SHARE

คัดลอกแล้ว

ระทรวงการคลัง ชี้แจงกรณีร้านค้าร่วมโครงการ ‘คนละครึ่ง’ ถูกเก็บภาษีย้อนหลัง

(ตัวอย่าง จากทวิตเตอร์ @Pink_Siripipat)

วันที่ 2 พ.ค. 2565 นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ออกแถลงการณ์ชี้แจงประเด็นข้อวิจารณ์ร้านค้าโครงการคนละครึ่งถูกเก็บภาษีย้อนหลัง สืบเนื่องจากกระแสในโซเชียลมีเดีย กรณีร้านค้าหลายแห่งงดรับการจ่ายเงินผ่านโครงการคนละครึ่ง รวมถึงระบบการจ่ายเงินผ่าน e-wallet หรือกระเป๋าตังค์ของรัฐ เพราะถูกเรียกเก็บภาษีรายได้บุคคลธรรมดาย้อนหลังจำนวนมาก สะท้อนว่านายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจไม่เข้าใจปัญหาความความเดือดร้อนของประชาชนอย่างแท้จริง ภายใต้บรรยากาศเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ค่าครองชีพพุ่งสูง แต่มาตรการช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลกลับมีการขูดรีดภาษีเป็นการซ้ำเติมประชาชน

โดยกระทรวงการคลัง ชี้แจงว่า ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะประกอบกิจการที่เข้าร่วมโครงการของรัฐหรือไม่ หากผู้ประกอบการมีเงินได้พึงประเมินถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด มีหน้าที่ต้องนำเงินได้พึงประเมินมายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นการประเมินตนเองของผู้ประกอบการ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำเอกสารหลักฐานต้นทุนในการประกอบกิจการมาหักค่าใช้จ่ายจากยอดขายเพื่อคำนวณภาษีเงินได้ที่จะต้องชำระ หรือหากไม่มีการเก็บเอกสารหลักฐานต้นทุนก็สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตามที่กฎหมายกำหนดได้ ซึ่งภาระภาษีของผู้ประกอบการขึ้นอยู่กับรายได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายตามจริง หรือในอัตราเหมาตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งค่าลดหย่อนต่างๆ ทั้งนี้หากรายได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนดังกล่าวไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนด ผู้ประกอบการจะไม่มีภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จะต้องชำระแต่อย่างใด

และสำหรับผู้ประกอบการที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร และเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ รวมทั้งนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่กรมสรรพากรตามที่กฎหมายกำหนดไว้อีกประการหนึ่งด้วย นอกจากนี้ กรมสรรพากรได้พัฒนากระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ในการจดทะเบียน ยื่นแบบภาษี ชำระภาษี และคืนภาษี ทุกขั้นตอนผ่านระบบ Tax from Home ซึ่งเป็นการช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการ ผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th

ทั้งนี้ รัฐบาลดำเนินโครงการคนละครึ่งเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชน และส่งผ่านกำลังซื้อไปสู่ผู้ประกอบการให้มีรายได้เพิ่ม เมื่อผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มขึ้นแล้วและอยู่ในเกณฑ์เสียภาษีตามกฎหมายก็สามารถไปชำระภาษีได้ โดยฐานข้อมูลโครงการคนละครึ่งไม่ได้มีการเชื่อมต่อระบบกับกรมสรรพากร เพื่อตรวจสอบรายได้แต่อย่างใด ซึ่งสำหรับโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 ได้สิ้นสุดโครงการเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2565

ที่ผ่านมา มีผู้ใช้สิทธิ 26.27 ล้านราย และยอดการใช้จ่ายรวม 61,835.1 ล้านบาท และมีผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งระยะที่ 4 จำนวน 1.36 ล้านราย โดยเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ 2.98 หมื่นราย แสดงให้เห็นถึง ความร่วมมือของประชาชนและผู้ประกอบการที่มีส่วนช่วยส่งเสริมการบริโภคในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การค้า การผลิต และการจ้างงานที่เกี่ยวเนื่องตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน และส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 และ 2 ให้ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องต่อไป

ด้าน สรรพากร ชี้แจงระบุว่า ตามที่มีข่าวการเรียกเก็บภาษีจากพ่อค้าแม่ค้าที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งนั้น กรมสรรพากรขอชี้แจงว่า กรมสรรพากรไม่ได้มุ่งเน้นจัดเก็บภาษีสำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่เข้าร่วมโครงการรัฐโครงการใดโครงการหนึ่งแต่อย่างใด อย่างไรก็ดีพ่อค้าแม่ค้าที่เป็นบุคคลธรรมดาเมื่อมีเงินได้จากการค้าขาย ซึ่งเป็นรายได้ที่ไม่ได้รับการยกเว้น หากมีเงินได้ถึงเกณฑ์การยื่นแบบแสดงรายการตามกฎหมายกำหนดมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ

นางสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกิจพลังงาน) ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร กล่าวว่า “ผู้ที่มีเงินได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการจึงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ส่วนจะมีภาษีที่ต้องชำระหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับรายได้ ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน สำหรับการหักค่าใช้จ่าย กฎหมายให้สิทธิ์ในการเลือกว่าจะขอหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 60 หรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริงก็ได้ โดยหลักสำคัญของการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น หากบุคคลธรรมดามีเงินได้จากการค้าขายถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 มีหน้าที่ต้องนำรายได้ที่ได้รับในปีภาษีมายื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นปกติอยู่แล้ว”

ทั้งนี้ หากท่านมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทั่วประเทศ หรือศูนย์สารนิเทศสรรพากร 1161 (RD Intelligence Center)

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า