SHARE

คัดลอกแล้ว

ดัชนีความยากจนหลายมิติ (MPI) ทั่วโลกประจำปี 2019 ซึ่งโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ระบุว่าผู้คน 1.3 พันล้านทั่วโลกกำลังยากจนในหลากหลายมิติ

วันที่ 13 .. 2562 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ดัชนีความยากจนหลายมิติ (MPI) ทั่วโลกประจำปี 2019 ซึ่งโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดี (11 .. 62) ระบุว่าผู้คน 1.3 พันล้านทั่วโลกกำลังยากจนในหลากหลายมิติ

ดัชนีฯ ทำการศึกษา 101 ประเทศที่แบ่งเป็น 31 ประเทศรายได้ต่ำ, 68 ประเทศรายได้ปานกลาง และ 2 ประเทศรายได้สูง พบว่าประชาชน 1.3 พันล้านคนยากจนหลายมิติ” (multidimensionally poor) และเผชิญความเหลื่อมล้ำอย่างมาก

สำหรับความยากจนหลายมิติหมายความว่าความยากจนไม่ได้กำหนดจากรายได้เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมตัวชี้วัดอื่นๆ อีกหลายประการ อาทิ ภาวะสุขภาพย่ำแย่ คุณภาพงานที่ทำไม่ดี และภัยคุกคามจากการใช้ความรุนแรง

รายงานระบุว่าทุกภูมิภาคและประเทศกำลังพัฒนาต้องดำเนินการต่อต้านความยากจนโดยเฉพาะภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ทะเลทรายซาฮารา (sub-Saharan Africa) และเอเชียใต้ ซึ่งครองสัดส่วนคนยากจนขนาดใหญ่ที่สุดราวร้อยละ 84.5

ภูมิภาคข้างต้นมีความเหลื่อมล้ำอยู่ในระดับสูงมาก โดยแอฟริกาตอนใต้ฯ มีความเหลื่อมล้ำตั้งแต่ร้อยละ 6.3 ในแอฟริกาใต้จนถึงร้อยละ 91.9 ในซูดานใต้ ส่วนตัวเลขในเอเชียใต้อยู่ระหว่างร้อยละ 0.8 ในมัลดีฟส์จนถึงร้อยละ 55.9 ในอัฟกานิสถาน

หลายประเทศในการศึกษาครั้งนี้มีความเหลื่อมล้ำภายในประเทศอยู่ในระดับกว้างมาก เช่น ยูกันดามีความยากจนหลายมิติในจังหวัดต่างๆ ไล่ตั้งแต่ร้อยละ 6 ในกัมปาลาจนถึงร้อยละ 96.3 ในคาราโมจา

นอกจากนั้นประชากรที่ถูกตีตราเป็นคนยากจนกว่า 1.3 พันล้านคน มีมากกว่าครึ่งหนึ่งหรือ 663 ล้านคนเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี และประมาณ 1 ใน 3 หรือ 428 ล้านคนเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี

เด็กเหล่านี้ส่วนใหญ่ราวร้อยละ 85 อาศัยอยู่ในเอเชียใต้และแอฟริกาตอนใต้ฯ โดยราวร้อยละ 90 หรือมากกว่าของเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ในบูร์กินาฟาโซ ชาด เอธิโอเปีย ไนเจอร์ และซูดานใต้ ถูกระบุว่ายากจนในหลายมิติ

ส่วนหนึ่งของรายงานดัชนีฯ ได้ประเมินความคืบหน้าของการบรรลุเป้าหมายที่ 1 ในวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 ซึ่งเป้าหมายที่ 1 จากทั้งหมด 17 เป้าหมาย กำหนดการขจัดความยากจนในทุกรูปแบบและทุกสถานที่

รายงานดัชนีฯ ยังแสดงระดับการลดความยากจนของ 10 ประเทศที่มีจำนวนประชากรรวมกันราว 2 พันล้านคน โดยทุกประเทศมีความก้าวหน้าเชิงสถิติในการบรรลุเป้าหมายที่ 1 โดยเฉพาะอินเดีย กัมพูชา และบังกลาเทศ

อย่างไรก็ตาม รายงานดัชนีฯ ทิ้งท้ายว่าไม่มีมาตรการเดี่ยวใดๆ ที่เพียงพอจะเป็นแนวทางจัดการทั้งความเหลื่อมล้ำและความยากจนหลายมิติ ส่วนการศึกษาอย่างดัชนีฯ, ดัชนีการพัฒนามนุษย์ และค่าสัมประสิทธิ์จีนี (Gini) ซึ่งวัดการกระจายรายได้ของประเทศต่างๆ เป็นเพียงตัวช่วยสนับสนุนข้อมูลสำคัญต่อการดำเนินนโยบายลดความยากจนอย่างมีประสิทธิภาพ

รูปภาพจาก  :: China Xinhua News

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า