SHARE

คัดลอกแล้ว

ตายแล้ว 5 ราย หลังสงกรานต์ยอดผู้ติดเชื้อโควิดพุ่งทะลุพันราย สธ. แนะกลุ่มเสี่ยงฉีดวัคซีน ปรับใหม่เป็น “ฉีดวัคซีนประจำปี” ไม่ต้องนับว่าเข็มที่เท่าไหร่

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ว่า จากรายงานสถานการณ์ผู้ป่วยโควิด-19 ภายในประเทศ พบว่า ช่วงวันที่ 16-22 เม.ย. 66 พบผู้ป่วยรายใหม่ 1,088 ราย เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยปอดอักเสบ 73 ราย ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 35 ราย และผู้เสียชีวิต 5 ราย เฉลี่ยน้อยกว่า 1 คนต่อวัน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนกว่า 2 เท่า พบกระจายในหลายจังหวัด โดยเฉพาะเมืองใหญ่ที่มีประชากรหนาแน่น เช่น กรุงเทพฯ ภูเก็ต เชียงใหม่ ชลบุรี ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อในสมาชิกครอบครัว และการร่วมกิจกรรมที่รวมกลุ่มคนจำนวนมาก

สำหรับผู้เสียชีวิต ทั้ง 5 ราย พบว่า เป็นกลุ่ม 608 อายุเฉลี่ย 75 ปี โดย 4 รายที่เสียชีวิตเป็นผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนมาก่อน และอีก 1 ราย ยังไม่ได้รับเข็มกระตุ้น ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เมื่อติดเชื้อแล้วเกิดอาการรุนแรง

ดังนั้น การฉีดวัคซีน หรือวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน จึงยังมีความจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง 608 จะช่วยลดอาการหนักและเสียชีวิตได้ ส่วนผู้ที่มีปัญหาเรื่องการสร้างภูมิคุ้มกัน สามารถฉีดภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป หรือ LAAB ได้เช่นกัน โดยติดต่อขอรับบริการได้ที่สถานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขใกล้บ้าน

นอกจากนี้ ควรสวมหน้ากากอนามัย หากต้องไปร่วมกิจกรรมที่มีคนจำนวนมาก หรือไปในที่สาธารณะ และหากติดเชื้อโควิด-19 ให้เข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาล ซึ่งได้จัดเตรียมยาและวัคซีนไว้ให้บริการอย่างเพียงพอ

[ปรับการฉีดวัคซีนโควิดเป็นประจำปี]

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเสริมว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ปรับคำแนะนำแนวทางการฉีดใหม่ให้เป็น “การฉีดวัคซีนโควิดประจำปี” จึงขอให้ประชาชนเร่งเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ประจำปีก่อนเข้าฤดูฝน ซึ่งจะเริ่มฉีดในปี 2566 เป็นปีแรก โดยฉีดปีละ 1 เข็ม สามารถใช้วัคซีนชนิดใด หรือรุ่นใดก็ได้ โดยให้ห่างจากเข็มสุดท้าย หรือประวัติการติดเชื้ออย่างน้อย 3 เดือน และไม่ต้องนับว่า เป็นเข็มที่เท่าใด อีกทั้งสามารถฉีดพร้อมกับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ โดยฉีดที่ต้นแขนคนละข้าง

[ชายไทยวัย 42 ปี ติดเชื้อ XBB.1.16 มีอาการขี้ตาเหนียว]

ขณะที่ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ระบุว่า ประเทศอินเดีย รายงานว่า พบอาการตาแดง คันตา ขี้ตาเหนียว ทำให้ลืมตาลำบาก โดยเฉพาะในเด็กที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ XBB.1.16 เหมือนกับอาการจมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส เป็นลักษณะค่อนข้างจำเพาะของคนที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา

โพสต์ของนพ.มนูญ ระบุด้วยว่า ผู้ป่วยชายไทยอายุ 42 ปี วันที่ 13 เม.ย. 66 ระหว่างอยู่ต่างประเทศ เริ่มมีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล กลับถึงประเทศไทยวันที่ 16 เม.ย. 66 ตาแดง มีขี้ตาเหนียวทั้ง 2 ข้าง ลืมตาได้ ไม่คันตา ไม่เจ็บตา ตามองเห็นปกติ ไม่มีประวัติโรคภูมิแพ้ เคยติดเชื้อโควิดมกราคม 2565 ครั้งนั้นตาไม่แดง ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา 2 เข็ม และโมเดอร์นา 1 เข็ม วันที่ 17 เม.ย. 66 ตรวจ ATK ให้ผลบวก เอกซเรย์ปอดปกติ ได้ยาโมลนูพิราเวียร์ อาการต่างๆไข้ ไอ ดีขึ้น ตาแดงดีขึ้นใช้เวลา 7 วัน ผู้ป่วยรายนี้น่าจะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 จากต่างประเทศมากที่สุด ทำให้เกิดอาการตาแดง มีขี้ตาเหนียวร่วมด้วย

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0WfCWaCUhjCjtqox4T8CPmsL3DbjLmvKpibzpvAG6LFifzLzHbzT6XhfckV91Ky5Hl&id=100066692243273

หน่วยบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ เช่น

– สถาบันโรคผิวหนัง

– สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

– สถาบันประสาทวิทยา

– สถาบันโรคทรวงอก

– สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

– สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ

– สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี

– ศูนย์การแพทย์บางรัก

– รพ.ราชวิถี

– รพ.สงฆ์

– รพ.เลิดสิน

– รพ.นพรัตนราชธานี

– รพ.มหาวชิราลงกรณธัญบุรี

– รพ.เมตตาประชารักษ์(วัดไร่ขิง)

– รพ.มะเร็งชลบุรี

– รพ.มะเร็งลพบุรี

– รพ.มะเร็งอุดรธานีร่วมกับรพ.ธัญญารักษ์อุดรธานี

– รพ.มะเร็งอุบลราชธานี

– รพ.ประสาทเชียงใหม่

– รพ.ธัญญารักษ์ขอนแก่น

– รพ.โรคผิวหนังเขตร้อนภาคใต้ จ.ตรัง

– รพ.ธัญญารักษ์ปัตตานี

– รพ.มะเร็งสุราษฎร์ธานี

– สถาบันบำราศนราดูร

– ศูนย์บริการสาธารณสุข สังกัดสำนักอนามัย

– ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักการแพทย์ กทม.

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า