SHARE

คัดลอกแล้ว

องค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสและเม็กซิโก ประจำประเทศไทย เปิดโอกาสเชิญชวนเยาวชนทุกคนในประเทศไทย อายุระหว่าง 15-24 ปี ส่งผลงานศิลปะและสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับหลักการ ‘ยุคสมัยแห่งความเท่าเทียม’ (Generation Equality) แคมเปญระดับโลกที่เรียกร้องการได้รับผลตอบแทนที่เท่าเทียม การแบ่งปันที่เท่าเทียม สำหรับการดูแลที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนและการทำงานบ้านอย่างเสมอภาค รวมถึงการยุติการคุกคามทางเพศและทุกรูปแบบของความรุนแรงที่มีต่อสตรีและเด็กผู้หญิง – การบริการด้านสุขภาพที่ตอบสนองต่อความต้องการและความเสมอภาคในการมีส่วนร่วมในทางการเมืองและการตัดสินใจในชีวิต

ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะได้รับการพิจารณา โดยคณะกรรมการที่มีความเชี่ยวชาญ และจะได้รับเชิญให้ จัดแสดงผลงานในรูปแบบออนไลน์ที่จะเผยแพร่และโปรโมทในเครือข่ายที่กว้างขวางของเรา การจัดแสดงเหล่านี้มีขึ้นเพื่อเป็นงานปิดชุดซีรี่กิจกรรมที่ร่วมกันจัดโดย สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสและเม็กซิโก ประจำประเทศไทย องค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกประจำประเทศไทย ในบริบทของการประชุมยุคสมัยแห่งความเท่าเทียม (Generation Equality Forum) ที่เริ่มการประชุม ณ กรุงเม็กซิโกซิตี้ เมื่อวันที่ 29-31 มีนาคม และจะเสร็จสิ้นการประชุม ณ กรุงปารีส ในวันที่ 30 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม

ประชุมยุคสมัยแห่งความเท่าเทียม (Generation Equality Forum) เป็นงานนานาชาติขนาดใหญ่ ครั้งแรกที่สนับสนุนสิทธิสตรี ตั้งแต่การประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องสตรี ครั้งที่ 4 (The Fourth World Conference on Women) และการนำปฏิญญาปักกิ่งและแผนปฏิบัติการ ปี 1995 (Beijing Declaration and Platform for Action 1995) โดยมีประมุขแห่งรัฐและรัฐบาลเข้าร่วมในการที่จะใช้แผนเร่งรัด ระดับโลกเพื่อความเสมอภาคทางเพศ (Global Acceleration Plan for Gender Equality) ซึ่งประกอบ ด้วยคำมั่นสัญญาระยะห้าปีทั่วโลก ซึ่งร่างโดยกลุ่มแนวร่วมปฏิบัติการหกกลุ่มเพื่อกระตุ้นการ ดำเนินการร่วมกัน; จุดประกายการสนทนาระดับโลกและระดับท้องถิ่นระหว่างรุ่น; ขับเคลื่อนการลงทุน ทั้งภาครัฐและเอกชนที่เพิ่มขึ้น และส่งมอบความก้าวหน้าที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับความเสมอภาค ทางเพศจากรุ่นสู่รุ่นสำหรับเด็กผู้หญิงและสตรี

เกณฑ์การแข่งขัน

ใครก็ตามที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี และอาศัยอยู่ในประเทศไทยมีสิทธิ์ส่งผลงานสร้างสรรค์หรือศิลปะ ที่เกี่ยวข้องกับหนึ่งในหกหัวข้อของแนวร่วมปฏิบัตการ (Action Coalitions) ของการประชุมยุคสมัยแห่ง ความเท่าเทียม (Generation Equality Forum)

  • ความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ: ตระหนักว่าความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศส่งผลกระทบต่อสตรีและ เด็กผู้หญิงในความหลากหลายทั้งหมด เนื่องจากการกระทำใดๆที่ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย เพศ จิตใจหรือความเจ็บปวดทุกข์ทรมานต่อสตรี รวมถึงการคุกคามของการกระทำดังกล่าว การบีบบังคับ หรือ การลิดรอนเสรีภาพโดยพลการ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในที่สาธารณะหรือในชีวิตส่วนตัว
  • สิทธ์ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ: หัวข้อนี้ครอบคลุมถึงแรงงานที่ได้รับและไม่ได้รับค่าตอบแทนและการเข้าถึงและควบคุมทรัพยากรการผลิตและโอกาสทางเศรษฐกิจของสตรี และยังกล่าวถึงปัจจัยเศรษฐศาสตร์มหภาคและจุลภาคที่ส่งเสริม ถึงความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ และการที่สตรีและเด็กผู้หญิงไม่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงโอกาสทาง เศรษฐกิจได้อย่างไร
  • สิทธิ์ในการมีอิสระต่อร่างกายตนเองและสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์: สตรี วัยรุ่นและเด็กผู้หญิงในทุกความหลากหลายควรที่จะมีสิทธิ์เข้าถึงสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธ์ (SRHR) และตัดสินใจได้ด้วยตนเองในเรื่องที่เกี่ยวกับร่างกายโดยปราศจากการกีดกัน ความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติ พวกเขาควรเข้าถึงพวกเขาควรเข้าถึงข้อมูลการศึกษา และบริการที่ครอบคลุมของ SRHR ได้อย่างอิสระ
  • การเคลื่อนไหวสตรีนิยมเพื่อความยุติธรรมด้านสภาพภูมิอากาศ: ตระหนักว่าการขับเคลื่อนเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมนั้นเชื่อมโยงกับความยุติธรรมทางสังคมอย่างแยกไม่ออก ความยุติธรรมด้านสภาพภูมิอากาศรวมศูนย์ความต้องการ ของผู้คนที่เป็นกลุ่มคนชายขอบ มากที่สุด: ผู้ที่พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการดำรงชีวิต ดูแลครอบครัวและได้รับผลกระทบมากที่สุด จากความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ
  • เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อความเท่าเทียมกันทางเพศ: สิ่งนี้หมายถึงวิธีที่สตรีและเด็กผู้หญิง เข้าถึง ใช้ นำและออกแบบเครื่องมือดิจิทัล และยังกล่าวถึงการแบ่งแยกเพศทางดิจิทัล ความรุนแรงด้วย เหตุแห่งเพศและการเลือกปฏิบัติบนออนไลน์ และการที่ผู้หญิงมีบทบาทน้อยกว่าในการสร้างสรรค์งาน ด้านนวัตกรรม
  • การเคลื่อนไหวสตรีนิยมและภาวะการเป็นผู้นำ: สื่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมที่เพิ่มขึ้น ความเป็นผู้นำและการมีอำนาจในการตัดสินใจของเหล่าผู้นำเด็กสาว ผู้หญิงและผู้นำสตรีนิยม ซึ่งรวมถึงผู้ที่ข้ามเพศ เพศทางเลือกและผู้ที่มีสำนึกทางเพศไม่ใช่หญิงหรือชาย (non-binary) ผ่านความพยายามในการยกระดับความเท่าเทียมทางเพศในทุกด้านของการตัดสินใจทางสาธารณชนและเศรษฐกิจ ตลอดจนการส่งเสริมและขยายกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสตรีนิยม การเปลี่ยนแปลงทางเพศ และกฎหมายและนโยบายอื่นๆที่ครอบคลุม

หมดเขตส่งผลงาน

เปิดรับสมัครส่งผลงานเข้าประกวด ระหว่างวันที่ 3-16 มิถุนายน 2564

ประเภทการประกวด

ศิลปะการแสดง

ผลงานไม่จำกัดประเภท ไม่ได้จำกัดแค่การแสดงดนตรี การร้องเพลง การเต้นรำ การแสดง ละครสัตว์ และ การแสดงหลากหลายสาขา

ผลงานที่จะนำเสนอต้องมีความยาวไม่เกิน 5 นาที

ทัศนศิลป์

ทุกรูปแบบของการแสดงออกทางทัศนศิลป์ ไม่ได้จำกัดแค่การระบายสี ประติมากรรม เซรามิก การพิมพ์ สิ่งทอ การออกแบบแฟชั่น กราฟิกอาร์ต ดิจิทัลอาร์ต วิดีโอ สารคดี ภาพยนตร์สั้น และอื่นๆนอกเหนือ จากนี้

ผลงานที่จะนำเสนอต้องมีความยาวไม่เกิน 5 นาที

การแสดงออกทางวาทศิลป์

เราสนับสนุนสื่อกลางทุกรูปแบบในการแสดงออกทางวาจา ไม่ได้จำกัดแค่เพียงการพูดสุนทรพจน์ บทพูดเดียว การแสดงคำพูด ร้อยแก้ว และการอ่านบทกวี

ผลงานที่จะนำเสนอต้องมีความยาวไม่เกิน 5 นาที

การจัดแสดงออนไลน์

คณะกรรมการ ประกอบด้วยศิลปิน นักเคลือ่นไหวเรื่องเพศและองค์กรผู้จัดงาน จะพิจารณาผลงานที่ส่งเข้ามาและจะคัดเลือกผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อสูงสุด 3 คนในการแข่งขันแต่ละ ประเภท ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อทั้งหมดจะได้มีโอกาสนำเสนอผลงานของตนเองต่อหน้าผู้ชมในประเทศ ไทยและอาจจะที่อื่นๆในรูปแบบออนไลน์

ผลงานที่ได้รับคัดเลือกจะถูกจัดแสดงและโปรโมททั่วทั้งเครือข่ายขององค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และอาจจะได้รับเลือกให้จัดแสดงใน Youth Activists ระหว่างงาน UN Women’s Youth Activism Accelerator ในวันที่ 13-15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ถ้าหากเงื่อนไขมาตรการควบคุมโควิด-19 ผ่อนผันลง ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อทั้งหมดอาจจะได้รับเชิญให้ไปบันทึกการแสดงด้วยตัวเองกับทีมงานของสมาคมฝรั่งเศส กรุงเทพ ในวันที่ 24 มิถุนายน 2564 ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับคัดเลือกคาดว่าจะสามารถเดินทางไปยัง สมาคมฝรั่งเศส กรุงเทพ ด้วยตนเองในวันดังกล่าว (24 มิถุนายน) หากเงื่อนไขผ่อนผันลง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นี่

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า