SHARE

คัดลอกแล้ว

สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษและอิตาลีชวนไทยยกระดับเป้าหมายลดการปล่อยมลพิษ เพื่อร่วมมือแก้ปัญหาโลกร้อนก่อนอุณหภูมิโลกสูงเกินควบคุม

วันพุธที่ 5 ธันวาคม 2563 นายไบรอัน เดวิดสัน เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย  และนายลอเรนโซ กาลันติ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิตาลีประจำประเทศไทย ร่วมกันจัดงาน “Climate Change: Metting the Immediate Threat”  ณ ห้องทรู ไอคอน ฮอลด์ ไอคอนสยาม

นายไบรอัน เดวิดสัน เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย

ภายในงาน ดร.จอห์น เมอร์ตัน ทูตพิเศษประเด็น COP26 ของสหราชอาณาจักรได้กล่าวปาฐกถาพิเศษถึงความสำเร็จของสหราชอาณาจักรในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปพร้อมกัน

“ผมสังเกตเห็นสโลแกนของไอคอนสยามกล่าวว่าเป็นเมืองแห่งความรุ่งโรจน์อันเป็นนิรันด์ (The Icon of Eternal Prosperity)” จอห์น เมอร์ตันกล่าวในช่วงเริ่มการปาฐกถา “เป็นประโยคที่น่าสนใจมากสำหรับเหตุการ์สภาวะภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง เพราะเราต้องขบคิดกันว่าจริง ๆ แล้วความรุ่นโรจน์อันเป็นนิรันด์หมายความว่าอย่างไร ”

“ถ้าเราอยากจะรักษาไว้ซึ่งความเจริญรุ่งเรืองในระยะยาวเราก็ต้องแก้ปัญหาสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงให้ได้  เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจ” ทูตพิเศษของสหราชอาณาจักรกล่าว และย้ำกว่าในยุคนี้ประชาคมโลกไม่ต้องเลือกระหว่างสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจแล้ว เนื่องจากสหราชอาณาจักรพิสูจน์ว่าประเทศหนึ่งสามารถยุติการใช้พลังงานที่ก่อมลพิษได้โดยที่ยังสามารถรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง

ดร.จอห์น เมอร์ตัน ทูตพิเศษประเด็น COP26 ของสหราชอาณาจักร

“สหราชอาณาจักรได้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 43% นับตั้งแต่ปี 1990 แต่ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจของเราก็เติบโตขึ้นเป็นเท่าตัว” จอห์น เมอร์ตันกล่าวโดยชี้ว่าสหราชอาณาจักรได้มีการลดการใช้พลังงานจากถ่านหินมาอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าจะยุติการใช้พลังงานจากถ่านหินทั้งหมดภายในปี 2024 ก่อนที่จะเดินหน้ายุติการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ก่อนถึงปี 2050 ซึ่งแนวทางนี้ ปัจจุบันถูกบรรจุไว้ในกฎหมายแล้ว

นอกจากนี้ นายเมอร์ตันยังชี้ว่าช่วงรอยต่อนี้เองเป็นโอกาสให้ “เศรษฐกิจสีเขียว” หรือตัวเลขการเติบโตของภาคธุรกิตเพื่อความยั่งยืนเติบโตขึ้นมา โดยรัฐบาลสหราชอาณาจักรพร้อมให้ความช่วยเหลือภาคส่วนนี้ผ่านนโยบายการคลังต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้การพัฒนาเพื่อสิ่งแวดล้อมก้าวหน้าขึ้น

สหราชอาณาจักรเป็นประธานการประชุมกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP 26) ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2563

ด้านนายลอเรนโซ กาลันติ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิตาลีประจำประเทศไทยกล่าวถึงบทบาทของอิตาลีซึ่งจะเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมเตรียมการเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนถึงเดือนพฤศจิกายน และกล่าวถึงโครงการ Youth For the COP ซึ่งเปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการเสนอทางแก้ปัญหาเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยจะมีทุนให้แก่เยาวชนจากประเทศกำลังพัฒนาได้มีโอกาสเข้าร่วมด้วย

ลอเรนโซ กาลันติ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิตาลีประจำประเทศไทย

นอกจากนี้ยังเผยถึงความพยายามของอิตาลีในการแก้ปัญหาสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง โดยชี้ว่ารัฐบาลบรรจุเรื่องนี้ในแผนงบประมาณเพื่อให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเร่งด่วน

ดร.อาร์มิดา ซัลซีอาห์ อาลิสจาห์บานา เลขาธิการบริหารแห่งคณะกรรมการเศรษฐิกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (the United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific – ESCAP) กล่าวว่าสิ่งสำคัญคือโลกต้องการให้หลายประเทศเพิ่มเป้าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่านี้ โดยเพิ่มมาตรการในหลาย ๆ ภาคส่วน เช่น จากที่สนับสนุนให้มีการเปลี่ยนผ่านไปสู่รถไฟฟ้าก็ควรจะเพิ่มมาตรการในการทำให้ระบบขนส่งสาธารณะเป็นระบบสะอาดโดยสมบูรณ์ด้วย

ดร.อาร์มิดา ซัลซีอาห์ อาลิสจาห์บานา เลขาธิการบริหารแห่งคณะกรรมการเศรษฐิกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (the United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific – ESCAP)

ในโอกาสนี้นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทยก็ได้เข้าร่วมกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ ความคืบหน้าของไทยในการแก้ปัญหาสภาวะภูมิอากาสโลกเปลี่ยนแปลง การจัดลำดับความสำคัญ และแนวคิดเรื่องการเจรจาด้านสภาวะภูมิอากาศ”  โดยกล่าวว่าข้อมูลล่าสุดในปี 2560 ชี้ว่าประเทศไทยสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ร้อยละ 14 จากกรณีปกติในภาคพลังงานและการขนส่ง (หาข้อมุลตรงนี้ประกอบ เขาบอกว่าเป็นปริมาณสองเท่าของเป้าหมายลดก๊าซของไทยใน 2563)

พร้อมยังเน้นย้ำว่า 2020 เป็นปีแห่งการเปลี่ยนผ่านจากการดำเนินงานก่อนปี 2020 มาเป็นการดำเนินเงินภายใต้ข้อตกลงปารีสที่นานาประเทศต้องดำเนินงานตามพันธกรณีของข้อตกลงปารีส รวมถึงการจัดส่งเอกสารการมีส่วนร่วมที่ปรเทศกำหนดฉบับปรับปรุงเนื้อหาให้เป็นปัจจุบัน (Updated Nationally Determined Contribution: updated NDC) และยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ (Long-term Low Emissions and Develop,emt Stratefy, LT-LEDS)

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

“รัฐบาลไทยไม่เคยตื่นตัวเรื่องสิ่งแวดล้อมขณะนี้มาก่อน” นายวราวุธกล่าว แม้ที่ผ่านมาจะมีนักวิชาการไทยออกมาชี้ว่าในการจัดสรรงบประมาณตามพ.ร.บ.งบประมาณพ.ศ. 2563 รัฐบาลไทยจัดสรรงบประมาณเพื่อสิ่งแวดล้อมไว้เพียง 12,867.7 ล้านบาท คิดเป็น 0.4% ของงบประมาณทั้งหมด 3.2 ล้านล้านบาท

การแสดง Climate Performance Art โดยกลุ่ม Art for Earth และภาควิชาศิลปะการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

งาน Climate Change: Metting the Immediate Threat นี้เป็นกิจกรรมแรกที่จัดขึ้นตามแผนงาน ก่อนจะมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดปี 2563 เพื่อเตรียมการสำหรับการประชุม COP26 ในเดือนพฤศจิกายน 2563 และเป็นการนำร่องเพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนขอสังคมยกระดับการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในประเทศไทยเพื่อขยายฐานในการดำเนินงานและส่งเสริมแนวทางที่สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่แท้จริง

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า