SHARE

คัดลอกแล้ว

ไม่กี่วันก่อน มีการเตือนภัยในโลกออนไลน์ ถึงกระแสคอนเทนต์ ตามจับแรงงานผิดกฎหมาย ที่กำลังผุดขึ้นในหลายเมืองของเกาหลีใต้ เพื่อหวังเรียกระแส และยอดบริจาคผ่านแพลตฟอร์ม จนนำมาซึ่งข้อวิพากษ์วิจารณ์ในหลายประเด็น

 

คงต้องบอกว่าเป็นประเด็นที่เรื้อรังมานาน สำหรับกรณีของแรงงานไทย ที่ไปทำงานในประเทศเกาหลีใต้ อย่างผิดกฎหมาย ที่เรียกติดปากกันว่า ‘ผีน้อย’ ซึ่งนับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2567 ทางการเกาหลีใต้ ก็ปราบปรามเรื่องนี้อย่างจริงจังมากขึ้น

โดยกระทรวงยุติธรรมเกาหลีใต้ มีนโยบายชัดเจน ตั้งแต่ 30 ก.ย. ปี 2567 ที่ต้องการปราบปรามชาวต่างชาติ ที่พำนักโดยไม่มีวีซ่าอย่างถูกต้อง จากสถิติครึ่งปีแรก มีการจับกุมสูงถึง 23,724 คน แต่นั่นก็อาจไม่ใช่ตัวเลขที่แท้จริง เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า ที่มีตัวเลขผู้พำนักอย่างผิดกฎหมายกว่า 423,000 คน 

และตามข้อมูลถึงเดือน พ.ค. ปี 2567 พบว่า คนไทย 145,810 คน อาศัยอยู่ในเกาหลีโดยไม่มีวีซ่า หรือใบอนุญาตที่ถูกต้องคิดเป็น 35.1% ของจำนวนชาวต่างชาติทั้งหมด 415,230 คน รองลงมาเป็นเวียดนาม จีน และฟิลิปปินส์

นับจากนั้น ในโลกออนไลน์ถึงได้เริ่มมีการเผยแพร่ วินาทีที่เจ้าหน้าที่ ตม. เกาหลีใต้ ซุ่มจับกุมแรงงานผิดกฎหมายในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมีคนไทยเป็นหนึ่งในเป้าหมายเช่นกัน ด้วยความเข้มงวดลักษณะนี้ อาจเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่สนับสนุนให้ชาวเกาหลีใต้บางส่วน ร่วมกันแจ้งเบาะแสต่อเนื่อง และพัฒนามาเป็นคอนเทนต์ทำกำลังจะพูดถึงนี้ 

[เกิดอะไรขึ้นในคลิปวิดีโอ?]

ภาพวิดีโอสั้นๆ ขณะที่กลุ่มชาย ซึ่งคาดว่าเป็นชาวเกาหลีใต้ กำลังไล่จับตัวผู้หญิงคนหนึ่ง พร้อมตะโกนพูดคุยกันด้วยข้อความหยาบคาย โดยมีใจความสำคัญ ระบุ ให้ตามไปและจับตัวไว้ ถูกเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์

เวลาต่อมา มีการระบุว่า เป็นำคอนเทนต์ของกลุ่มครีเอเตอร์เกาหลีใต้ ทำวิดีโอขณะไล่จับหญิงชาวไทย ที่คาดว่า พำนักอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งส่วนหนึ่งเผยแพร่ในรูปแบบสตรีมมิ่ง เพื่อเปิดรับเงินบริจาคจากผู้ชม

เมื่อวิดีโอนี้เผยแพร่ออกไป ความคิดเห็นหลากหลาย แต่แรงกดดันบางส่วนที่มองว่าไม่เหมาะสม และเป็นการใช้ความรุนแรง ก็ทำให้วิดีโอต้นฉบับหายไปจากโลกออนไลน์

อย่างไรก็ดี ประเด็นนี้ถูกขยายความเพิ่มขึ้น เมื่อวิดีโอเดียวกันนั้น ถูกสาวไทยคนหนึ่งโพสต์พร้อมข้อความแจ้งเตือน ว่าเป็นการล่อซื้อที่สาวไทยต้องระวัง เพราะเกิดขึ้นทั่วประเทศ พร้อมอธิบายรูปแบบของการแจ้งจับดังกล่าว

“เตือนภัยสาวๆ ในเกาหลี ตอนนี้มีพวกผู้ชายเกาหลีบางกลุ่ม ทำเป็นยูทูบเบอร์สร้างกระแสเพื่อทำยอดไลค์ แจ้งจับสาวๆ โดยในทีมจะมี 3 คน ให้คนหนึ่งเป็นนกต่อ หลังจากที่เราเปิดประตูให้ จะทำทีเป็นว่าขอดูดบุหรี่ก่อน และมันจะเรียกเพื่อนอีก 2 คนที่สแตนด์บายข้างนอกรออยู่แล้ว มาพร้อมกับตำรวจเพื่อมาจับ”

นี่เป็นส่วนหนึ่งของข้อความที่โพสต์ พร้อมชี้วิธีการระวังตัวว่า “ถ้ามีคนมีกดกริ่งหน้าห้อ’ แต่ไม่โผล่หน้ามาให้เห็นผ่านตาแมว หรือกล้องหน้าห้องอย่าเปิดเป็นอันขาด ให้รีบโทรหาบอสขึ้นมาเช็กก่อน เพราะถ้าคุณเปิดประตู คุณอาจจะกลายเป็นเหยื่อของพวกนี้ได้”

ในเวลาต่อมา ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หญิงสาวที่ปรากฏในวิดีโอ ได้ถูกส่งตัวกลับประเทศไทยแล้ว แต่ไม่ได้มีการระบุถึงกลุ่มผู้ทำคอนเทนต์แต่อย่างใด

[โลกออนไลน์เสียงแตกทันที]

แจ้งความทำร้ายร่างกายกลับเลย…

ต่อให้สู้คดีก็ไม่ได้ถูกส่งกลับเลย อยู่ได้อีก…

ทำไมถึงกล้ามาเตือน?…

ข้อความแสดงความเห็นเกิดขึ้นหลากหลาย ท้ังในโพสต์เตือนภัยต้นทาง ที่ถูกลบออกไปในเวลาต่อมา รวมถึงช่องทางของสื่อหลายสำนักที่มีการนำประเด็นนี้มารายงาน 

เป็นผีน้อยยังไม่รู้ตัวว่าผิด? เป็นคำถามที่ถามตรงไปยัง ผู้ที่ออกมาโพสต์เตือนภัย ก่อนจะได้รับคำตอบว่า “ตนเองไม่ใช่ผีน้อย ถ้าเขาจะจับพวกผีน้อยจริงแค่แจ้งความค่ะ แต่ไม่ใช่กระทำการแบบคนอื่นเหมือนสัตว์แบบนี้ กฎหมายมีทำตามกฎหมาย ใครจะไปว่าอะไร”

สำหรับ นโยบาย ‘จับแล้วส่งกลับ’ ของรัฐบาลเกาหลีใต้นั้น ไม่ได้มีเพียงเสียงตอบรับด้านดีของประชาชนในไทยประเทศเท่านั้น แต่ยังมีกลุ่มเห็นต่างที่ออกมาเคลื่อนไหว

อย่างที่ กลุ่มนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนและสมาพันธ์สหภาพแรงงานเกาหลี (KCTU) ซึ่งมีสมาชิกกว่า 1.2 ล้านคน ได้เรียกร้องให้รัฐบาลยุติปฏิบัติการนี้ เนื่องจากมองว่า ไม่ได้ผล จึงควรใช้วิธีการที่ผ่อนปรนมากกว่า ด้วยเหตุยังมองว่า เกาหลีใต้เองก็ยังใช้ประโยชน์จากแรงงานเหล่านี้

และหากย้อนกลับไปปลายปีก่อน เคยมีการพูดถึงอาชีพใหม่ ‘รับแจ้งตม. ส่งผีน้อยกลับไทย’ ซึ่งมีคนไทยจำนวนมากที่ร่วมทำอาชีพนี้ ซึ่งมีการให้ข้อมูลต่อว่า อาชีพนี้มีมานานแล้ว เพียงแต่เกิดขึ้นในวงจำกัด และบางส่วนก็ใช้เพื่อกลั่นแกล้งกันเท่านั้น  

[แนวโน้มแรงงานไทยในเกาหลีใต้]

ที่ผ่านมา รูปแบบหนึ่งที่ไทยและเกาหลีใต้ มีการร่วมมืออย่างเป็นทางการ เพื่อเป้าหมายที่จะแก้ปัญหาผีน้อย ลดทอนความไม่ชัดเจนในการทำงาน นั่นคือ การจัดส่งแรงงานไทยไปสาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้ระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ (Employment Permit System: EPS)

ด้วยสถานการณ์ภายในประเทศเกาหลีใต้ ประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานในหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ ภาคการก่อสร้าง ภาคการเกษตร เป็นต้น สืบเนื่องจาก จำนวนประชากรที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อัตราการเกิดต่ำ 

แต่ดูเหมือนสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปี 2568 จะไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อเกาหลีใต้มีการปรับลดโควต้าการจ้างงานแรงงานต่างชาติ รูปแบบ EPS เหลือจำนวน 130,000 คน จากที่เคยมีการนำเข้าแรงงานต่างชาติ จำนวน 165,000 คน จาก 17 ประเทศที่ร่วมลงนาม

และตามรายงาน ในปี 2568  เกาหลีใต้ ได้ประกาศจำนวนโควต้าการอนุญาตจ้างงานแรงงานต่างชาติ (วีซ่า E-9) เหลือจำนวน 130,000 คน เป็นอัตราที่ลดลง 21% เลยทีเดียว อย่างไรก็ดี กรมการจัดหาแรงงานของไทย ยังมองว่า ตลาดแรงงานนี้ยังน่าสนใจ เพราะมีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้น

เช่นนี้แล้ว ดูเหมือนกรณีผีน้อยไทย จะยังเป็นปัญหาเรื้อรัง ที่สร้างผลกระทบ ให้กับประชาชนทั้งสองประเทศ ต่อไปโดยยังไม่มีทางออกที่ชัดเจน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า