Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

องค์การอนามัยโลก เป็นส่วนหนึ่งของสหประชาชาติ และเป็นหนึ่งในองค์กรระหว่างประเทศที่สำคัญมากที่สุดในการรับมือกับวิกฤตโควิด-19

ในประเทศไทย ทีมงานสหประชาชาติประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย 19 หน่วยงานของสหประชาชาติทำงานกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคมไทยในการผลักดันให้นโยบายและมาตรการในการรับมือกับโควิดนั้น ครอบคลุมทุกๆ คน และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

วันนี้เราได้มีโอกาสพูดคุยกับ กีต้า ซับบระวาล ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทยคนใหม่ ซึ่งเพิ่งเข้าปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 16 มีนาคมที่ผ่านมา

อะไรคือพันธกิจของคุณ ในฐานะผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย?
พันธกิจหลักของสหประชาชาติในประเทศไทยคือการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายในปี ค.ศ. 2030 โดยอาศัยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและคำมั่นที่เรามีร่วมกันว่าจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ในวาระที่สหประชาชาติมีอายุครบ 75 ปีในปีนี้ มนุษยชาติทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกต่างกำลังเผชิญกับความท้าทายจากการระบาดของโรคโควิด 19 ที่ส่อแววว่าจะส่งผลกระทบในระยะยาว และทำให้ความเหลื่อมล้ำในกลุ่มคนที่มีความเปราะบางร้าวลึกขึ้น

กีต้า ซับบระวาล ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทยคนใหม่

ในการฟื้นฟูประเทศและสังคม เราต้องรับมือสถานการณ์และความท้าทายโดยใช้วาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.2030 เป็นพื้นฐาน ในบริบทที่การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมจะส่งผลต่อคนรุ่นหลังอย่างแน่นอน การผลักดันเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปพร้อม ๆ กับการพยุงเสาหลักของสันติภาพและความมั่นคง สิทธิมนุษยชนและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ต้องอาศัยการเสริมสร้างความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคประชาสังคมและภาคเอกชน การสร้างใหม่ให้ดีกว่าเดิมคือความรับผิดชอบของเราทุกคนที่ลงเรือลำเดียวกัน

คุณมาถึงประเทศไทยก็เป็นช่วงกลางเดือนมีนาคม ซึ่งสถานการณ์โควิด 19 กำลังวิกฤต มันส่งผลกระทบกับคุณอย่างไรบ้าง?

ดิฉันมาถึงประเทศไทย คืนวันที่ 14 มีนาคม แต่ดิฉันก็ปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงานแห่งใหม่ได้เพียงสัปดาห์เดียวเท่านั้น แล้วบุคลากรของสหประชาชาติทุกคนต้องหันมาทำงานจากที่บ้าน และนั่นหมายความว่าทั้ง 33 หน่วยงานของสหประชาชาติ กองทุนและโครงการต่าง ๆ ต้องใช้แผนงานสำรองทางธุรกิจอย่างรวดเร็ว และสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนผ่านที่ท้าทายในการทำงานออนไลน์ได้

หลังเธอเข้ารับตำแหน่งในวันี่ 16 มีนาคม 2563 สัปดาห์ถัดมาก็ต้องเริ่มทำงานจากที่บ้านทันที

ในส่วนของดิฉันซึ่งเพิ่งรับตำแหน่งในประเทศไทยมาได้หมาด ๆ ก็ต้องเริ่มทำงานโดยเดินเครื่องเต็มสูบทันที ประการแรก ดิฉันต้องรีบย้ายออกจากที่พักในโรงแรมเพื่อมาอยู่ในเซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ภายในหนึ่งสัปดาห์ ประการที่สอง ดิฉันต้องประสานงานเกี่ยวกับแผนรับมือด้านการพัฒนาของสหประชาชาติต่อภาวะโควิด 19 ผ่านการทำงานออนไลน์ และมุ่งเน้นการบูรณาการและการใช้แนวทางแบบทั่วทั้งสังคมไปในคราวเดียวกัน ประการที่สาม แม้ว่าจะทำงานทางไกล ดิฉันก็ต้องหารือกับรัฐบาลไทยอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่าสหประชาชาติจะสามารถมอบคำแนะนำด้านนโยบายที่ดีที่สุด เพื่อไม่ให้ผู้ที่เปราะบางถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

การทำงานทางไกลไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับดิฉันเลย! ฉันคิดถึงบรรยากาศของสำนักงานและการระดมสมองที่ช่วยให้เราผุดไอเดียที่ยอดเยี่ยมมากมายออกมา ณ ตอนนี้ ดิฉันใช้เวลาหน้าโต๊ะทำงานเกือบทั้งวัน แต่ก็พยายามหาเวลาสำหรับฝึกโยคะเพื่อปรับสมดุลและสร้างความกระปรี้กะเปร่า ดิฉันหัดทำอาหารที่มีประโยชน์ให้ตนเอง เนื่องจากครอบครัวยังอยู่ที่กรุงนิวเดลี กำลังรอให้พรมแดนเปิดอีกครั้งเพื่อที่จะได้ตามมาสมทบกับดิฉันที่นี่

คุณคิดว่า อะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในสถานการณ์นี้

นายอันโตนิอู กุแตเรซ เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวว่าวิกฤตโควิด 19 คือ “ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง” เขายังเน้นย้ำในรายงานล่าสุดของเขาว่าประชาคมโลกต้อง “รับผิดชอบร่วมกันเพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันทั่วโลก” เพื่อให้การรับมือต่อการระบาดของไวรัสเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สหประชาชาติกำลังยกระดับการช่วยเหลือโดยตรงในด้านมนุษยธรรมและสุขภาพ ควบคู่ไปกับการพัฒนาอย่างเร่งด่วนในนานาประเทศ รวมถึงประเทศไทย เพื่อจัดการกับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่จะตามมา

เห็นได้ชัดว่าประชากรกลุ่มที่เปราะบางที่สุดคือแรงงานข้ามชาติและผู้ที่ทำงานในเศรษฐกิจนอกระบบ รวมไปถึงครัวเรือนที่มีรายได้ปริ่มเส้นความยากจนก็มีแนวโน้มที่จะตกอยู่ในความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้น

กีต้า ซับบระวาล ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทยส่งต่อข้อความให้กำลังใจด้วย #ThailandStayStrong ให้ประเทศไทยก้าวพ้นวิกฤตนี้ไปได้

เราต้องอาศัยแนวทางแบบองค์รวมและความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาคมโลก เพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตและเศรษฐกิจให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ในโมงยามแห่งวิกฤตการณ์ ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นประชากรที่เปราะบางมากที่สุด และประเทศไทยก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น มีการคาดการณ์ว่าความรุนแรงทางเพศจะเพิ่มขึ้น เหมือนครั้งที่ไวรัสอีโบล่าระบาดในแอฟริกาตะวันตก แต่ไม่ว่าจะอย่างไร สหประชาชาติพร้อมที่จะสนับสนุนประเทศไทยในการจัดการกับความท้าทายเหล่านี้
ประเทศไทยจะกลับมาจากวิกฤตโควิด 19 ได้อย่างไร

แม้จะค่อนข้างแน่นอนแล้วว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกจะส่งผลกระทบทั่วทั้งภูมิภาค รวมถึงประเทศไทย ดิฉันยังคงมั่นใจว่าเมื่อกลยุทธ์กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจถูกนำมาใช้ เราจะได้เห็นการฟื้นตัวและการสร้างงานอย่างรวดเร็ว แต่สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักนั้นอยู่ที่ว่า ประเทศไทยจะฟื้นตัวจากช่วงเวลาอันยากลำบากที่จะมาถึงได้เร็วแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์และการรับมือของประเทศไทยในการปกป้องผู้ที่เปราะบางที่สุด

ดิฉันไม่คิดว่าการใช้ชีวิตของผู้คนบนโลกใบนี้ รวมถึงในประเทศไทย จะกลับไปเป็นเหมือนเดิมหลังจากการระบาดใหญ่จบลง และมันเป็นไปไม่ได้ที่จะเหมือนเดิม ดิฉันเชื่อว่าเราคงรู้ซึ้งแล้วว่าชีวิตของเราทุกคนเกี่ยวโยงต่อกันและกันและต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร หลายสิ่งที่เราเคยเผลอมองข้ามไปนั้นช่างบอบบางเพียงไหน และคุณค่าที่แท้จริงของชีวิตคืออะไร สงครามโลกครั้งที่สองก่อให้เกิดความตระหนักที่คล้ายคลึงกัน และเป็นจุดกำเนิดของสหประชาชาติ นับตั้งแต่นั้นจนถึงวันนี้ในวาระครบรอบ 75 ปีของเรา อาจมีการทำงานหลายด้านที่ยังไม่เข้ารูปเข้ารอย แต่ดิฉันเชื่อเหลือเกินว่ายังมีโอกาสดี ๆ รออยู่สำหรับโลกของเราในการตั้งเป้าหมายใหม่และสร้างอนาคตให้ดีกว่าเดิมอย่างแท้จริง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า