Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณีที่รัฐบาลอังกฤษอนุมัติวัคซีนโควิด-19 ของบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) และไบโอเอ็นเทค (BioNTech) โดยจะเริ่มกระจายวัคซีนในสัปดาห์หน้า

วันนี้ workpointTODAY จะพาไปเจาะรายละเอียดแผนการกระจายวัคซีนโควิด-19 ของรัฐบาลอังกฤษ ดังต่อไปนี้

💉 รัฐบาลอังกฤษเป็นรัฐบาลของชาติตะวันตกชาติแรกที่อนุมัติการใช้งานวัคซีนโควิด-19 ของบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) และไบโอเอ็นเทค (BioNTech) โดยนายแมตต์ แฮนค็อก รัฐมนตรีสาธารณสุขอังกฤษมั่นใจว่า การอนุมัติวัคซีนโควิด-19 จะทำให้สถานการณ์ในอังกฤษดีขึ้น เช่นเดียวกับนายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษที่ระบุว่า ประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อของวัคซีนโควิด-19 จะทำให้วิถีชีวิตและเศรษฐกิจของอังกฤษกลับมาอีกครั้ง

💉 การอนุมัติวัคซีนของไฟเซอร์และไบโอเอ็นเทคของรัฐบาลอังกฤษ พิจารณาจากผลการทดสอบที่ทั้งสองบริษัทเปิดเผยว่า มีประสิทธิภาพต้านเชื้อโควิด-19 มากถึง 95% และไม่มีผลข้างเคียงอันตราย ซึ่งแม้จะเป็นการพัฒนาโดยอาศัยเทคโนโลยี mRNA ซึ่งไม่เคยมีวัคซีนใดใช้เทคโนโลยีนี้มาก่อน แต่ผู้พัฒนายืนยันว่า เทคโนโลยีดังกล่าวมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย

💉 ข้อดีของวัคซีนที่พัฒนาจาก mRNA มาจากการที่ไม่ใช้ไวรัสจริงๆ มาผลิตวัคซีน แต่อาศัยกระบวนการที่ซับซ้อนกว่านั้น คือเอารหัสพันธุกรรมของไวรัสมาพัฒนาเป็นวัคซีนอีกที ซึ่งจะส่งผลให้วัคซีนนี้
✔️ ผลิตได้เร็วกว่า
✔️ ปลอดภัยกว่า
✔️ ปรับสูตรง่ายกว่าหากไวรัสกลายพันธุ์

อย่างไรก็ตาม วัคซีนที่อาศัยเทคโนโลยี mRNA มีข้อเสียอยู่ที่
❌ ราคาแพงกว่า
❌ ต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิต่ำมาก
❌ ขนส่งลำบากกว่า
❌ ไม่เคยใช้เทคโนโลยีนี้ผลิตวัคซีนมาก่อน

💉 แม้จะไม่เคยมีวัคซีนชนิดใดในโลกผลิตด้วยวิธีนี้ แต่ความพยายามพัฒนาวัคซีนด้วยการใช้เทคโนโลยี mRNA ถูกวิจัยมานานแล้ว ก่อนหน้าการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยซ้ำ ซึ่ง workpointTODAY เคยสรุปเส้นทางการวิจัยวัคซีนด้วยเทคโนโลยี mRNA ที่มาจากความเชี่ยวชาญของสามีภรรยาคู่หนึ่ง ติดตามได้ที่นี่

💉 รายงานระบุว่า รัฐบาลอังกฤษกำลังพิจารณาแนวทางเพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชน โดยอาจใช้วิธีให้นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ถ่ายทอดสดผ่านทางโทรทัศน์ เพื่อยืนยันว่าวัคซีนโควิด-19 ที่รัฐบาลอังกฤษอนุมัติการใช้งานไม่มีผลข้างเคียงอันตราย

💉 ผู้ที่จะได้รับวัคซีนของไฟเซอร์และไบโอเอ็นเทค 1 คนจะต้องฉีด 2 โดส โดยทิ้งระยะระหว่างวัคซีนโดสแรกกับโดสที่สอง 21 วัน โดยทีมนักพัฒนาเปิดเผยว่า วัคซีนโดสแรกจะมีผลเข้าไปกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันไวรัสโควิด-19 ทันที ส่วนการฉีดโดสที่สองจะเป็นเหมือนตัวกระตุ้น และวัคซีนจะมีประสิทธิภาพเต็มที่หลังร่างกายได้รับวัคซีนโดสที่สองแล้วเป็นเวลา 7 วัน

💉 ก่อนหน้านี้รัฐบาลอังกฤษเปิดเผยว่า ได้สั่งจองวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์และไบโอเอ็นเทคจำนวน 40 ล้านโดส ซึ่งจะครอบคลุมประชากรประมาณ 20 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นประชากร 1 ใน 3 ของทั้งประเทศ โดยมีวัคซีนที่พัฒนาโดยบริษัทโมเดอร์นา (Moderna) และของบริษัทแอสทราเซเนกา (AstraZeneca) ร่วมกับมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด รองรับประชากรส่วนที่เหลือ

💉 อย่างไรก็ตาม วัคซีนโควิด-19 ที่พร้อมใช้ในอังกฤษในสัปดาห์หน้ามีเพียง 800,000 โดส และภายในสิ้นปีนี้จะได้รับวัคซีนมาใช้ก่อน 10 ล้านโดส นั่นเป็นผลให้รัฐบาลอังกฤษเตรียมแผนเพื่อจัดลำดับความสำคัญว่า ใครควรได้รับวัคซีนโควิด-19 ก่อน ดังต่อไปนี้

1️⃣ ผู้สูงอายุและเจ้าหน้าที่ในสถานดูแลผู้สูงอายุ
2️⃣ ผู้มีอายุ 80 ปีขึ้นไป บุคลากรทางการแพทย์ และนักสังคมสงเคราะห์
3️⃣ ผู้มีอายุ 75 ปีขึ้นไป
4️⃣ ผู้มีอายุ 70 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีความอ่อนแอสูงมาก
5️⃣ ผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
6️⃣ ผู้ป่วยมีอายุ 16-64 ปีที่มีความเสี่ยงสูงว่าอาการสาหัสหรือเสียชีวิต
7️⃣ ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
8️⃣ ผู้มีอายุ 55 ปีขึ้นไป
9️⃣ ผู้มีอายุ 50 ปีขึ้นไป

หากทั้ง 9 กลุ่มได้รับวัคซีนครบแล้ว รัฐบาลอังกฤษจะทยอยแจกจ่ายวัคซีนให้กับประชากรที่เหลือต่อไป ซึ่งคาดว่ากลุ่มที่เหลือน่าจะได้รับวัคซีนในปีหน้า

💉 ขณะเดียวกันรัฐบาลอังกฤษได้ประกาศให้โรงพยาบาล 50 แห่งทั่วประเทศ เตรียมเป็นศูนย์รับวัคซีนแล้ว และกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาสนามกีฬา หรือศูนย์ประชุมที่มีความเหมาะสมเพื่อเป็นศูนย์รับวัคซีนโควิด-19 ต่อไป

💉 ข้อจำกัดของวัคซีนไฟเซอร์และไบโอเอ็นเทค ที่ต้องเก็บในอุณหภูมิที่ต่ำมากถึง -70 องศาเซลเซียส กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่สุด โดยจากการประเมินของรัฐบาลอังกฤษชี้ว่า ในกรณีที่มีวัคซีนพร้อมแล้ว รัฐบาลอังกฤษน่าจะสามารถขนส่งวัคซีนชนิดนี้ได้สูงสุดแค่ 1 ล้านโดสต่อสัปดาห์

💉 นอกจากนี้ปัญหาที่หลายคนกังวลคือ การให้วัคซีนกับผู้สูงอายุในสถานดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มแรกที่มีสิทธิได้วัคซีนก่อน เพราะหากพิจารณาจากแผนของรัฐบาลอังกฤษในตอนนี้ก็เท่ากับว่า ผู้สูงอายุเหล่านี้อาจต้องเดินทางไปโรงพยาบาลเพื่อรับวัคซีนโควิด-19 ซึ่งอาจประสบกับความยากลำบาก และอาจมีผู้สูงอายุจำนนวนไม่นน้อยที่ไม่สะดวกไปโรงพยาบาล

💉 แนวทางแก้ปัญหาในกรณีนี้อาจต้องลงเอยด้วยการที่ผู้สูงอายุซึ่งไม่สามารถไปโรงพยาบาลได้ ต้องรอวัคซีนโควิด-19 ที่พัฒนาโดยบริษัทแอสทราเซเนกา (AstraZeneca) และมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดผ่านการอนุมติ แล้วไปรับวัคซีนชนิดนั้นแทน เนื่องจากวัคซีนของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดสามารถเก็บในอุณหภูมิแช่แข็งปกติได้ ทำให้ขนส่งไปยังสถานดูแลผู้สูงอายุได้ง่ายกว่า

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า