5 ล้านล้านบาท สัดส่วน 65 : 35

‘ดังนั้น เราจะไม่เจออาการแบบที่ SVB (Silicon Valley Bank) เจอ เพราะ SVB ฐานเงินฝากเป็นรายใหญ่ ภาคธุรกิจ สลับกัน 65 : 35 ที่ 65% เป็นภาคธุรกิจ พอดึงเงินออกปุ๊ปก็ดึงออกก้อนใหญ่’

ส่วนความเสี่ยงด้านอื่นๆ เช่น หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) พบว่า ยังปรับตัวลงต่อเนื่องที่ 2.7% จากกลุ่มลูกค้ารายย่อยและธุรกิจ แม้ NPL ของลูกค้า SME จะยังสูงที่ 8% จากผลกระทบโควิด-19 แต่มีแนวโน้มดีขึ้น

ในทางกลับกัน ธนาคารพาณิชย์ของไทยมีฐานทุนค่อนข้างแข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็น เงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1 Capital Ratio: CET1) อยู่ที่ 16.50% อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) อยู่ที่ 20% และอัตราส่วนเงินสํารองที่มีอยู่ต่อ NPL (NPL Coverage Ratio) อยู่ที่ 180%

สำหรับแนวโน้มดอกเบี้ยในปีนี้ คาดว่า Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% จากตอนนี้ที่ 4.50-4.75% ไปจบที่ 5.25-5.55% แม้เทรนด์การขึ้นดอกเบี้ยจะชะลอลง แต่คงไม่เห็นการลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยธนาคารที่ล้มไป เพราะยังไม่ใช่วิกฤตการเงิน

ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% เช่นกัน จากปัจจุบันที่ 1.50% ไปจบที่ 2.00%

ขณะที่เงินเฟ้อ แนวโน้มชะลอตัวลงทั้งในและต่างประเทศ หลังราคาน้ำมันและก๊าซ ปรับตัวลงเท่าก่อนช่วงเกิดสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนแล้ว โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) ของไทยปีนี้ จะอยู่ที่ 2.5%

เมื่อถามถึงการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง ttb analytics มองว่า ในช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล การเบิกจ่ายของภาครัฐอาจต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งอาจกระทบต่อการลงทุนภาครัฐ รวมถึงการลงทุนภาคเอกเชน แต่ไม่กระทบต่อการบริโภคเอกชนและการเติบโตของจีดีพี

สำหรับข้อแนะนำต่อรัฐบาลชุดถัดไป ttb analytics มองว่า ประเทศไทยยังมีช่องวางในการทำนโยบายการคลัง (Fiscal Policy Space) แต่ควรใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

‘เรื่องที่รัฐบาลสามารถเข้ามาซัพพอร์ตได้ทันที คือ กลุ่มที่มีรายได้เปราะบาง กลุ่มผู้มีรายได้น้อย และกลุ่ม SMEs ตรงนี้จะกระตุ้นอย่างไรให้เขาอยู่ได้’

ทั้งนี้ นโยบายเศรษฐกิจสามารถกระตุ้นได้ 2 ด้าน คือ 1. อุปสงค์ (Demand) ในที่นี้คือ ยอดขาย และ 2. อุปทาน (Supply) ในที่นี้คือ ต้นทุน

โดยปัจจุบันต้นทุนในระบบยังค่อนข้างสูง เพราะเงินยังเฟ้ออยู่ในระดับ 2% ตามที่ได้กล่าวไป ดังนั้น การสนับสนุนด้านต้นทุนให้ SMEs และผู้มีรายได้น้อย เช่น ค่าไฟฟ้า ฯลฯ ให้สามารถยังชีพได้ ยังเป็นเรื่องที่จำเป็นและถูกจุด

ส่วนการกระตุ้นยอดขาย จะเห็นว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มไปต่อได้ เพราะการบริโภคภายในประเทศจุดติดแล้ว ฝั่งนี้จึงต้องการการกระตุ้นน้อยลง ดังนั้น การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจต่อจากนี้ จะต้องไม่ใช่การเหวี่ยงแห แต่ต้องช่วยกลุ่มที่โดนกระทบจริงๆ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า