กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ หรือ กนอช. สรุปเปรียบเทียบเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2554 และ ปี 2565
พายุเข้าไทย ปี 2554 มีจำนวน 5 ลูก ได้แก่ เดือนมิถุนายน ไห่หม่า เดือนกรกฎาคม นกเตน เดือนกันยายน ไห่ถาง ต้นเดือนตุลาคม เนสาด ปลายเดือนตุลาคม นาลแก
ปี 2565 ไม่มีพายุหมุนเขตร้อนเข้าสู่ประเทศไทยโดยตรง โดยพายุโซนร้อน มู่หลาน (11 ส.ค.) และ หมาอ๊อน (24 ส.ค.) เคลื่อนตัวมาแล้วอ่อนกำลังลงก่อนถึงไทย จึงส่งผลกระทบไม่มาก คาดว่า พายุโซนร้อน โนรู จะเข้าไทยในช่วงวันที่ 29-30 ก.ย.
ปริมาณฝนสะสม ปี 2554 ฤดูฝนในประเทศไทย เริ่มต้นเร็วกว่าปกติ และมีฝนตกต่อเนื่อง โดยไม่มีภาวะฝนทิ้งช่วง ปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งปีสูงกว่าค่าปกติ ประมาณร้อยละ 24 และมีค่ามากที่สุดในคาบ 61 ปี นับจากปี 2494 ปริมาณฝนสะสม ตั้งแต่ ม.ค. – ก.ย. 54 เท่ากับ 1,562 มิลลิเมตร
ปี 2565 ตั้งแต่ ม.ค. – ก.ย. 65 ปริมาณฝนทั้งประเทศ สูงกว่าค่าเฉลี่ย 30 ปี ประมาณ 205 มิลลิเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 16 และในช่วงเวลาเดียวกัน ปริมาณฝนทั้งประเทศ ต่ำกว่าปี 54 ประมาณ 92 มิลลิเมตร
หรือคิดเป็นร้อยละ 6
ส่วนปริมาณน้ำท่า ปี 2554 ปริมาณน้ำไหลผ่าน แม่น้ำเจ้าพระยา (C2) จ.นครสวรรค์ ประมาณ 4,236 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา (C13) ประมาณ 3,703 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
ปี 2565 ปริมาณน้ำไหลผ่าน แม่น้ำเจ้าพระยา (C2) จ.นครสวรรค์ ประมาณ 1,968 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา (C13) ประมาณ 1,989 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
ปริมาณน้ำในอ่าง ปี 2554 มีน้ำเก็บกัก 61,918 ล้านลูกบาศก์เมตร น้ำใช้การ 38,413 ล้านลูกบาศก์เมตร ปี 2565 มีน้ำเก็บกัก 49,672 ล้านลูกบาศก์เมตร น้ำใช้การ 26,135 ล้านลูกบาศก์เมตร
พื้นที่น้ำท่วม ปี 2554 กินบริเวณกว้างกว่า 5.5 ล้านไร่ ปี 2565 พื้นที่น้ำท่วมกินบริเวณกว้างกว่า 1.85 ล้านไร่
สรุปพื้นที่น้ำท่วม ต่างกัน 3 เท่าตัว สิ่งที่เหมือนกัน คือเกิดปรากฏการณ์ลานีญาเช่นกัน ทำให้ฝนมาเร็วและส่งผลให้หลายพื้นที่ของประเทศมีปริมาณน้ำฝนสะสมสูงขึ้น แต่ไม่รุนแรงเท่าปี 2554
ขอบคุณภาพปกจาก :