SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมควบคุมโรคจึงร่วมมือกับหลายหน่วยงานเพื่อตัดวงจรแพร่ระบาดวัณโรคในเรือนจำ ด้าน สปสช.หนุนงบให้เอกซเรย์ 100 เปอร์เซ็นต์ จนได้รับการรักษาที่มากขึ้น

วัณโรคคือโรคติดต่อทางเดินหายใจ ซึ่งคนไทย 1 ใน 3 มีเชื้อวัณโรคแฝง เท่ากับว่าคนไทยกว่า 20 ล้านคน มีเชื้อวัณโรคอยู่ในตัวแต่ไม่แสดงอาการ แต่เมื่อไหร่ที่ร่างกายอ่อนแอก็จะป่วยเป็นวัณโรคได้ง่าย ส่วนคนที่ป่วยวัณโรคแบบแสดงอาการ คาดว่ามีมากถึง 120,000 คนต่อปี และเสียชีวิตมากถึง 12,000 ราย ติด 1 ใน 14 ประเทศทั่วโลกที่มีอัตราพบวัณโรคสูง

เพราะเหตุนี้ กรมควบคุมโรคจึงร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อผลักดันนโยบายลดผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทยให้ได้มากที่สุด โดยเริ่มจากกลุ่มเสี่ยงนั่นคือ ผู้ต้องขังในเรือนจำ เพราะด้วยสภาพแวดล้อมที่แออัดและเป็นสถานที่ปิด จึงมีการแพร่ระบาดเป็นจำนวนมาก กรมควบคุมโรคจึงเริ่มโครงการตัดวงจรการแพร่ระบาดของวัณโรคในเรือนจำอย่างจริงจังในปี 2560 โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อให้ผู้ต้องขังได้รับการเอกซเรย์ทุกคนแบบ 100 เปอร์เซ็นต์

ขั้นตอนแรก ส่งรถเอกซเรย์เข้าไปตรวจผู้ต้องขังในเรือนจำทุกคน หลังจากตรวจดูผลถ้าพบความผิดปกติ จะแยกผู้ป่วยมาตรวจเสมหะและตรวจยีนส์ Expert ด้วยสารพันธุกรรม ทราบผลภายใน 2 ชั่วโมง และถ้าหากพบเชื้อวัณโรคก็จะส่งตัวเข้าหระบวกการรักษาที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ ซึ่งจะมีการตรวจรักษาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือน ส่งเสมหะไปตรวจดูการตอบสนองต่อของยา และมีวิธีการให้คนไข้รับประทานยาต่อหน้าพยาบาล เพื่อควบคุมการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอจนครบระยะเวลา 6 เดือน

หากทำการรักษาจนตรวจเสมหะไม่พบเชื้อวัณโรคแล้ว จะส่งผู้ป่วยไปรักษาต่อในเรือนจำตัวเอง ซึ่งจะมีพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการอบรมการให้ยาและติดตามอาการคืบหน้าของผู้ป่วย ดูแลตลอดจนไม่พบเชื้อ และถ้าหากถูกปล่อยตัวออกจากเรือนจำไปก่อน ก็จะมีหนังสือส่งตัวไปยังสถานพยาบาลในภูมิลำเนา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รักษาอย่างต่อเนื่อง และหายจากวัณโรค 100 เปอร์เซ็นต์

หลังจากเริ่มโครงการจะเห็นได้ว่ามีอัตราค้นพบผู้ป่วยเพิ่มจากปี 2559 มากถึง 145 เปอร์เซ็นต์ และในปี 2561 ค้นพบเพิ่มมากขึ้นจากปี 2560 อีก 12 % และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี เพราะยิ่งค้นพบมากเท่าไหร่ ยิ่งส่งให้ผู้ป่วยได้รับการรักษามากขึ้นและเร็วขึ้น นอกจากนี้กรบควบคุมโรคยังตั้งเป้าหมายจะลดผู้ป่วยวัณโรคในไทยให้ได้ครึ่งหนึ่งภายใน 5 ปี และเร่งดำเนินการ Set zero TB ตาม WHO (องค์การอนามัยโลก) ให้ได้ใน 20 ปีข้างหน้า

https://www.youtube.com/watch?v=XYAIQ2yvUBo&t=7s

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า