SHARE

คัดลอกแล้ว

รวบ ‘พ.ต.ท. – ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์’ ขายข้อมูลคนไทยให้แก๊งคอลเซนเตอร์ต่างชาติ พบผู้เสียหายถูกฉกข้อมูลเป็นพันราย

พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รองผบ.ตร.) พร้อมด้วย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบช.สอท.) นำแถลงผลปฏิบัติการ ‘เด็ดปีกมังกร’ จับเครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งได้ดำเนินการตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2565 สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ 16 ราย แบ่งเป็น

– กลุ่มรับจ้างเปิดบัญชีม้า 8 ราย

– กลุ่มรวบรวมบัญชีม้าเพื่อส่งต่อให้นายทุนชาวจีน 1 ราย

– กลุ่มที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลผู้เสียหายเพื่อนำไปใช้ในการหลอกลวง 2 ราย

โดยระบุว่า ผู้ที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลของผู้เสียหายเพื่อนำไปใช้ในการหลอกลวง 2 รายดังกล่าว เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งจากการตรวจสอบเส้นทางการเงิน พบเงินจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์โอนเข้าบัญชีของเจ้าหน้าที่รัฐทั้ง 2 รายอย่างต่อเนื่อง คาดว่าทำมานานพอสมควร โดยมีข้อมูลของคนไทยถูกฉกไปขายให้กับแก๊งคอลเซ็นเตอร์แล้วเป็นพันราย โดยเจ้าหน้าที่ทั้ง 2 ราย อยู่ในส่วนงานที่สามารถดูฐานข้อมูลของผู้เสียหายได้ ซึ่งตำรวจจะดำเนินคดีฉ้อโกง และมาตรา 157 เนื่องจากเป็นเจ้าหน้าที่

“สมมุติพี่เป็นตำรวจ ให้เราเช็กทะเบียนราษฎร์หน่อยพี่ก็กด สมมุตินะ แต่อย่าลืมว่ารหัสของพี่ ไอดีการ์ดของพี่มันจะไปขึ้นที่กรมการปกครองว่าใครเป็นคนกดข้อมูล บันทึกเหล่านี้มันจะย้อนกลับมาสู่ตัว สมมุติพี่กดของน้องไป ข้อมูลไปอยู่ที่คอลเซ็นเตอร์ แล้วคอลเซ็นเตอร์โทรกลับไปหาน้อง รู้ได้ไงว่าเรามีบริษัท จดทะเบียนเท่าโน่นเท่านี้ สร้างความเชื่อให้กับคอลเซ็นเตอร์ แล้วคนยิ่งอายุมากๆ ไม่รู้ก็โดนหลอกได้ง่าย” พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผบ.ตร. เล่าพฤติการณ์ของผู้ต้องหาซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ

ผู้สื่อข่าวได้สอบถามจากทางตำรวจว่า เจ้าหน้าที่กระทรวงดังกล่าวเป็นคนดูข้อมูลว่าเหยื่อรายใดรวย มีทุนจดทะเบียนทางธุรกิจด้วยเงินจำนวนมาก แล้วจึงค่อยนำชื่อและข้อมูลไปขายให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช่หรือไม่ หรือว่า แก๊งคอลเซ็นเตอร์ตกเบ็ดเหยื่อได้ก่อน แล้วจึงค่อยมาซื้อข้อมูลของเหยื่อจากผู้ต้องหาในภายหลัง แต่ไม่ได้รับการยืนยันว่า ขั้นตอนใดเกิดขึ้นก่อน-หลัง

รายงานข่าวมีรายละเอียดเพิ่มเติมว่า เจ้าหน้าที่รัฐที่ถูกจับรายแรกเป็นตำรวจ ยศ ‘พ.ต.ท.’  พฤติการณ์คือ จะเข้ารหัสไปกดดูฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของผู้เสียหาย โดยพบว่า เข้าไปกดดูมากจนนับครั้งไม่ถ้วน ส่วนรายที่ 2 มีรายงานว่า เป็นเจ้าหน้าที่ระดับล่างของกระทรวงแห่งหนึ่ง ผู้ต้องหารายนี้จะเข้าระบบไปล้วงข้อมูลการจดทะเบียนการค้า หรือตราธุรกิจของผู้เสียหายไปขายให้กับแก๊งคอลเซ็นเตอร์

อย่างไรก็ตาม ผู้ต้องหาทั้ง 2 ราย จะมีรายได้จากการขายข้อมูลคนไทยเดียวกันให้กับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ชาวจีน วันละ 20,000 บาท หรือ เดือนละ 600,000 บาท ซึ่งทางธนาคารพบการเคลื่อนไหวของเงินจากบัญชีม้าเข้ามายังบัญชีของผู้ต้องหา จึงประสานตำรวจตรวจสอบและจับกุมดังกล่าว

สำหรับผู้เสียหายรายล่าสุดที่ถูกฉกข้อมูลทะเบียนราษฎร์ไปขายให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ เป็นแพทย์อาศัยอยู่ที่จ.เชียงใหม่ โดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ปลอมเว็บไซต์ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI แล้วโทรแจ้งผู้เสียหายว่า ทำความผิดคดีอาญา จะต้องถูกตรวจสอบเงินในบัญชี พร้อมส่งหมายจับปลอมที่มีภาพใบหน้าของผู้เสียหาย และข้อมูลทางธุรกิจไปให้ผู้เสียหายดู ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ โอนเงินไปยังบัญชีม้าจำนวนกว่า 6,970,000 บาท เมื่อรู้ตัวว่าถูกหลอกจึงได้แจ้งความออนไลน์ เมื่อ 21 ก.ค. 65

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า