Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

รัฐบาลแก้เกม ชิงออกกฎกระทรวงปลดล็อกผลิตสุรา ปาดหน้ากฎหมาย ‘สุราก้าวหน้า’ ทั้งยกเลิกทุนจดทะเบียน-กำลังการผลิต สำหรับการค้า ส่วนในครัวเรือนผลิตดื่มได้เองไม่เกิน 200 ลิตรต่อปี แต่ต้องนำมาให้กรมสรรพสามิตตรวจสอบคุณภาพก่อน

คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการอนุญาต ผลิตสุรา พ.ศ. …  ซึ่งเป็นการอนุมัติ ตามมติของครม. เมื่อ 29 มี.ค. 65 จากการเสนอแนะของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย  มีการปรับปรุงกฎหมายในลำดับรองที่เกี่ยวกับการขอใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตผลิตสุราทั้งระบบ

โดยยกเลิกกฎกระทรวงการอนุญาตผลิตสุรา พ.ศ. 2560 แล้วกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข เกี่ยวกับการขอใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตผลิตสุราฉบับใหม่ ด้วยการปรับปรุงคุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาตผลิตสุราให้มีความเหมาะสม รวมทั้งปรับปรุงขั้นตอนและวิธีการขอใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตผลิตสุรา เพื่อให้จัดเก็บภาษีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

นายณัฐกร อุเทนสุต ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางสรรพสามิต ในฐานะโฆษกกรมสรรพสามิต ชี้แจงรายละเอียดว่า ใบอนุญาตแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ใบอนุญาตการผลิตสุราแช่และสุรากลั่นชุมชน กรณีการค้า ในส่วน ‘สุราแช่’ เดิมคุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาตผลิตเบียร์ ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท หรือกำลังการผลิต 100,000-1,000,000 ลิตรต่อปี ซึ่งในกฎกระทรวงใหม่ยกเลิกทั้งหมด หมายความว่า ‘เบียร์โรงเล็ก’ ต่อไปนี้ไม่จำเป็นต้องมีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท  และไม่จำเป็นต้องมี ‘กำลังการผลิตขั้นต่ำ’ ขณะเดียวกัน ทั้งตัวสินค้าและเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ต้องเป็นไปตามระเบียบของกรมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และระเบียบของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

“อันนี้จะเป็นการปลดล็อกให้กรณีที่เป็นการค้า คือผู้ประกอบอุตสาหกรรม และโรงใหญ่ก็จะได้รับสิทธิ์เช่นเดียวกัน  คือปลดล็อกทุนจดทะเบียนและกำลังการผลิต” โฆษกกรมสรรพสามิต กล่าว

กรณีที่ไม่ใช่การค้า นายณัฐกร กล่าวว่า วันนี้เราอนุญาตให้กรณีที่ไม่ใช่การค้าสามารถผลิตได้ ทำเอง ทานเอง บริโภคเองภายในครัวเรือนอันนี้สามารถทำได้ แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

1. ต้องขออนุญาตกับกรมสรรพสามิต

2. กำลังการผลิตในครัวเรือนจะต้องไม่เกิน 200 ลิตรต่อปี

3. ต้องเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะไม่น้อยกว่าอายุ 20 ปีบริบูรณ์

4. สุรา เบียร์ สุราแช่อื่นๆ เมื่อผลิตแล้วจะต้องนำมาให้กรมสรรพสามิตตรวจสอบคุณภาพก่อน เพื่อป้องกันสารปนเปื้อนต่างๆ ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้

ส่วน ‘สุรากลั่นชุมชน’ โรงเล็ก เดิมต้องมีกำลังการผลิตไม่เกิน 5 แรงม้า กำลังคนไม่เกิน 7 คน วันนี้ขยายให้ ‘โรงขนาดกลาง’ มีกำลังการผลิตไม่เกิน 50 แรงม้า กำลังคนไม่เกิน 50 คน ซึ่งตรงนี้จะเป็นตัวช่วยให้การผลิตสุราชุมชน สามารถขยายตัวได้ เนื่องจากกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ต้นทุนในการผลิตก็จะถูกลง ขณะเดียวพอมี Economies of Scale ถูกลงแล้ว และในที่สุดจะส่งผลให้คุณภาพสุราดีขึ้น เราก็จะสามารถเปิดเป็น S, M, L จากเดิมที่มีแค่ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ไปเลย ตอนนี้ขนาดกลางจะสามารถทำได้ ซึ่งตรงนี้เป็นหัวใจหลักในการปรับแก้กฎกระทรวงนี้

ขณะที่ นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ทำหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเสริมว่า เดิมมีกฎกระทรวงการอนุญาตผลิตสุรา พ.ศ. 2560 แต่มีประชาชนบางส่วนเห็นว่า กฎหมายที่มีอยู่มีความตึงเกินไป อยากให้มีความผ่อนคลายมากขึ้น เพราะฉะนั้นกฎหมายฉบับใหม่นี้  จะทำให้หลายส่วนมีความสบายใจ ไม่ถึงกับ ‘สุดโต่ง’ จนเกินไป และจะมีการดูแลที่สำคัญ 3 เรื่อง คือ 1. ดูแลสุขภาพ  2. ดูแลปัญหาป้องกันอุบัติเหตุ 3. การป้องกันสิ่งแวดล้อม และย้ำ ไม่ได้เอื้อต่อนายทุนอย่างแน่นอน เพราะการปรับร่างกฎกระทรวงในครั้งนี้มีในหลายๆ ส่วนที่ได้พิจารณาถึงความรอบคอบ ผลิตสุราได้ง่ายขึ้นแต่ก็ยังมีมาตรฐานความปลอดภัยด้วย

‘รองนายกฯ วิษณุ’ เผย หากร่างของก้าวไกลไม่ผ่านสภา ก็ไม่จำเป็นเพราะกฎกระทรวงดีเท่าเทียม

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องนี้ว่า เป็นกฎหมายเก่า ซึ่งเดิมเป็น พ.ร.บ.กำหนดภาษีสรรพสามิต ที่ออกมาปีพ.ศ. 2560 ซึ่งชาวบ้านร้องเรียนว่ากฎหมายตึงเกินไป จึงมีการคิดว่าจะทำให้ผ่อนลง แล้วออกกฎหมายฉบับใหม่ ก็คือที่พรรคก้าวไกลเสนอมา แต่เมื่อมาดูแล้วกฎหมายนี้ก็หย่อนไป และเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ผู้ผลิต และกระทบต่อรายได้ภาษีของประเทศ ก็ต้องทำอย่างไรให้พบกันได้ครึ่งทาง ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาแนะนำว่า ไม่ต้องเดือดร้อนไปออกเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แต่ให้ออกเป็นกฎกระทรวง อะไรที่เคยบังคับใช้ตึงเกินไปก็ให้หย่อนลง ก็จะเท่ากับกฎหมายที่พรรคก้าวไกลเสนอ ซึ่งกรมสรรพสามิตก็ได้ยกร่างขึ้นมาฉบับหนึ่ง เสนอมาที่ ครม. เมื่อพิจารณาแล้วก็ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปดู แต่คณะกรรมการกฤษฎีกาก็บอกว่ากฎหมายยังไม่รัดกุม จึงมีการปรับใหม่เป็นกฎกระทรวงฉบับที่ 2 โดยทิ้งฉบับที่ 1 ไป ซึ่งวันนี้ ครม. ได้เห็นชอบ

ยืนยันไม่ใช่การชิงไหวชิงพริบตัดหน้าอะไรกับสภา แต่ต้องการที่จะผ่อนปรนให้สามารถดื่มสุราได้ โดยเฉพาะสุราที่ไม่ได้มีเพื่อการค้า สุราพื้นบ้าน ซึ่งกฎกระทรวงที่ออกมาเป็นการรักษาภูมิปัญญาพื้นบ้านและไม่ทำให้รายได้รัฐบาลลดลง รวมถึงทำให้ผู้ที่ต้องการผลิตสุราสามารถทำได้โดยไม่ต้องไปขออนุญาตให้วุ่นวาย ดังนั้นต้องรอให้กฎกระทรวงนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงจะมีผลบังคับใช้

นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า หากร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้าไม่ผ่านสภา ก็ไม่จำเป็น เพราะกฎกระทรวงฉบับนี้ที่ออกมา มันมีสิ่งที่ดีที่เกือบเท่าเทียม พร้อมยืนยันไม่ได้เป็นการแก้เกม เพราะกรมสรรพสามิตทำกฎกระทรวงนี้มา 6 เดือนแล้ว ก่อนที่พรรคก้าวไกลจะเสนอกฎหมายอีก ถ้ามองอะไรเป็นเรื่องการเมือง ก็เป็นเรื่องการชิงไหวชิงพริบทุกเรื่อง แต่เมื่อเห็นในความจำเป็นของเหตุการณ์ก็ต้องปล่อยไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ก้าวไกล ขอทุกฝ่ายร่วมมือผ่านกฎหมายปลดล็อกสุรา จับตา 2 พ.ย.นี้ จะเข้าสภาฯ

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า