SHARE

คัดลอกแล้ว

การประกาศเรียกเก็บภาษีกับนานาประเทศใน “วันปลดแอก” โดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ ได้ทำให้ความตึงเครียดทางการค้าทั่วโลก ทวีความรุนแรงขึ้น และส่งผลให้ตลาดการเงินทั่วโลกผันผวนอย่างรุนแรง นักลงทุนตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อมาตรการที่เกินความคาดหมาย ทั้งในแง่ระดับภาษีและประเทศที่มีการขึ้นภาษีสินค้านำเข้า ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงลงอย่างหนัก จากความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าตลาดจะฟื้นตัวเล็กน้อยหลังประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศชะลอการเก็บภาษีตอบโต้เป็นเวลา 90 วัน แต่แนวโน้มในระยะสั้นยังคงไม่แน่นอน

การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของนโยบายการค้าสหรัฐฯ
เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2568 ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าที่สูงที่สุดในรอบศตวรรษ ซึ่งกำหนดอัตราภาษีขั้นต่ำร้อยละ 10 สำหรับสินค้านำเข้าจากทุกประเทศที่ส่งออกมายังสหรัฐฯ เริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 เมษายน และตามมาด้วยภาษีตอบโต้ในอัตราที่สูงกว่า สำหรับประมาณ 60 ประเทศที่มีดุลการค้าเกินดุลกับสหรัฐฯ มีผลในวันที่ 9 เมษายน
อย่างไรก็ตาม เพียง 13 ชั่วโมงหลังจากที่ภาษีตอบโต้เริ่มมีผลบังคับใช้ ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ประกาศพักการเก็บภาษีดังกล่าวเป็นเวลา 90 วัน ซึ่งหมายความว่าอัตราภาษีของสหรัฐฯ สำหรับสินค้าจากทุกประเทศจะอยู่ที่ร้อยละ 10 ตลอดช่วงเวลาดังกล่าว โดยมีข้อยกเว้นสำหรับจีน ซึ่งอัตราภาษีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 145 สำหรับสินค้านำเข้าทั่วไป และร้อยละ 120 สำหรับพัสดุขนาดเล็กจากจีน แต่การพักชำระภาษีนี้ไม่ครอบคลุมถึงภาษีเฉพาะกลุ่ม เช่น รถยนต์ เหล็ก และอลูมิเนียม

[ การตอบสนองของตลาด ]

ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงลงอย่างรุนแรงทันทีหลังการประกาศมาตรการภาษีใน “วันปลดแอก” เนื่องจากนักลงทุนกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของสงครามการค้าที่อาจยืดเยื้อ โดยมาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อลดความไม่สมดุลทางการค้า แต่กลับสร้างความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น

แม้ตลาดจะฟื้นตัวระยะสั้นหลังจากการพักการเก็บภาษีตอบโต้ แต่การเก็บภาษีร้อยละ 10 สำหรับสินค้าทุกรายการยังคงเป็นการปรับขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายสิบปี ทำให้บริษัทต่างๆ ยังคงระมัดระวังในแผนธุรกิจ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลง ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ทวีความรุนแรงขึ้นยังเป็นอีกปัจจัยที่กดดันความเชื่อมั่นของนักลงทุน

[ การตอบโต้ vs การเจรจา: ปฏิกิริยาที่แตกต่างกัน]

ประเทศต่างๆ มีการตอบสนองต่อมาตรการภาษีแตกต่างกันออกไป โดยจีนตอบโต้ในทันทีด้วยการเก็บภาษีสินค้าจากสหรัฐฯ สูงถึงร้อยละ 125 พร้อมทั้งกำหนดข้อจำกัดทางการค้าเพิ่มเติม ส่งผลให้เมื่อรวมกับภาษีที่มีอยู่ก่อนหน้า สินค้าจากสหรัฐฯ ที่นำเข้ามายังจีนจะถูกเก็บภาษีรวมประมาณร้อยละ 140

อย่างไรก็ตาม การตอบโต้ของจีนก็ส่งผลให้สหรัฐฯ เพิ่มมาตรการตอบโต้เช่นกัน ซึ่งทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าจะเกิดสงครามการค้าที่ยืดเยื้อ เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ รัฐบาลจีนกำลังพิจารณามาตรการกระตุ้นหลายประการ เช่น การส่งเสริมการบริโภคในประเทศ ให้การสนับสนุนภาคการส่งอออก และการจัดตั้งกองทุนเพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดหุ้นในประเทศ
ในขณะเดียวกัน ประเทศอื่นๆ เลือกที่จะใช้แนวทางการเจรจา ซึ่งคาดว่าจะเป็นกระบวนการที่ใช้เวลาและซับซ้อน

[ แนวโน้มตลาดในอนาคต ]

ในระยะสั้น ทิศทางของตลาดโลกจะขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ของการเจรจาทางการค้าระหว่างประเทศต่างๆ จนกว่าจะบรรลุข้อตกลงที่เป็นรูปธรรม ความเชื่อมั่นของนักลงทุนจะยังคงเปราะบาง จากความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ เงินเฟ้อที่สูงขึ้น และความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจถดถอย

การเทขายในตลาดรอบล่าสุดมีต้นเหตุหลักจากการประกาศนโยบายด้านภาษีสินค้านำเข้า หากตลาดยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบต่ออำนาจการเจรจาของประธานาธิบดีทรัมป์ ซึ่งอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงท่าทีในเชิงอ่อนลง อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงนี้ตลาดจะยังคงผันผวน

เมื่อมองไปข้างหน้า สถานการณ์อาจเริ่มดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง หากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของทรัมป์ เช่น การลดภาษีและการผ่อนคลายกฎระเบียบ มีผลในทางปฏิบัติ นโยบายเหล่านี้จะเป็นแรงหนุนให้สินทรัพย์เสี่ยงฟื้นตัวได้

[ คำแนะนำสำหรับนักลงทุน : สร้างพอร์ตการลงทุนที่แข็งแกร่ง ]

‘กิดอน เจอโรม เคสเซล’ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผลิตภัณฑ์เงินฝากและบริหารการลงทุนบุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย แนะนำให้ใช้กลยุทธ์การจัดพอร์ตที่ระมัดระวัง ป้องกันความเสี่ยง และมีการกระจายการลงทุนอย่างเหมาะสม เพื่อรับมือกับความผันผวนในระดับสูง
กลยุทธ์หลักที่ควรพิจารณา ได้แก่

  • ลดความเสี่ยงจากการกระจุกตัว : กระจายการลงทุนในหลายสินทรัพย์ หลายภูมิภาค และหลากหลายอุตสาหกรรม
  • ให้ความสำคัญกับการลงทุนในสินทรัพย์กลุ่ม Core : ใช้กลยุทธ์ถัวเฉลี่ยต้นทุน (Dollar-Cost Averaging :DCA) เพื่อสร้างการลงทุนระยะยาวในสินทรัพย์คุณภาพ
  • ตราสารหนี้เพื่อความมั่นคง : ตราสารหนี้ระดับลงทุนได้ (Investment Grade) จะช่วยสร้างรายได้ที่มั่นคงและลดความผันผวนจากตลาดหุ้น
  • หุ้นปันผล : เลือกบริษัทที่ปัจจัยพื้นฐานดีและจ่ายปันผลสม่ำเสมอ เพื่อลดผลกระทบจากเงินเฟ้อและสร้างความมั่งคั่งระยะยาว
  • สินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยง : ทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ที่เหมาะแก่การกระจายความเสี่ยงในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน ช่วยป้องกันความเสี่ยงในช่วงที่ตลาดปรับตัวลงและความเสี่ยงด้านค่าเงินโอกาสการลงทุนเชิงกลยุทธ์ (Tactical Opportunities)
  • จีน : แม้เผชิญกับแรงกดดัน แต่ด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นและมูลค่าหุ้นที่น่าสนใจ จึงเป็นหนึ่งในทางเลือกการลงทุน
  • หุ้นกลุ่มการเงินในประเทศพัฒนาแล้ว: อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ที่เพิ่มขึ้นและเงินปันผลที่น่าสนใจ ทำให้เป็นทางเลือกที่เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มองหารายได้ประจำ

ท่ามกลางภูมิทัศน์การค้าที่เปลี่ยนแปลง ความผันผวนของตลาดอาจยังอยู่ต่อไป นักลงทุนควรยึดเป้าหมายระยะยาว กระจายการลงทุน และมีวินัยในการลงทุน เพื่อปกป้องและเพิ่มพูนความมั่งคั่งในช่วงเวลาที่ท้าทาย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า