Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ทวิตเตอร์ชี้คนไทยสนใจเรื่องการออมและการลงทุนมากขึ้น 94% ต้องการเสพข้อมูลใหม่ๆ จากแบรนด์ทางการเงิน

วันที่ 27 ต.ค.2564 ข้อมูลจาก Global Web Index บริษัทชั้นนำด้านวิเคราะห์ตลาดพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ ระบุว่า 8 ใน 9 คนไทยบนทวิตเตอร์มีความสนใจในเรื่องการออมเงินและการลงทุนและมีหลากหลายกลุ่มที่พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อนี้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น #WhatsHappening ในโลกของการเงิน การธนาคาร การออม การลงทุน คริปโทเคอร์เรนซี NFTs และอื่นๆ อีกมากมายที่กำลังเกิดขึ้นบนทวิตเตอร์

โดยพบว่าคนไทยที่มีความรู้ความเข้าใจทางการเงินจะใช้ทวิตเตอร์เพื่อติดตามข่าวสารเกี่ยวกับตลาดหุ้น เศรษฐกิจ และเทรนด์ล่าสุดของการออมและการลงทุน ตลอดจนสนใจและมีความรู้ในเรื่องการเงินต่างๆ และมักเข้าไปมีส่วนร่วมในบทสนทนาหัวข้อนี้อย่างต่อเนื่อง โดย 74% ของชาวทวิตภพเข้ามาใช้ทวิตเตอร์ทุกวัน และ 42% ใช้ทวิตเตอร์วันละหลายครั้ง นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับแบรนด์เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินเพื่อช่วยตัดสินใจเรื่องของการออมและการลงทุน

บทสนทนาที่เกี่ยวกับเรื่องการเงินบนทวิตเตอร์ประเทศไทย เรื่อง ‘การออมและการลงทุน’ คือเรื่องสำคัญสำหรับคนไทย โดยข้อมูลจาก Brandwatch 2020-2021 ระบุว่า ชาวทวิตภพทวีตเกี่ยวกับเรื่องนี้มากกว่า 70,000 ครั้งต่อวัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเข้ามาปรึกษาพูดคุยในเรื่องของการลงทุนในหุ้น รวมถึงสนับสนุนให้คนอื่นลองเริ่มลงทุนด้วย ชาวทวิตภพที่บริหารเงินได้อย่างเชี่ยวชาญ 41% อยากเห็น #WhatsHappening สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นบนทวิตเตอร์แบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ยังเข้ามาค้นหาข้อเสนอและคำแนะนำต่างๆ เกี่ยวกับการวางแผนการออม การลงทุนในหุ้น และความเสี่ยงในการลงทุน ตลอดจนแบ่งปันเคล็ดลับและความสำเร็จของตัวเองบนทวิตเตอร์

ข้อมูลเชิงลึกของทวิตเตอร์พบว่า แบรนด์ควรให้ความสนใจในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เรียนรู้และทำความเข้าใจถึงสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการและอยากได้จากบทสนทนาบนทวิตเตอร์ ทวิตเตอร์พบว่าบรรดาผู้ที่มีความสนใจในเรื่องการออมและการลงทุนบนทวิตเตอร์ประเทศไทยนั้น 73% สนใจเรื่องดนตรี 68% สนใจเทคโนโลยี 67% สนใจการทำอาหาร และ 67% สนใจอาหารและเครื่องดื่ม จากข้อมูลเชิงลึกนี้เป็นโอกาสให้แบรนด์สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในบทสนทนากับกลุ่มผู้บริโภคได้อย่างสร้างสรรค์

การดิสรัปชั่นกำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมทางการเงินและบทสนทนาเหล่านี้เกิดขึ้นบนทวิตเตอร์ซึ่งแสดงถึงความต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพิ่มสูงขึ้น เห็นได้จาก 94% คนไทยบนทวิตเตอร์อยากเห็นข้อมูลใหม่ๆ จากแบรนด์ทางการเงิน และผู้บริโภคชาวไทย มากกว่า 2 ใน 3 อยากเห็นผลิตภัณฑ์ บริการ และแอปพลิเคชันใหม่ๆ โดย 34% อยากจะเห็นแนวคิดริเริ่มใหม่ๆ ทั้งนี้เหตุผลอันดับหนึ่งที่ผู้คนเข้ามาใช้ทวิตเตอร์คือ “การได้ค้นพบสิ่งใหม่ๆ ที่น่าสนใจ” เพราะฉะนั้นแบรนด์ที่เน้นเรื่องนวัตกรรมจะได้พบกับโอกาสใหม่ๆ ในการคอนเน็คกับกลุ่มเป้าหมายอย่างแน่นอน

ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินมากมายมักเข้ามาแบ่งปันความรู้ของตนเองบนทวิตเตอร์ และชาวทวิตภพให้คุณค่ากับความคิดเห็นของผู้อื่น ทวิตเตอร์จึงกลายเป็นสถานที่เพื่อให้ผู้คนได้เข้ามาเรียนรู้และติดตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเงินได้ดียิ่งขึ้น และสามารถเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ คนที่มีชื่อเสียงในเรื่องนี้ได้ ซึ่งกลุ่มที่สนใจในเรื่องนี้ต่างค้นหารีวิวผลิตภัณฑ์ทางการเงินและมีส่วนร่วมในบทสนทนากับผู้อื่น แชร์ความคิดเห็นและไอเดีย รวมทั้งเสนอความคิดของตัวเองในทุกเรื่อง อาทิ เรื่องตลาดหุ้น ทิปส์ในการออม และคำแนะนำในการลงทุน

จากข้อมูลเชิงลึกของทวิตเตอร์พบว่าคนที่มีความรู้ความเข้าใจทางการเงินบนทวิตเตอร์ประเทศไทย 42% เชื่อใจการรีวิวผลิตภัณฑ์ออนไลน์ และ 41% ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ แบรนด์ที่มีความเชี่ยวชาญจะเชื่อมต่อกับกลุ่มเป้าหมายบนทวิตเตอร์ด้วยการให้คำแนะนำและข้อมูลเชิงลึกที่มีประโยชน์ และจะมองหาจุดยืนของตัวเองในฐานะที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้วยการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคชาวไทยได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ ทวิตเตอร์เป็นสถานที่ที่มีบทสนทนาเกี่ยวกับเรื่องเงินทองเกิดขึ้นและแบรนด์ทางการเงินก็สามารถเชื่อมต่อกับผู้บริโภคซึ่งมีตั้งแต่บุคคลทั่วไปที่สนใจด้านการเงินส่วนบุคคล คนที่ศึกษาด้านการเงินเป็นงานอดิเรก และผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน คนไทยบนทวิตเตอร์มีทัศนคติของการค้นพบสิ่งใหม่ พวกเขาชอบการเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้ลองสิ่งใหม่และพูดคุยกันถึงเรื่องนั้น บทสนทนาในเรื่องคริปโตเคอร์เรนซี NFTs และเทรนด์ล่าสุดในการลงทุนเป็นหัวข้อที่มีการพูดคุยกันบนทวิตเตอร์ในทุกๆ วัน

อันดับแรกคือการรับฟัง ทุกวันจะมีบทสนทนาเรื่องการเงินที่หลากหลายจำนวนมากเกิดขึ้นบนทวิตเตอร์ประเทศไทย หากแบรนด์ต่างๆ ยอมรับฟัง ก็จะสามารถเข้าใจถึงสิ่งที่มีความสำคัญกับผู้บริโภคได้มากขึ้น เมื่อแบรนด์เข้าไปร่วมวงสนทนาก็ควรนึกถึงโทนเสียง ภาษาที่ใช้ วิธีการสื่อสารรวมไปถึงเรื่องที่เกี่ยวข้อง ชาวทวิตภพไม่ได้เหมือนกันหมด และไม่ใช่ว่าทุกคนต้องการในสิ่งเดียวกัน ภาษาคือสิ่งที่สำคัญในการสื่อสาร หากแบรนด์กระโดดเข้าไปในบทสนทนาของงานศิลปะดิจิทัลอย่าง NFTs โดยที่ไม่สามารถเพิ่มคุณค่าให้กับบทสนทนานั้นๆ ได้ แบรนด์ควรรับฟังผู้คนต่อไป จนกว่าจะมีหัวข้อหรือเรื่องที่เป็นประโยชน์และสามารถเพิ่มลงในบทสนทนานั้นๆ ได้

ทั้งนี้ ข้อมูลเชิงลึกของทวิตเตอร์พบว่าคนไทยบนทวิตเตอร์กำลังคาดหวังนวัตกรรมใหม่ๆ จากแบรนด์ พวกเขาให้คุณค่ากับความคิดเห็นของผู้อื่นและเชื่อในรีวิวบนทวิตเตอร์ แบรนด์ควรมองให้เป็นโอกาสในการเข้าไปเอ็นเกจกับบทสนทนา ทุ่มเทและสนับสนุนให้ผู้บริโภคแชร์ฟีดแบ็ก  แสวงหาความคิดเห็นในเชิงรุก และไม่เพียงแค่สร้างสรรค์ในการทำการตลาด และแคมเปญเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่นำเสนอด้วยเช่นกัน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า