Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สภาพัฒน์ เผยภาวะสังคม ไตรมาส 3/2563 อัตราว่างงานยังสูง มีผู้ว่างงานทั้งสิ้น 7.4 แสนคน ส่วนแนวโน้มหนี้ครัวเรือนเพิ่ม ในอัตราที่ชะลอตัว มีมูลค่า 13.59 ล้านล้านบาท สาเหตุหลักมาจากการหดตัวทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ขณะที่คุณภาพสินเชื่อยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด พบหนี้เสียของธนาคารพาณิชย์ สิ้นไตรมาสสองปี 2563 มีมูลค่า 152,501 ล้านบาท ขยายตัว 19.7%

วันที่ 16 พ.ย.2563 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยถึงภาวะสังคม ไตรมาส 3/2563 ว่า อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับสูง โดยในไตรมาสสาม พบว่ามีผู้ว่างงานทั้งสิ้น 7.4 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานเท่ากับ 1.90 ใกล้เคียงกับร้อยละ 1.95 จากไตรมาสที่แล้วซึ่งเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 รุนแรง

เมื่อพิจารณาอัตราการว่างงานตามระดับการศึกษา พบว่าผู้จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีอัตราการว่างงานสูงสุดร้อยละ 3.15 สูงสุดตั้งแต่ปี 2554 รองลงมาเป็นระดับ ปวช. และ ปวส. ร้อยละ 2.79 และ 2.73 ตามลำดับ ขณะเดียวกันแรงงานที่มีอายุระหว่าง 15-19 ปี และ 20-24 ปี มีอัตราการว่างงานสูงขึ้นในไตรมาสนี้เช่นกันที่ร้อยละ 9.4 และ 7.9 ตามลำดับ ชี้ว่าแรงงานที่มีการศึกษาสูงและอายุน้อยเป็นกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่การจ้างงานในไตรมาสสาม ปี 2563 เพิ่มขึ้น โดยผู้มีงานทำมีจำนวน 37.9 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2562 เป็นการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม ที่ร้อยละ 1.8 ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีการเปิดเป็นปกติมากขึ้น ประกอบกับฐานการจ้างงานนอกภาคเกษตรในช่วงเดียวกันปีที่แล้วลดต่ำลงมากจากผลกระทบการส่งออกที่หดตัวและมีการใช้กำลังการผลิตลดลง ทั้งนี้ สาขาที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นได้แก่ สาขาก่อสร้าง การขายส่งและขายปลีก การขนส่ง/เก็บสินค้า ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 4.6 และ 3.3 ตามลำดับ แต่สาขาการผลิตยังคงหดตัวร้อยละ 1.4 ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 ซึ่งนอกจากคำสั่งซื้อที่ลดลงแล้ว อุตสาหกรรมเหล่านี้ยังได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และการแข่งขันกับต่างประเทศ สำหรับภาคเกษตรกรรมแม้ว่าจะอยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก แต่เนื่องจากในหลายพื้นที่ของประเทศยังคงประสบปัญหาภัยแล้ง ทำให้การจ้างงานภาคเกษตรกรรมลดลง ร้อยละ 0.1 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

แม้แรงงานจะมีงานทำแต่ไม่ได้เป็นการทำงานอย่างเต็มที่ ดังจะเห็นได้จากชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยลดลงจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วจากจาก 43.5 ชั่วโมง/สัปดาห์ เป็น 41.6 ชั่วโมง/สัปดาห์ และจำนวนผู้ที่ทำงานล่วงเวลาหรือผู้ที่ทำงานมากกว่า 50 ชั่วโมง/สัปดาห์ลดลงร้อยละ 19.7 ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณผลผลิตและรายได้ของแรงงานที่อาจจะลดลงตามชั่วโมงการทำงานที่ลดลง ซึ่งจะกระทบต่อเนื่องไปถึงกำลังซื้อของครัวเรือน

“อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับสูง และชั่วโมงการทำงานยังลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะกระทบต่อรายได้ และความเป็นอยู่ของครัวเรือนในด้านต่างๆ อีกทั้งแรงงานจบใหม่ แรงงานอายุน้อย และมีการศึกษาสูง ยังมีปัญหาการว่างงานเป็นจำนวนมาก” เลขาธิการสภาพัฒน์ กล่าว

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เ

นอกจากนี้ นายดนุชา ยังเปิดเผยถึง สถานการณ์หนี้สินครัวเรือนในไตรมาสสองปี 2563 มีมูลค่า 13.59 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ชะลอลงจากร้อยละ 4.1 ในไตรมาสก่อน และคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 83.8 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุหลักมาจากการหดตัวทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง รวมถึงมูลค่าหนี้ครัวเรือนที่ยังคงเพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงความเปราะบางทางการเงินของครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหรือมีความเสี่ยงทางรายได้และการมีงานทําจากวิกฤตทางเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เกิดขึ้น

ขณะที่ภาพรวมคุณภาพสินเชื่อยังมีความเสี่ยงและต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยจากข้อมูลยอดคงค้างหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นไตรมาสสองปี 2563 มีมูลค่า 152,501 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 19.7 และมีสัดส่วนร้อยละ 3.12 ต่อสินเชื่อรวม ลดลงจากสัดส่วนร้อยละ 3.23 ในไตรมาสก่อน โดยเป็นผลจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และการผ่อนปรนเกณฑ์การจัดชั้นลูกหนี้ที่ทำให้ภาพรวมคุณภาพหนี้มีสถานการณ์ดีขึ้น

แนวโน้มหนี้สินครัวเรือนในไตรมาสสาม ปี 2563 คาดว่า ความต้องการสินเชื่อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามการผ่อนปรนมาตรการควบคุมการระบาดและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับดีขึ้น เช่นเดียวกับสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP รวมถึงยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) ที่มีแนวโน้มปรับสูงขึ้นได้ตามภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวและสัญญาณการฟื้นตัวที่ยังไม่ชัดเจน

ทั้งนี้ ผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ต่อหนี้ครัวเรือนไทยถือเป็นวิกฤตที่สะท้อนและตอกย้ำถึงความเปราะบางทางการเงินและปัญหาเชิงโครงสร้างของครัวเรือนไทย จากการขาดหลักประกันและภูมิคุ้มกันในการรองรับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ซึ่งที่ผ่านมาภาครัฐและสถาบันทางการเงินได้มีมาตรการในการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบทั้งในกลุ่มลูกหนี้รายย่อยและกลุ่มธุรกิจ ซึ่งในระยะต่อไป หากระยะเวลาของมาตรการช่วยเหลือสิ้นสุดลง และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว จะเสี่ยงเกิดหนี้เสียเป็นจำนวนมาก และครัวเรือนอาจมีการก่อหนี้นอกระบบมากขึ้น โดยเฉพาะการก่อหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค ดังนั้น จึงเป็นความท้าทายของทั้งภาครัฐและสถาบันการเงินในการออกแบบนโยบายการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนในสภาวะของความไม่แน่นอนที่สูงขึ้น

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า