SHARE

คัดลอกแล้ว

ธุรกิจอัพไซเคิลกำลังเป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในการพัฒนาวัสดุหรือวัตถุดิบเหลือทิ้ง ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ และก็ยังส่งเสริมความยั่งยืนในตอนนี้ได้ด้วย

สภาพตอนนี้ที่การบริโภคขยายตัวทำให้เกิดปริมาณขยะจำนวนมาก ทั้งขยะมูลฝอยชุมชนและขยะพลาสติก รายงาน Global Waste Management Outlook 2024 บอกว่า ขยะมูลฝอยชุมชนทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 3.8 พันล้านตัน ภายในปี 2593 ทำให้ต้นทุนในการจัดการขยะทั่วโลกเพิ่มขึ้น จาก 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2563 เป็น 6.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2593

ส่วนประเทศไทยปี 2566 มีขยะมูลฝอยชุมชนมากถึง 26.95 ล้านตัน หรือเฉลี่ยประมาณ 73,840 ตัน/วัน

ขยะปริมาณมหาศาลเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ทั้งปัญหาการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย และยังเป็นภาระทางคลังของประเทศ

ตอนนี้ความท้าทายในการจัดการขยะจำนวนมาก และต้นทุนในการดำเนินการที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณขยะ ทำให้เกิดแนวคิดในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะ การอัพไซเคิล (upcycle) ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

อัพไซเคิล มาจากคำว่า อัพเกรด (upgrade) ที่หมายถึง การพัฒนาให้ดีขึ้น รวมกับคำว่า รีไซเคิล (recycle) หมายถึง การนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วมาแปรรูปเป็นวัสดุ/ผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพเท่าเดิมหรือใกล้เคียงของเดิม ดังนั้น อัพไซเคิล จึงหมายถึง การนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว มาแปรรูป ออกแบบ ต่อยอด และพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-Design) เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ มีมูลค่ามากขึ้น และสามารถนำไป
ใช้งานได้จริง

ตอนนี้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจกับปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ความต้องการสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงสินค้าและบริการอัพไซเคิลด้วย

บริษัทวิจัยการตลาด Grand View Research ได้รวบรวมมูลค่าตลาดอัพไซเคิลทั่วโลก และคาดการณ์ว่า ในปี 2568 ตลาดอัพไซเคิล จะมีมูลค่า 9.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 5.6 ต่อปี

เป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดวัตถุดิบอัพไซเคิล (upcycled ingredients) ที่คาดว่าจะมีมูลค่ามากกว่า 512 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2575 โดยเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6.4 ต่อปี

ตลาดอัพไซเคิลขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ช่วยให้กระบวนการอัพไซเคิลมีประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตลง อาทิ เทคโนโลยี AI สามารถใช้วิเคราะห์รายละเอียดวัสดุเหลือใช้ ทำให้การแยกขยะมีประสิทธิภาพ แม่นยำ และรวดเร็วขึ้น ใช้วิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการผลิต หรือใช้วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า

เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing) สามารถนำมาใช้ในกระบวนผลิตสินค้าอย่างยั่งยืน และออกแบบสินค้าให้มีเอกลักษณ์ ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจด้วย

ตัวอย่างแบรนด์ผลิตภัณฑ์อัพไซเคิลที่น่าสนใจ อาทิ แบรนด์ Forust ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์และของใช้ในบ้าน ได้นำเศษขี้เลื่อยที่เหลือจากอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ มาขึ้นรูปและใช้เทคโนโลยี 3D Printing ในการออกแบบชิ้นงาน ลายไม้ และสี รวมถึงพิมพ์เป็นรูปร่างต่างๆ อาทิ คอนโซลรถยนต์ โคมไฟ และแจกัน

แบรนด์ The R Collective ของฮ่องกง ผู้ผลิตเสื้อผ้าแฟชั่น ที่ใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์เนื้อผ้าที่เหลือจากกระบวนการผลิต เพื่อคัดเลือกวัสดุผ้าคุณภาพดีที่สุดแล้วนำมาตัดเย็บเป็นชิ้นงานใหม่

แบรนด์ Rothy’s ของสหรัฐอเมริกา ที่ผลิตรองเท้า กระเป๋า และเครื่องประดับ โดยนำขวดพลาสติกมาผลิตเป็นเส้นใยและถักทอด้วยเทคโนโลยี 3D Printing

ในประเทศไทยก็มีผลิตภัณฑ์อัพไซเคิลหลากหลายมากขึ้น และเป็นที่รู้จักมากขึ้น อาทิ แบรนด์ PIPATCHARA ที่ผลิตเสื้อผ้าและเครื่องประดับจากฝาขวดพลาสติก

แบรนด์ Uptoyou ที่ผลิตสินค้าไลฟ์สไตล์หลากหลาย และแบรนด์ PlanToys ที่ผลิตของเล่นจากต้นยางพาราที่หมดอายุการให้น้ำยาง วัสดุเหลือใช้จากการผลิตไม้ ขี้เลื่อย และวัสดุจากธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น

[ อะไรจะช่วยให้ธุรกิจอัพไซเคิลของไทยแข่งขันและเติบโตได้ ]

หลักๆ เลยต้องสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและยอมรับผลิตภัณฑ์อัพไซเคิลให้มากขึ้น รวมถึงการกำหนดมาตรฐานและตราสัญลักษณ์สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการรวบรวมและแยกขยะ ออกแบบ และผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่ช่วยลดปริมาณขยะและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ

มีมาตรการทางการเงิน ภาษี และการลงทุนในธุรกิจหมุนเวียน การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และการส่งเสริมการบริโภคผลิตภัณฑ์อัพไซเคิล

ทั้งหมดนี้จะช่วยให้ไทยเติบโตในธุรกิจอัพไซเคิลได้มากขึ้นในอนาคต

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า