SHARE

คัดลอกแล้ว

ผลประชุมคณะกรรมการด้านวิชาการ ตามพ.ร.บ.โรคติดต่อฯ ยังคงให้ ‘ฝีดาษวานร’ เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ยังไม่ยกระดับเป็น ‘โรคติดต่ออันตราย’ ขณะที่ ‘อธิบดีกรมควบคุมโรค’ ย้ำไม่ได้ติดต่อง่ายเหมือนโรคโควิด-19

ศ.เกียรติคุณ นพ.สมหวัง ด่านชัยวิจิตร ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เปิดการประชุมคณะกรรมการด้านวิชาการฯ ครั้งที่ 15/2565 ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีนพ.แพทย์จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา เป็นเลขานุการฯ พร้อมด้วยคณะผู้เชี่ยวชาญ

โดย ศ.เกียรติคุณ นพ.สมหวัง กล่าวว่า ภายหลังจากที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้การระบาดของไวรัสฝีดาษวานร (Monkeypox) เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern : PHEIC) สำหรับประเทศไทยได้เตรียมความพร้อมในการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคฝีดาษวานร มานานกว่า 2 เดือน และรายงานผู้ป่วยยืนยันรายแรก เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2565 ที่ประชุมพิจารณายังคงให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากอาการของโรคฝีดาษวานรไม่รุนแรง รวมถึงการแพร่เชื้อต้องมีการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย

ทั้งนี้ ให้ยกระดับการเฝ้าระวังเพิ่มการเฝ้าระวังแบบ sentinel (หรือเฝ้าระวังเฉพาะกลุ่มเฉพาะพื้นที่) ในกลุ่มเสี่ยง เช่น นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ กลุ่มหลากหลายทางเพศ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชน หากพบผู้ป่วยเข้าข่ายให้สอบสวนโรคและดำเนินการเก็บตัวอย่างส่งตรวจวินิจฉัย หากติดเชื้อให้แยกกัก 21 วัน

ขณะที่ นพ.จักรรัฐ กล่าวถึงสถานการณ์โรคฝีดาษวานรทั่วโลกขณะนี้ว่า (ข้อมูล ณ วันที่ 24 ก.ค. 65) จำนวนผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก 16,314 ราย พบผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้นเป็น 71 ประเทศ โดยพื้นที่การแพร่ระบาดส่วนใหญ่พบอยู่ในแถบทวีปยุโรป ประเทศที่มีผู้ป่วยสูง 5 ลำดับแรก ได้แก่ สเปน 3,125 ราย สหรัฐอเมริกา 2,581 ราย เยอรมัน 2,268 ราย อังกฤษ 2,115 ราย และฝรั่งเศส 1,562 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชายเกือบทั้งหมด

สำหรับสถานการณ์โรคฝีดาษวานรในประเทศไทย พบผู้ป่วยยืนยัน 1 ราย เป็นชายชาวไนจีเรีย อายุ 27 ปี ซึ่งผลตรวจพบว่าเป็นสายพันธุ์ West Africa (A.2) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ไม่รุนแรง พบการแพร่ระบาดน้อย ยังไม่พบผู้เสียชีวิต สำหรับความคืบหน้าผลการตรวจ PCR ในผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรชาวไนจีเรีย ทั้ง 19 รายนั้น ผลตรวจเป็นลบทั้งหมด

กรมควบคุมโรค เปิดเผยรายงานการคัดกรองผู้เดินทางจากพื้นที่ระบาดของโรคฝีดาษวานร กองด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและกักกันโรคล่าสุด ข้อมูล ณ วันที่ 24 ก.ค. 65 ทำการคัดกรองทั้งหมด 2,818 ราย แบ่งเป็นผู้เดินทางจากโซนยุโรป จำนวน 2,548 ราย ผู้เดินทางจากแอฟริกา จำนวน 270 ราย พร้อมแจกบัตรคำเตือนสุขภาพ จากการคัดกรอง พบผู้โดยสารมีอาการสงสัย 1 ราย เป็นชาวเวียดนาม อายุ 27 ปี มีประวัติเดินทางไปประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และมีผื่นที่แขน 2 ข้าง ซักประวัติเบื้องต้นและได้รับการตรวจร่างกายโดยแพทย์เวชศาสตร์การท่องเที่ยว ผู้โดยสารให้ข้อมูลว่า ตุ่มที่แขนทั้ง 2 ข้างเป็นมาตั้งแต่เกิด อาการทั่วไปไม่มีไข้ ไม่เจ็บคอ ไม่มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยัน จึงสรุปได้ว่า ไม่เข้าเกณฑ์ป่วยโรคฝีดาษวานร

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเน้นย้ำว่า โรคฝีดาษวานร ไม่ได้ติดต่อง่ายเหมือนโรคโควิด-19 โรคฝีดาษวานรสามารถติดต่อได้จากการสัมผัสกับผู้ป่วยแบบใกล้ชิดมากๆ จึงขอให้ประชาชนเคร่งครัดมาตรการ Universal Prevention : UP ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลบ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง จะสามารถป้องกันได้ทั้งโรคฝีดาษวานรและโรคโควิด-19

ทั้งนี้ กรมควบคุมโรคได้วางระบบเฝ้าระวังคัดกรองไว้อย่างรัดกุม โดยประสานความร่วมมือกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองนักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง หากผู้เดินทางมีอาการสงสัย สามารถเข้าตรวจโรคได้ทันที ซึ่งกองด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและกักกันโรค ได้วางระบบเฝ้าระวังคัดกรองโรคฝีดาษวานรไว้ 2 จุดคือหน้าประตูผู้โดยสารขาเข้า และตรงด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิและขณะนี้กำลังขยายการดำเนินมาตรการคัดกรองไปยังท่าอากาศยานนานาชาติแห่งอื่นในประเทศไทย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า