SHARE

คัดลอกแล้ว

ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนสังกัดองค์การสหประชาชาติเรียกร้องให้รัฐบาลชาติต่าง ๆ เพิ่มมาตรการกดดันเมียนมา เช่น ยุติการค้าอาวุธให้ ขณะที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล เรียกร้องให้รัฐบาลทหารปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมทันที หลังเมียนมาเกิดการรัฐประหารในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564

24 ชั่วโมงหลังเกิดการรัฐประหารที่เมียนมาโดยนายพลมินอ่องไหล องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนออกแถลงการณ์อย่างคับคั่ง หนึ่งในนั้นคือเสียงจากนักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติที่เรียกร้องให้ปล่อยตัวทุกคนที่ถูกจับกุม กลับมาเชื่อมการสื่อสารด้านอินเตอร์เน็ตและยุติกระบวนการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ทอม แอนดรูวส์ เจ้าหน้าที่พิเศษขององค์การสหประชาชาติระบุว่า “สถานการณ์ฉุกเฉินในเมียนมาเป็นอันตรายต่อกระบวนการประชาธิปไตยที่กำลังก่อร้างสร้างตัวขึ้นในเมียนมา ผุ้เรียกร้องสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยถูกล้อมและคุมตัว พวกเขาต้องการให้โลกยืนอยู่ข้างพวกเขา จึงต้องมีการตอบโต้จากนานาชาติเกิดขึ้น”

ขณะที่มิงยู ฮาห์ รองผู้อำนวยการภูมิภาคฝ่ายรณรงค์ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า การจับกุมอองซาน ซูจี เจ้าหน้าที่ระดับสูงและนักการเมืองคนอื่น ๆ เป็นเรื่องน่าตกใจอย่างยิ่ง ซึ่งหากไม่มีการตั้งข้อหาต่อผู้ถูกควบคุมตัวตามความผิดอาญาอันเป็นที่ยอมรับในกฎหมายระหว่างประเทศ จะต้องปล่อยตัวบุคคลเหล่านั้นโดยทันที

เธอระบุว่าตามหลักการแล้ว “กองทัพเมียนมาต้องชี้แจงว่ามีการใช้ข้อกฎหมายใดในการควบคุมตัวพวกเขา ทั้งยังต้องประกันให้มีการเคารพสิทธิของผู้ถูกจับกุมอย่างเต็มที่ รวมทั้งไม่ให้มีการปฏิบัติที่โหดร้าย ให้พวกเขาสามารถติดต่อครอบครัวและเข้าถึงทนายความที่ตนเลือกได้ ต้องสามารถยืนยันว่าอยู่ในที่ใด และต้องได้รับการรักษาพยาบาล”

“การทำรัฐประหารและการปราบปรามครั้งก่อนในเมียนมาส่งผลให้เกิดความรุนแรงในวงกว้างและการสังหารนอกกระบวนการยุติธรรมโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง เราจึงขอเรียกร้องให้กองทัพใช้ความยับยั้งชั่งใจ ปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรมระหว่างประเทศ และมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้ทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมายโดยเร็วสุดเท่าที่จะเป็นไปได้

“อีกทั้งมีรายงานว่ามีการสั่งปิดกั้นการสื่อสาร ซึ่งการกระทำดังกล่าวยิ่งเป็นภัยคุกคามมากขึ้นต่อประชาชนในช่วงเวลาที่อ่อนไหว โดยเฉพาะในระหว่างการต่อสู้กับโรคระบาดในเมียนมา และในขณะที่ยังมีการทำสงครามในประเทศกับกลุ่มติดอาวุธต่าง ๆ ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อพลเรือนในทุกส่วนของประเทศ ดังนั้นทางการจำเป็นต้องมีการเปิดให้บริการโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตอย่างเต็มที่อีกครั้งโดยทันที”

นอกเจ้าหน้าที่พิเศษขององค์การสหประชาชาติยังระบุว่าประเทศต่าง ๆ จะมีบทบาทในการเข้ามาเพิ่มแรงกดดัน โดยกล่าวว่า “จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีมาตรการตอบโต้ ตั้งแต่การคว่ำบาตรอย่างแข็งขัน และยุติการค้าอาวุธจนกว่าประชาธิปไตยจะหวนคืนมา”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า