Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ttb analytics คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะเติบโต 3.4% ออกจากหล่มได้แล้ว แต่ยังเติบโตต่ำกว่าศักยภาพ คาดว่าจะต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปีถึงจะกลับมา

‘นริศ สถาผลเดชา’ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics กล่าวว่า เป็นข่าวดีที่ว่า เศรษฐกิจไทยตอนนี้ออกจากหล่มได้แล้ว แต่การเติบโตยังไม่ชัดเจน เพราะยังโตได้ต่ำกว่าศักยภาพ ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปี กว่าที่จะกลับคืนสู่ระดับปกติ

โดย ttb analytics คาดว่าจีดีพีปีนี้จะเติบโต 3.4% หลักๆ มาจากการท่องเที่ยวไทยที่คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะยังเติบโตต่อเนื่อง 29.50 ล้านคนในปีนี้ ถัดมาคือการบริโภคในประเทศที่คาดว่าจะเติบโต 4%

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระวัง คือ การส่งออกที่คาดว่าจะหดตัว 0.50% ซึ่งหากต่ำกว่าคาด จะเป็นตัวฉุดให้จีดีพีไทยเติบโตต่ำกว่า 3% จากที่ส่งออกมีสัดส่วนต่อจีดีพีสูงถึง 65% ขณะที่การบริโภคในประเทศอยู่ที่ 55% ส่วนท่องเที่ยวอยู่ที่ 12%

สำหรับการส่งออก ถูกกดดันจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงในปีนี้ หลังฟื้นตัวจากโควิด-19 ไปแล้วในช่วงปี 2564-2565 โดยเฉพาะการชะลอตัวของประเทศเศรษฐกิจใหญ่ เช่น สหรัฐ ยุโรป อินเดีย ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงจากการนำเข้า ซึ่งคาดว่าจะเติบโต 1% สวนทางกับการส่งออกที่ติดลบ ซึ่งอาจส่งผลให้ประเทศไทยเผชิญกับการขาดดุลในปีนี้ กดดันความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท และอาจกระทบให้เงินทุนไหลออก

ขณะที่ปัญหาธนาคารล้มในสหรัฐและยุโรป มองว่าเป็นปัญหาเฉพาะของแต่ละธนาคารเท่านั้น ไม่ใช่ปัญหาของระบบธนาคารทั้งหมด จึงเชื่อว่าจะไม่นำไปสู่วิกฤตการเงินเหมือนในอดีต

อย่างไรก็ตาม ttb analytics คาดว่า ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์ธนาคารล้มอีก แต่เป็นธนาคารขนาดเล็กที่ถูกกระทบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลก โดยเฉพาะการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed)

สำหรับธนาคารในประเทศ คาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกับธนาคารที่เกิดปัญหาในต่างประเทศค่อนข้างน้อย นโยบายการเงินของไทยมาถูกทาง กล่าวคือ ปรับขึ้นดอกเบี้ยค่อยเป็นค่อยไป

นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ของไทยมีฐานเงินฝากค่อนข้างแข็งแกร่งและกระจายตัวค่อนข้างดี โดยยอดเงินฝากรายย่อยอยู่ที่ประมาณ 9 ล้านล้านบาท ส่วนภาคธุรกิจอยู่ที่ 5 ล้านล้านบาท สัดส่วน 65 : 35

‘ดังนั้น เราจะไม่เจออาการแบบที่ SVB (Silicon Valley Bank) เจอ เพราะ SVB ฐานเงินฝากเป็นรายใหญ่ ภาคธุรกิจ สลับกัน 65 : 35 ที่ 65% เป็นภาคธุรกิจ พอดึงเงินออกปุ๊ปก็ดึงออกก้อนใหญ่’

ส่วนความเสี่ยงด้านอื่นๆ เช่น หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) พบว่า ยังปรับตัวลงต่อเนื่องที่ 2.7% จากกลุ่มลูกค้ารายย่อยและธุรกิจ แม้ NPL ของลูกค้า SME จะยังสูงที่ 8% จากผลกระทบโควิด-19 แต่มีแนวโน้มดีขึ้น

ในทางกลับกัน ธนาคารพาณิชย์ของไทยมีฐานทุนค่อนข้างแข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็น เงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1 Capital Ratio: CET1) อยู่ที่ 16.50% อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) อยู่ที่ 20% และอัตราส่วนเงินสํารองที่มีอยู่ต่อ NPL (NPL Coverage Ratio) อยู่ที่ 180%

สำหรับแนวโน้มดอกเบี้ยในปีนี้ คาดว่า Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% จากตอนนี้ที่ 4.50-4.75% ไปจบที่ 5.25-5.55% แม้เทรนด์การขึ้นดอกเบี้ยจะชะลอลง แต่คงไม่เห็นการลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยธนาคารที่ล้มไป เพราะยังไม่ใช่วิกฤตการเงิน

ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% เช่นกัน จากปัจจุบันที่ 1.50% ไปจบที่ 2.00%

ขณะที่เงินเฟ้อ แนวโน้มชะลอตัวลงทั้งในและต่างประเทศ หลังราคาน้ำมันและก๊าซ ปรับตัวลงเท่าก่อนช่วงเกิดสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนแล้ว โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) ของไทยปีนี้ จะอยู่ที่ 2.5%

เมื่อถามถึงการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง ttb analytics มองว่า ในช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล การเบิกจ่ายของภาครัฐอาจต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งอาจกระทบต่อการลงทุนภาครัฐ รวมถึงการลงทุนภาคเอกเชน แต่ไม่กระทบต่อการบริโภคเอกชนและการเติบโตของจีดีพี

สำหรับข้อแนะนำต่อรัฐบาลชุดถัดไป ttb analytics มองว่า ประเทศไทยยังมีช่องวางในการทำนโยบายการคลัง (Fiscal Policy Space) แต่ควรใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

‘เรื่องที่รัฐบาลสามารถเข้ามาซัพพอร์ตได้ทันที คือ กลุ่มที่มีรายได้เปราะบาง กลุ่มผู้มีรายได้น้อย และกลุ่ม SMEs ตรงนี้จะกระตุ้นอย่างไรให้เขาอยู่ได้’

ทั้งนี้ นโยบายเศรษฐกิจสามารถกระตุ้นได้ 2 ด้าน คือ 1. อุปสงค์ (Demand) ในที่นี้คือ ยอดขาย และ 2. อุปทาน (Supply) ในที่นี้คือ ต้นทุน

โดยปัจจุบันต้นทุนในระบบยังค่อนข้างสูง เพราะเงินยังเฟ้ออยู่ในระดับ 2% ตามที่ได้กล่าวไป ดังนั้น การสนับสนุนด้านต้นทุนให้ SMEs และผู้มีรายได้น้อย เช่น ค่าไฟฟ้า ฯลฯ ให้สามารถยังชีพได้ ยังเป็นเรื่องที่จำเป็นและถูกจุด

ส่วนการกระตุ้นยอดขาย จะเห็นว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มไปต่อได้ เพราะการบริโภคภายในประเทศจุดติดแล้ว ฝั่งนี้จึงต้องการการกระตุ้นน้อยลง ดังนั้น การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจต่อจากนี้ จะต้องไม่ใช่การเหวี่ยงแห แต่ต้องช่วยกลุ่มที่โดนกระทบจริงๆ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า