Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดกับซีรีส์หลากหลายแนว Twenty-Five Twenty-One ยี่สิบห้า ยี่สิบเอ็ด เป็นหนึ่งในเรื่องที่ได้รับการตอบรับอย่างดีมาก ๆ กับผู้ชมในเกาหลี ด้วยเรื่องย้อนยุคชวนยิ้ม แต่ก็ยังมีประเด็นที่น่าสนใจเชื่อมโยงได้กับคนดูปัจจุบัน ด้วยเรื่องที่สะท้อนสมัยปลายยุค 90s เมื่อเกาหลีใต้เผชิญวิกฤต IMF ผ่านตัวละครได้อย่างล้ำลึก

Twenty-Five Twenty-One เป็นซีรีส์ที่ย้อนกลับไปช่วงเวลาที่วิกฤต IMF แผลงฤทธิ์ที่เกาหลีใต้ บอกเล่าเรื่องราวของกลุ่มคนที่ยุคสมัยและเศรฐกิจโขมยความฝันและอนาคตไป ผ่านตัวละคร ‘นาฮีโด’ (รับบทโดย คิมแทรี) เด็กสาวที่กำลังตามความฝันของการเป็นนักฟันดาบ แต่ชมรมของเธอถูกปิดลงเพราะวิกฤติเศรษฐกิจ ที่ได้พบกับ ‘แพคอีจิน’ (รับบทโดย นัมจูฮยอก) ชายหนุ่มที่สูญเสียทุกอย่างไปเพราะเหตุเดียวกัน พวกเขาจึงเป็นกำลังใจให้กันในวันที่ต้องต่อสู้เพื่อตามความฝันและอนาคตที่ยุคสมัยพรากไปคืนมา

 

[เนื้อหาในบทความจากนี้มีการเปิดเผยเนื้อเรื่องบางส่วน]

 

ถึงแม้จะเป็นเรื่องในอดีต แต่ความรู้สึกของการโดนปล้นอนาคตที่สดใสไปอาจจะรู้สึกไม่ไกลตัวนัก ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลให้เศรฐกิจย่ำแย่จนหลายคนต้องละทิ้งความฝันและอนาคตของตัวเองชั่วคราว หรือสำหรับอีกหลายคนอาจจะเป็นตลอดไป แต่สิ่งหนึ่งที่ซีรีส์ไม่ลืมที่จะนำเสนอคือเมื่อยุคสมัยพรากความฝันของใครสักคนไป มันอาจจะทำให้ความฝันของใครสักคนเป็นจริงขึ้นมาเช่นกัน เหมือนกับในเรื่องที่นาฮีโดประสบความสำเร็จได้ แม้จะด้วยความสามารถของตัวเธอเอง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ายุคสมัยนั้นและความเพลี่ยงพล้ำต่อชีวิตของคนอื่น ได้ทำให้เธอกลายเป็นแชมป์อย่างที่เธอเป็น

หากเราสังเกตดูนาฮีโด แพคอีจิน และโกยูริม คล้ายกับจะเป็นบุคลาอธิษฐาน (Personification) ของประเทศเกาหลีใต้ เพราะผู้ชมสามารถเห็นการดิ้นรนที่จะฟื้นจากพิษเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ผ่านตัวละครสามตัวนี้

  • นาฮีโดที่กำลังอยู่ในช่วงขาลงของการเป็นนักกีฬาฟันดาบ ก่อนที่วิกฤติ IMF จะทำให้เธอต้องลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเองจนประสบความสำเร็จได้ในที่สุด เป็นเสมือนภาพแทนของบริษัทที่จากเดิมที่กำลังเผชิญช่วงตกต่ำ แต่เมื่อเจอเข้ากับ IMF พวกเขาก็ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงจนพลิกเป็นผู้นำได้ แต่ส่วนหนึ่งก็เพราะว่ามีต้นทุนที่ดีและสายป่านที่ยาวพอที่จะทำอย่างนั้นได้หากจะให้ยกตัวอย่างให้ชัดเจน หนึ่งในธุรกิจของเกาหลีใต้ที่เกิดได้เพราะ IMF เหมือนกับนาฮีโดคือบริษัทซัมซุงซึ่งตอนนี้เป็นหนึ่งในบริษัทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ บทความจาก Financial Times ในช่วงปี 2004 เผยว่าความสำเร็จของซัมซุงในวันนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในตอนนั้น เพราะก่อนเกิดวิกฤตบริษัทกำลังประสบกับช่วงตกต่ำเมื่อการขายเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาถูกดูจะมาถึงทางตัน เพราะต้นทุนที่สูงขึ้นและการแข่งขันที่ดุเดือดกับสินค้าจากประเทศจีน

อีริค คิม รองประธานบริหารฝ่ายการตลาดกล่าวว่า บริษัทในตอนนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิตและส่วนแบ่งตลาด ไม่ใช่การทำกำไรและเทคโนโลยี และถ้าไม่มี IMF ก็คงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น เขากล่าวว่า “วิกฤติ IMF บังคับให้เราต้องทำการเปลี่ยนแปลง เรารู้แล้วว่าเราไม่สามารถแข่งขันด้านราคาในตลาดล่างได้อีกต่อไป เราต้องพัฒนา แบรนด์ ดีไซน์ และ เทคโนโลยี”

นอกจากนี้ซัมซุงยังลดพนักงานเหลือหนึ่งในสาม ขายกิจการที่ไม่มีทางไปต่อ และ ปลดหนี้อีกด้วย ประจวบเหมาะกับการที่ตลาดเทคโนโลยีกำลังขยายอย่างรวดเร็วในช่วงปลายยุค 90s และซัมซุงก็เริ่มพลิกกลับมาได้เมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลมาแทนอานาล็อค ทำให้มีช่องว่างในตลาดสำหรับสินค้าใหม่ ๆ และส่วนประกอบอย่างเช่น LCD หรือเม็มโมรี่ชิปด้วย

การพลิกกลับมาเป็นผู้นำของนาฮีโดในเรื่องนั้นจึงชวนให้นึกถึงการที่ ในหลายครั้ง วิกฤตได้กลายมาเป็นโอกาสให้เรามาทบทวนตัวเองและพลิกชีวิตกลับมาได้อีกครั้ง เหมือนที่ซัมซุงพ้นจากทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ และช่วงตกต่ำมาได้อย่างสวยงาม

นอกจากนี้การไล่ล่าเหรียญทองของนาฮีโดในเรื่องก็ชวนให้นึกถึงโครงการสะสมทองที่รัฐบาลเกาหลีใต้จัดขึ้นเพื่อรับบริจาคทองจากประชาชนมาบรรเทาหนี้ที่กู้มากว่าห้าหมื่นแปดพันล้านดอลลาร์ ที่ถูกพูดถึงในตอนแรกของเรื่องเมื่อนาฮีโดถามถึงแหวนแต่งงานของพ่อ

Forbes เคยมีบทความที่เล่าถึงโครงการนี้ไว้ว่า วันที่ 5 มกราคม ปี 1988 รัฐบาลเกาหลีใต้ เปิดรับบริจาคทอง ในตอนนั้นมีการคาดการณ์ว่าชาวเกาหลีใต้มีทองคำที่พวกเขาครอบครองในครัวเรือนรวมมูลค่าประมาณ สองหมื่นล้านดอลลาร์ ในรูปของเครื่องประดับหรือของที่ระลึกอื่น ๆ ซึ่งมีคุณค่าทางจิตใจ และมีชาวเกาหลีใต้เกือบ 3.5 ล้านคน เกือบหนึ่งในสี่ของประชากรที่เข้าร่วมโครงการนี้ ชาวบ้านทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งคนรวยและจน ต่างเข้าแถวยาวเพื่อที่จะบริจาคทอง บริษัทใหญ่ ๆ ในเกาหลีต่างก็ช่วยโปรโมต รวมถึงดาราเช่น อีจองบอม นักเบสบอลดาวรุ่งที่บริจากทองหนักถึง 893.01 กรัมจากถ้วยและเหรียญรางวัลที่เขาสะสมมาตลอด 5 ปีที่เขาแข่งขันมา

ภายในสองเดือน พวกเขาระดมทองมาได้ถึง 226 เมตริกตัน มูลค่า 2.2 พันล้านดอลลาร์ พวกเขาหลอมทองเหล่านั้นเป็นแท่งและส่งมอบให้ IMF ถึงแม้มันจะไม่ได้ช่วยล้างหนี้ทั้งหมดได้ แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการที่เกาหลีใต้ปลดหนีได้เร็วกว่ากำหนดถึง 3 ปี และสะท้อนความรักชาติอันลึกซึ้งของชาวเกาหลีใต้

โครงการนี้คล้ายกับการล่าเหรียญทองจากการฟันดาบของนาฮีโดตรงที่เป็นสิ่งที่กระตุ้นความเป็นหนึ่งเดียวกันและความรักชาติ เหมือนทุกครั้งที่ได้ดูกีฬาและเห็นธงชาติปลิวสไวอยู่เหนือใครนั่นเอง

  • แพคอีจินที่เคยอยู่ในจุดสูงสุดแล้วล้มลงมาสู่พื้น เช่นเดียวกับธุรกิจใหญ่ยักษ์ที่บริหารโดยกลุ่มแชโบลที่ล้มครืนลงมาเพราะการกู้เงินในต่างประเทศ เช่น Halla Group บริษัทชิ้นส่วนรถยนต์ ก่อสร้าง ต่อเรือ ฯลฯ ที่ล้มเพราะ Hyundai บริษัทพี่อุ้มไว้ไม่ไหว เหมือนกับแพคอีจินที่พ่อเคยมีบริษัทก่อสร้างใหญ่ แต่ต้องมาบ้านแตกสาแหรกขาดและเริ่มต้นจากติดลบเพราะครอบครัวล้มละลายจนไม่สามารถเลี้ยงดูเขาได้อีกต่อไป
  • โกยูริม จากครอบครัวชนชั้นแรงงาน ที่เข้าข่ายคำพูดที่ว่าวิกฤตการณ์ทำให้คนรวยกลายเป็นคนจน ส่วนคนจนก็ต้องจนอยู่อย่างนั้น และสถาการณ์ทางการเงินในครอบครัวถึงทางตันก็ต้องยอมทิ้งสัญชาติไปทำงานที่ต่างประเทศ ยอมทำอะไรที่คนอื่นอาจจะมองว่าเห็นแก่ตัวเพื่อดูแลครอบครัวให้รอด

นอกเหนือจากตัวละครและการฝันฝ่าอุปสรรคของพวกเขา สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ Twenty-Five Twenty-One ไม่ได้เป็นเพียงซีรีส์น้ำดีแต่เป็นซีรีส์ที่เข้าไปอยู่ในใจผู้ชมด้วยก็คือการที่เหตุการณ์ในชีวิตของพวกเขาสามารถเชื่อมโยงได้กับปัจจุบัน

  • เหตุการณ์การผ่านพ้นวิกฤตที่เชื่อมโยงกับความรู้สึกของคนในชาติ
    สิ่งหนึ่งที่ทำให้คนดูรู้สึกเชื่อมโยงได้ไม่ยากอย่างแน่นอนคือความรู้สึกของการโดนพรากเอาความหวังและความฝันไป จริงอยู่ว่าเศรฐกิจที่แข็งแรงของเกาหลีใต้ โดยรวมไม่ได้โดนกระทบจนเป๋เท่าอีกหลาย ๆ ประเทศในโลกและกำลังฟื้นตัวได้ดี แต่ก็มีคนอีกมากมายที่ได้รับผลกระทบทั้งทางการเงิน หรือทางจิตใจ คล้ายกับสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤต IMF ที่แม้ตัวละครบางตัวจะยังมีกินอยู่สบาย แต่สุดท้ายผลกระทบทางเศรฐกิจก็สามารถชิ่งมากระทบพวกเขาได้ในทางใดทางหนึ่ง ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ชมรู้สึกเชื่อมโยงได้ง่ายขึ้น
  • การเลือกชนิดกีฬาที่นาฮีโดเล่น
    อาจจะด้วยเหตุที่ว่าในปีหลัง ๆ หนึ่งในกีฬาที่คนเกาหลีใต้ภูมิใจคือกีฬาฟันดาบ ที่เริ่มเป็นกระแสขึ้นมาในปี 2012 ด้วยความสำเร็จของคิมจียอนนักกีฬาฟันดาบหญิงคว้าเหรียญทองมาได้ในการแข่งขันโอลิมปิกครั้งแรกของเธอ ซึ่งเป็นเหรียญทองแรกของเกาหลีใต้และเอเชียในประเภทหญิงเดี่ยวอีกด้วย และอีกเหรียญทองจากประเภททีมชายเป็นครั้งแรกของประเทศ นอกจากนี้ยังมีอีก 1 เหรียญเงิน และ 3 เหรียญทองแดงจากการฟันดาบประเภทอื่น และในช่วงหลังที่กีฬาฟันดาบกลับมาเป็นกระแสอีกครั้งเพราะทีมนักกีฬาฉายา ‘อเวนเจอร์ส์แห่งวงการฟันดาบ’ ทำให้กีฬาชนิดนี้อยู่ในความสนใจของผู้ชม

นอกจากนียังเป็นกีฬาที่เริ่มเติบโตในเกาหลีใต้มาขึ้นในปลายยุค 90s เวลาเดียวกับเหตุการณ์ในเรื่องด้วย การเติบโตนั้นสะท้อนผ่านการที่สมาคมกีฬาฟันดาบแห่งสาธารณรัฐเกาหลีใต้ได้จัดการแข่งขัน FIE Grand Prix Fencing เป็นครั้งแรกในปี 1998 และ และต่อมาในปี 1999 เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน World Fencing Championships ในกรุงโซล และเป็นที่แรกในเอเชียที่ได้เป็นเจ้าภาพอีกด้วย

  • การใช้ตัวนำเป็นนักกีฬาหญิง

สะท้อนกระแสสตรีนิยมที่เพิ่มขึ้นในเกาหลีใต้ โดยเฉพาะในวงการกีฬา เพราะเมื่อดูซีรีส์เรามักจะได้เห็นเรื่องราวการต่อสู้ของนักกีฬาชายได้บ่อยกว่ามาก และถ้าตัวเอกเป็นผู้หญิงก็มักจะเป็นกีฬาที่เน้นความอ่อนช้อยกว่า เป็นตอกย้ำกระแสความนิยมนักกีฬาหญิงที่เพิ่มขึ้นในเกาหลีใต้ตั้งแต่ช่วงโอลิมปิกที่ผ่านมาอีกด้วย

  • การมีความรักและความผูกพันที่ก่อตัวขึ้นระหว่างช่วงวิกฤต

วิกฤตเศรฐกิจส่งผลกระทบต่อการวางอนาคต การตัดสินใจมีคนรัก ตัดสินใจจะแต่งงาน หรือจะมีลูกหรือไม่อย่างมาก สังเกตได้จากอัตราการแต่งงานและผลโพลต่าง ๆ ที่ชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่าคนเกาหลีใต้นั้นเลือกที่จะไม่มีคู่ ส่วนหนึ่งเพราะความไม่พร้อมหลาย ๆ อย่าง และความต้องการที่จะก้าวหน้าในอาชีพไปในทิศทางของตัวเอง ความรักของนาฮีโดและแพคอีจินพัฒนาขึ้นท่ามกลางความไม่พร้อมเหล่านี้ จังหวะชีวิตที่ไม่ลงตัวอาจจะเป็นความรู้สึกที่หลายคนเชื่อมโยงได้ เหมือนกับที่สถานการณ์การระบาดของโรคในยุคสมัยนี้ที่พรากความรักและความสัมพันธ์ไปจากผู้คน เพราะการที่ต้องโฟกัสกับการเอาตัวรอดในเรื่องอื่น

การเชื่อมโยงสู่ปัจจุบันถูกเน้นย้ำด้วยตัวละคร คิมมินแช ลูกของนาฮีโดเพราะปัญหาที่เธอกำลังเผชิญนั้นเป็นปัญหาเดียวกันกับที่คนรุ่นแม่เผชิญหมุนวนมาอีกครั้ง ทั้งความรู้สึกในช่วงตกต่ำและความรู้สึกกดดันที่จะต้องประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุน้อยก็ทำให้คิมมินแชเหมือนเป็น personification ของเกาหลีใต้ในปัจจุบันเช่นกัน

และการที่เกาหลีใต้ไม่ใช่ประเทศเดียวที่กำลังเผชิญหน้ากับเหตุการณ์เหล่านี้นี้ทำให้ Twenty-Five Twenty-One ยี่สิบห้า ยี่สิบเอ็ด  เป็นซีรีส์ที่ไม่ได้เพียงแค่สามารถสื่อสารกับชาวเกาหลีใต้เท่านั้นแต่เป็นคนทั่วโลกและเป็นอีกครั้งที่พิสูจน์การใช้ soft power ของเกาหลีใต้เพื่อปลอบโยนหัวใจของผู้คนเมื่อได้พบกับวิกฤต เพิ่มความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว และสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ชมว่าไม่ว่ายุคสมัยจะพรากความฝันไปจากผู้คนอีกกี่ครั้งแต่เกาหลีใต้จะสามารถลุกขึ้นมาอย่างสง่างามได้เสมอ

 

อ้างอิง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า