SHARE

คัดลอกแล้ว

นานาชาติทยอยให้สัตยาบันในสนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์ฉบับใหม่ จนครบจำนวนที่ต้องการในที่สุด หลังใช้ความพยายามนานกว่า 3 ปี

วันที่ 24 ต.ค. 2020 องค์การสหประชาชาติ (United Nations – UN) เปิดเผยว่าได้รวบรวมรายชื่อประเทศที่ให้สัตยาบันในสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty on the Prohibition of Nuclear Weapons) หรือเรียกสั้นๆ ว่า TPNW ครบ 50 ประเทศแล้ว

ฮอนดูรัสเป็นชาติที่ 50 ที่ตัดสินใจยื่นสัตยาบันสารในสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ โดยสนธิสัญญาฯ จะมีผลบังคับใช้เมื่อมีรัฐภาคียื่นสัตยาบันสารครบ 50 ประเทศ และซึ่งจะนับถัดจากนี้ไปอีก 90 วัน คือวันที่ 22 ม.ค. 2021

นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ ออกมากล่าวชื่นชม 50 ประเทศ ที่มีไทยเป็นหนึ่งในนั้น พร้อมทั้งระบุว่าสนธิสัญญาฉบับนี้เป็นการแสดงออกถึงความมุ่งมั่นที่จะยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์ทั้งหมดออกไปจากโลก ซึ่งเป็นเป้าหมายด้านการปลดอาวุธอันดับหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ

นอกจากนั้น นางเบียทริซ ฟิห์น กรรมการบริหารของโครงการนานาชาติเพื่อการยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์ (International Campaign to Abolish Nuclear Weapons – ICAN) องค์กรที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี 2017 จากความช่วยเหลือในการนำสนธิสัญญาแบนนิวเคลียร์เข้าสู่ที่ประชุม กล่าวว่า ช่วงเวลานี้นับเป็นการสิ้นสุดการรอคอย 75 ปีนับตั้งแต่การทิ้งระเบิดที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ ในที่สุดการรณรงค์หลายทศวรรษก็สัมฤทธิ์ผล ทั้ง 50 ประเทศที่ร่วมให้สัตยาบันได้แสดงให้เห็นถึงภาวะผู้นำที่แท้จริง จากการกำหนดบรรทัดฐานในระดับนานาชาติว่าอาวุธนิวเคลียร์ไม่ใช่เรื่องผิดศีลธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องผิดกฎหมายอีกด้วย

สนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับแรกเกี่ยวกับการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งมีผลผูกพันทางกฎหมาย โดยการห้ามพัฒนา ทดลอง ผลิต จัดเก็บในคลัง ติดตั้ง ถ่ายโอน ใช้ หรือขู่ที่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์ รวมถึงสนับสนุนหรือส่งเสริมกิจกรรมใด ๆ ข้างต้น ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม

สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจาก ICAN และกระทรวงการต่างประเทศระบุว่า นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ได้ให้สัตยาบันสนธิสัญญาฉบับนี้เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2017 และเป็น 1 ใน 3 ประเทศแรกร่วมกับ โฮลีซี และ กายอานา

ด้านชาติมหาอำนาจนิวเคลียร์นำโดยสหรัฐฯ รัสเซีย จีน สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส รวมถึงพันธมิตรของสหรัฐฯ ในองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organzation – NATO) ต่างออกมาคัดค้านสนธิสัญญาฉบับใหม่นี้ โดยให้เหตุผลว่าจะเป็นอันตรายต่อสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non-Proliferation Treaty – NPT) ที่บังคับใช้เมื่อ 50 ปีที่แล้ว และแสดงความกังวลว่าจะเป็นอุปสรรคต่อความร่วมมือในปัจจุบันที่พยายามจะหยุดยั้งการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า