SHARE

คัดลอกแล้ว

 

เฮนเรียตตา โฟร์ ผู้อำนวยการบริหาร องค์การยูนิเซฟ ออกแถลงการณ์ชื่อ “ เด็ก ๆ ไม่สามารถรับผลกระทบของการปิดโรงเรียนต่อไปได้อีกปี” สะท้อนความเร่งด่วนของปัญหาการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ที่ทำให้โรงเรียนต้องปิด ส่งผลกระทบต่อเด็กในด้านต่าง ๆ ไม่ใช่เพียงด้านการศึกษา แต่รวมไปถึงด้านโภชนาการและพัฒนาการของเด็ก ๆ ทั่วโลกด้วย

แถลงการณ์ระบุว่าทุกฝ่ายต้องพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้โรงเรียนสามารถเปิดได้อย่างต่อเนื่อง หรือจัดให้เป็นสถานที่ที่เปิดได้ในลำดับต้นๆ ในมาตรการ เนื่องจากมีหลักฐานมากมายที่ชี้ให้เห็นว่าโรงเรียนไม่ใช่สถานที่หลักของการแพร่เชื้อและการปิดโรงเรียนยังมีผลเสียส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กที่จะส่งผลกระทบไปอีกหลายรุ่นต่อจากนี้

อย่างไรก็ดี สถานการณ์ของโลกสวนทางกับหลักการดังกล่าว โดยระหว่างที่โลกพบกับการแพร่ระบาดระลอกหลัง และแต่ประเทศต่าง ๆ ก็ยังคงเลือกที่จะปิดโรงเรียนและสถานศึกษา ”บางแห่งได้ปิดมาแล้วเกือบหนึ่งปี”

หน่วยงานด้านเด็กขององค์การสหประชาชาติระบุว่าทักษะที่ได้รับผลกระทบ มีตั้งแต่ทักษะการอ่านออกเขียนได้ การคำนวน ตลอดจนทักษะที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตท่ามกลางเศรษฐกิจโลกในศตวรรษที่ 21 นอกจากทักษะต่าง ๆ แล้ว ยังมีความเสี่ยงด้านสุขภาพ พัฒนาการ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ โดยกลุ่มที่ได้ผลกระทบรุนแรงที่สุดคือเด็กกลุ่มเปราะบาง

“การไม่ได้กินอาหารที่โรงเรียน ทำให้เด็กจำนวนมากหิวโหยและมีภาวะโภชนาการที่แย่ลง การขาดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ และการไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวในแต่ละวัน ทำให้เด็ก ๆ ต้องสูญเสียสมรรถภาพทางกายและเกิดความเครียด และเมื่อขาดการสนับสนุนต่าง ๆ จากโรงเรียน ส่งผลให้เด็ก ๆ มีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการถูกทำร้าย การถูกบังคับให้แต่งงาน และการถูกใช้แรงงาน นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมการปิดโรงเรียนจึงควรเป็นทางเลือกสุดท้าย หลังจากได้พิจารณาทางเลือกอื่น ๆ ทั้งหมดแล้ว”

 ข้อมูลของยูนิเซฟระบุว่าการปิดโรงเรียนในประเทศต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อนักเรียนร้อยละ 90 ทั่วโลกในช่วงที่มีการแพร่ระบาดสูงสุด โดยเด็กนักเรียนกว่า 1 ใน 3 ไม่สามารถเรียนทางไกลได้  

ประมาณการณ์ว่า เด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษาจะเพิ่มขึ้นถึง  24 ล้านคน ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา 

“การตัดสินใจเรื่องการเปิดปิดโรงเรียนควรประเมินจากความเสี่ยงของการแพร่ระบาดในแต่ละพื้นที่ การปิดโรงเรียนทั่วประเทศนั้นเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดรุนแรงและระบบสาธารณสุขกำลังแบกรับภาระอย่างหนัก ซึ่งอาจจำเป็นต้องปิดโรงเรียน ก็ควรมีมาตรการคุ้มครองและช่วยเหลือเพื่อให้เด็กบางกลุ่มสามารถเรียนต่อได้ในห้องเรียน เช่น กลุ่มเด็กที่เสี่ยงต่อความรุนแรงในบ้าน หรือเด็กที่ต้องพึ่งพิงอาหารที่โรงเรียน หรือเด็กที่พ่อแม่จำเป็นต้องออกไปทำงานนอกบ้าน

ในพื้นที่ ๆ มีการล็อคดาวน์ โรงเรียนต้องเป็นสถานที่แรก ๆ ที่เปิดก่อนเมื่อรัฐบาลเริ่มผ่อนปรนมาตรการ นอกจากนี้ ควรจัดชั้นเรียนพิเศษเพื่อช่วยให้เด็กที่ไม่สามารถเรียนทางไกล สามารถเรียนตามทันได้ เพื่อไม่ให้พวกเขาต้องถูกทิ้งไว้ข้างหลัง”  ยูนิเซฟแนะ

นอกจากนี้ยังชี้ว่าหากเด็กต้องเผชิญกับการปิดโรงเรียนต่อไปอีก 1 ปี จะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเด็กรุ่นนี้รุ่นเดียวเท่านั้น แต่ “จะส่งผลกระทบต่อไปอีกหลายรุ่นอายุทีเดียว”

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า