SHARE

คัดลอกแล้ว

จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 กลายเป็นพาดหัวข่าวใหญ่ทั่วโลกมานานกว่า 1 ปี ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนไปจนถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก และได้เตือนเราถึงพลังทำลายล้างของไวรัสที่ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ผู้นำทั่วโลกได้มารวมตัวกันอีกครั้งในวันที่ 8 ถึง 10 มิถุนายน ในการประชุมระดับสูงขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องเอดส์ปี พ.ศ.2564 ณ​ มหานครนิวยอร์ก ซึ่งเป็นการประชุมทางออนไลน์ เพื่อกำหนดวาระใหม่ในการยุติเอดส์ โดยมีผู้นำ นักเคลื่อนไหว ผู้ติดเชื้อและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี เพื่อร่วมกันรับรองปฏิญญาทางการเมืองของสหประชาชาติฉบับใหม่เพื่อให้โลกมุ่งสู่การยุติเอดส์ภายในปี พ.ศ.2573

ตั้งแต่เราพบผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายแรกเมื่อ 40 ปีที่แล้ว มีจำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกพุ่งขึ้นสูงสุดถึง 1.7 ล้านคนในปี พ.ศ.2547 ก่อนจะลดลงเหลือต่ำกว่า 700,000 คนในปี พ.ศ.2562 ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ก็ลดลงเช่นเดียวกัน จาก 2.8 ล้านคนในปี พ.ศ.2541 เหลือ 1.7 ล้านคนในปี พ.ศ.2562 นั่นเป็นเพราะเกิดเทคโนโลยีในการรักษาเพิ่มขึ้นมากมาย และการรักษาเอชไอวีทำให้คนหลายล้านคนมีความหวัง เมื่อสามารถจัดการกับสิ่งที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเสมือนโทษประหารชีวิตได้อย่างมีประสิทธิผล ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2563  ผู้ติดเชื้อเอชไอวีกว่า 26 ล้านคนได้เข้าถึงยาต้านไวรัสที่ช่วยรักษาชีวิตและช่วยให้ผู้ติดเชื้อมีอายุยืนยาวได้เหมือนผู้อื่น

การแก้ไขปัญหาเอชไอวีในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเช่นกันในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในปี พ.ศ.2549ประเทศไทยได้รวมบริการด้านเอชไอวี รวมทั้งการรักษาด้วยยาต้านไวรัส เข้าในระบบหลักประกันสุขภาพ และตั้งแต่ปี พ.ศ.2557  ประเทศไทยได้ให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสแก่ผู้ติดเชื้อสามารถเข้าถึงการรักษา และผู้ติดเชื้อเอชไอวีจะได้รับการรักษาทันทีหลังการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ

การแพร่ระบาดของเอชไอวีส่งผลกระทบต่อกลุ่มต่างๆ ในหลายประเทศ ในประเทศไทยผลกระทบส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับกลุ่มประชากรหลัก อันได้แก่ ชายรักชาย ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย พนักงานบริการและลูกค้าของพวกเขา คนข้ามเพศ ผู้ใช้สารเสพติดด้วยการฉีด และเยาวชนที่มีความเสี่ยงสูงในหลายประเทศ กลุ่มผู้หญิง โดยเฉพาะหญิงสาวและวัยรุ่นได้รับผลกระทบอย่างหนัก แก่นของปัญหาคือความเหลื่อมล้ำอันเป็นเชื้อเพลิงให้เอชไอวียิ่งแพร่ระบาดมากขึ้น

ด้วยการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบในเกือบทุกประเทศขณะนี้ วิกฤตด้านสาธารณสุขอื่น ๆ จึงถูกลืมอย่างง่ายดาย แต่การแพร่ระบาดของเอชไอวียังคงอยู่กับเรา มันยังมีอยู่จริง และโควิด-19 กำลังส่งผลกระทบต่อความก้าวหน้าในการยุติเอดส์

โควิด-19 ได้เผยให้เห็นจุดอ่อนของระบบสุขภาพทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ ถึงกระนั้น องค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และโครงสร้างพื้นฐานที่ได้พัฒนามากว่า 40 ปี จากการแก้ไขปัญหาเอดส์นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง สามารถใช้เป็นแนวทางการทำงานโดยยึดหลักสิทธิมนุษยชนและให้คนเป็นศูนย์กลางในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19  การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพระดับโลกได้ช่วยสนับสนุนการต่อสู้กับโควิด-19  แต่เรายังต้องลงทุนมากกว่านี้และเสริมความแข็งแกร่ง เพื่อปิดจุดอ่อนที่มีในระบบสุขภาพ เพื่อที่โลกจะได้มีความพร้อมและสามารถรับมือกับวิกฤตการณ์ที่จะเกิดขึ้นครั้งต่อไปได้

ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการบริหารของโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ ได้เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์เอดส์โลก ปี พ.ศ. 2564-2569 ซึ่งมีเป้าหมายที่จะปิดช่องว่างที่เป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าในการยุติเอดส์โดยมุ่งแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ มุ่งส่งเสริมสังคมที่มีความเท่าเทียมและเป็นธรรม และได้ตั้งเป้า ซึ่งหากทำได้ จะช่วยให้โลกกลับมาเดินหน้าอย่างมั่นคงเพื่อยุติเอดส์ภายในสิ้นทศวรรษนี้

เพื่อต่อยอดแผนยุทธศาสตร์เอดส์โลก การประชุมระดับสูงขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องเอดส์พยายามปรับเปลี่ยนแนวทางการแก้ไขปัญหาเอชไอวี ปฏิญญาทางการเมืองฉบับใหม่ มีความชัดเจนและสะท้อนถึงความมุ่งมั่น ว่ามีความจำเป็นต้องเพิ่มภาวะผู้นำในการกำหนดแนวทางมุ่งสู่เป้าหมายยุติเอดส์ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่เหลืออยู่

ปฏิญญาทางการเมืองฉบับใหม่นี้ มุ่งเน้นที่จะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง สนับสนุนอย่างเต็มที่ในประเด็นสำคัญ ๆ อาทิ เพศศึกษา สุขภาพทางเพศ อนามัยเจริญพันธุ์ การลดการตีตราและเลือกปฏิบัติ  และการคุ้มครอง สิทธิ ต่างๆ รวมถึงสิทธิมนุษยชนของทุกคน รวมถึงกลุ่มประชากรต่าง ๆ ซึ่งมักถูกกีดกันและถูกให้โทษทางอาญาเนื่องด้วยอัตลักษณ์ทางเพศ วิถีทางเพศ การดำรงชีวิตพึ่งพาอาศัยกัน หรือเพียงเพราะติดเชื้อเอชไอวี

เรารู้ว่าการลงทุนที่เพียงพอในการแก้ไขปัญหาเอชไอวีจะก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่พึ่งประสงค์ ตัวอย่างเช่น การลงทุนเพิ่ม 1 เหรียญสหรัฐฯ เพื่อดำเนินยุทธศาสตร์เอดส์โลกในประเทศที่มีรายได้ระดับต่ำและปานกลาง จะนำมาซึ่งผลตอบแทนในรูปของประโยชน์ทางด้านสุขภาพที่คิดเป็นมูลค่า 7.37 เหรียญสหรัฐฯ

ตอนนี้เป็นเวลาที่ต้องกลับมาผลักดันให้เรื่องสุขภาพเป็นวาระของโลก โควิด-19 เป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งกระจายวัคซีนให้กับทุกคนในทุกพื้นที่ ความเหลื่อมล้ำอันใหญ่หลวงในการเข้าถึงวัคซีนไม่ใช่เรื่องโกหก แต่โลกจะต้องไม่ลืมว่าปัญหาเอชไอวีก็ยังคงอยู่

ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ได้รวมยาต้านไวรัสก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวี หรือยาเพร็พ เข้าเป็นสิทธิประโยชน์ในหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การขยายบริการยาเพร็พและการป้องกันเอชไอวีที่จัดโดยองค์กรภาคประชาสังคมเป็นเครื่องหมายของความสำเร็จของประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาเอชไอวี ด้วยการยอมรับบทบาทสำคัญขององค์กรภาคประชาสังคมในการจัดการเพื่อแก้ปัญหาเอชไอวี ในปี พ.ศ. 2558 หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ขยายความครอบคลุมเพื่อสนับสนุนการจัดบริการที่นำโดยชุมชนและมุ่งเน้นไปที่กลุ่มประชากรหลัก

อีกก้าวที่สำคัญของประเทศไทยคือการรับรองอาสาสมัครภาคประชาสังคมและองค์กรภาคประชาสังคมเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพไทย ซึ่งเป็นกลไกที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล โดยเป็นระบบที่รับรอง ความรู้ในการให้บริการของตัวอาสาสมัครองค์กรภาคประชาสังคม การรับรองการจัดบริการที่ได้มาตรฐานขององค์กรภาคประชาสังคม และให้เกิดความยั่งยืนในการดำเนินการโดยรับรองเป็น “หน่วยร่วมบริการภาคประชาสังคม” ซึ่งสามารถเบิกจ่ายการจัดบริการจากสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อช่วยยุติเอดส์ในประเทศไทย

และในวันที่ 8 มิถุนายน 2564 เป็นวันประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของโลก เมื่อปฏิญญาทางการเมืองของสหประชาชาติว่าด้วยโรคเอดส์ได้รับการรับรองจากที่ประชุมประชุมระดับสูง ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถ้อยแถลงในการสนับสนุนของประเทศไทยต่อปฏิญญาทางการเมืองว่าด้วยโรคเอดส์ของสหประชาชาติ ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อมุ่งสู่การยุติปัญหาเอดส์ให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งนับเป็นเวลาเกือบ 50 ปี ที่มีการแพร่ระบาดของเอชไอวี

ขณะนี้คือเวลาที่จะต้องเปลี่ยนแปลงการรับมือกับปัญหาเอชไอวี ขณะนี้คือเวลาที่จะต้องทำให้โลกกลับมาเดินหน้ายุติเอดส์ มาทำภารกิจนี้ให้เสร็จสิ้นก

บทความโดย
วินนี เบียนยิมา ผู้อำนวยการใหญ่ โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ
ดร.พัชรา เบญจรัตนาภรณ์ ผู้อำนวยการโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า