SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ. เผย ล่ามคนไทยติดเชื้อโควิดจากซาอุฯ กลับมารักษาตัวที่ไทยล่าสุดเสียชีวิต เป็นรายที่ 59

วันที่ 18 ก.ย. 2563 นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยไทม์ไลน์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 เสียชีวิตที่โรงพยาบาลราชวิถีในวันนี้ว่า ผู้เสียชีวิตเป็นชายไทย อายุ 54 ปี เป็นเจ้าหน้าที่สถานทูตไทย ปฏิบัติงานเป็นล่ามของสำนักงานแรงงาน กรุงริยาด ประเทศซาอุดิอาระเบีย  ตรวจพบเชื้อโควิด-19 และมีปอดอักเสบ ร่วมกับมีภาวะวิกฤติทางระบบทางเดินหายใจ โดยตั้งแต่ต้นเดือนก.ค. เริ่มมีอาการเล็กน้อย วันที่ 21 ก.ค. ตรวจและพบเชื้อโควิด-19 ทางซาอุดิอาระเบียยังไม่ได้ให้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ให้กลับบ้าน

ระหว่างนั้นผู้ป่วยได้พูดคุยผ่านทางกรุ๊ปไลน์ของกระทรวงสาธารณสุขที่ตั้งขึ้นสำหรับให้คำแนะนำคนไทยในต่างประเทศ ซึ่งเราได้แนะนำว่าถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้เข้าไปรักษาตัวในโรงพยาบาล จนกระทั่งวันที่ 26 ก.ค. ผู้ป่วยมีอาการมากขึ้น หายใจไม่ทั่วท้อง มีไข้ ไอ จึงเข้าแอดมิทในโรงพยาบาลประเทศซาอุดิอาระเบีย รักษาตัวอยู่ราว 4-5  วันอาการแย่ลง มีการย้ายเข้ารักษาในห้องไอซียู ในวันที่ 31 ก.ค.

วันที่ 10 ส.ค. คนไข้หยุดหายใจ ต้องมีการปั๊มหัวใจและใส่ท่อช่วยหายใจ ผลการตรวจเชื้อโควิด-19  วันที่ 21 ก.ค. ผลเป็นบวก วันที่ 5 ส.ค. ผลเป็นบวก กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงแรงงานประสานว่าผู้ป่วยอยากกลับมาไทย วันที่ 25 ส.ค. และ วันที่ 30 ส.ค.  ก่อนกลับไทย ตรวจเชื้อ ผลเป็นลบ จึงนำส่งด้วยเครื่องบินโรงพยาบาล วันที่ 1 ก.ย. โดยระหว่างเดินทางไม่ได้ใส่ท่อช่วยหายใจ  ถึงไทย 01.36 น. วันที่ 2 ก.ย. โรงพยาบาลราชวิถีไปรอรับโดยใช้แคปซูลทรานเซอร์ ไม่สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วยแม้ผลตรวจเชื้อเป็นลบ

ขณะที่ นพ.พจน์ อินทลาภาพร โรงพยาบาลราชวิถี เปิดเผยว่า ตั้งแต่รับตัวผู้ป่วยรายนี้ วันที่ 2 ก.ย. ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องปอดอักเสบก่อนส่งตัวมา แม้การติดเชื้อจากโควิด-19 จะดีขึ้นตามลำดับ  แต่มีการติดเชื้อปอดอักเสบจากแบคทีเรียดื้อยาแทรกซ้อนตั้งแต่เดินทางมาถึงไทย  ทางโรงพยาบาลราชวิถีได้ให้ยาสำหรับรักษาปอดอักเสบจากแบคทีเรียต่อเนื่อง ขณะเดียวกันพบว่าที่ ปอดด้านขวามีเงาทึบ  ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ผู้ป่วยมีภาวะการอักเสบของปอดอย่างรุนแรง จากโควิด-19 ก่อนมาถึงไทย เมื่อเริ่มฟื้นสภาพ จะมีภาวะเป็นพังผืดในปอด ทำให้การหายใจของผู้ป่วยค่อนข้างลำบาก หลังเข้ารับการรักษาไม่ถึง 10 ชั่วโมงต้องใส่ท่อช่วยหายใจ เนื่องหายใจเองไม่ไหว และตรวจพบการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนซึ่งดื้อยาปฏิชีวนะหลายชนิด ทางโรงพยาบาลได้ให้ยาต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ก่อนเดินทางเข้ามาไทย ผู้ป่วยมีอาการหัวใจหยุดเต้น 1 ครั้ง มีการปั๊มหัวใจ 1 ครั้งขณะรักษาที่ซาอุดิอาระเบีย อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจบาดเจ็บ  ดูแลต่อเนื่องถึงไทย ตรวจคลื่นหัวใจก็พบว่าผิดปกติ เสี่ยงทำให้หัวใจทำงานผิดปกติหยุดเต้นได้ จนกระทั่งวันสุดท้าย เป็นอุปสรรคเพื่อรักษาโควิด อาจมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถให้ยาที่มีผลต่อการเต้นของหัวใจ

ผู้ป่วยยังมีโรคประจำตัวของผู้ป่วย มีทั้งโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ระดับน้ำตาลในเลือดก็ค่อยข้างสวิงอยู่ 100 – 140 ทำให้มีความยุ่งยากในการควบคุมน้ำตาลเลือดผลของน้ำตาลที่ควบคุมได้ไม่ดี ส่งผลทำให้การดูแลรักษาจากแบคทีเรียดื้อยาก็จะมีความยุ่งยากขึ้น

เชื้อดื้อยามีการติดเชื้อซ้ำต่อเนื่อง ตอบสนองยารักษาไม่ดี จนกระทั่ง  2 วันที่ผ่านมาต้องเพิ่มยาควบคุมควมดันเลือด 3 ชนิด เนื่องจากมีการติดเชื้อกระแสเลือดอย่างรุนแรง ทั้งนี้ สภาพร่างกายของผู้ป่วยทรุดลงอย่างรวดเร็ว ร่วมกับมีการทำงานล้มเหลวของอวัยวะอื่น ทั้งระบบเลือด ไตวายซึ่งมีผลจากการติดเชื้อ ปัจจัยต่างๆ ร่วมกันจึงทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต

ส่วนกรณีนับผู้เสียชีวิตรายนี้ เป็นผู้เสียชีวิตรายที่ 59 ในไทยหรือไม่นั้น นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค อธิบายว่า โดยทั่วไปเมื่อเราเริ่มนับเมื่อมีผู้ติดเชื้อแล้ว ต้องดูสถานะการรักษาแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ 1.อยู่ระหว่าง 2. รักษาหาย 3. รักษาแล้วเสียชีวิต

ในรายนี้มีการรักษาต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 26 ก.ค. มีการเปลี่ยนโรงพยาบาลและประเทศที่รักษาพยาบาล รวมรักษาต่อเนื่อง 54 วัน “เป็นรายที่เสียชีวิตในประเทศไทย” โดยคณะกรรมการวิชาการ ภายใต้พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ได้พิจารณาให้ความเห็นเพิ่มเติม  เบื้องต้น เป็นเคสตรงไปตรงมามีการติดเชื้อในต่างประเทศ ยืนยันเป็นผู้ป่วยโควิด-19 มีการส่งต่อและมาเสียชีวิตในไทย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า