SHARE

คัดลอกแล้ว

โฆษกศบค. เผย นายกฯตั้งชื่อ แอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” ผู้ประกอบการลงทะเบียนรับคิวอาร์โค้ด (QR code) ให้ผู้ใช้บริการเช็กอิน-เช็กเอาท์ เช็กความหนาแน่น และติดตามผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เตรียมเปิดเว็บไซต์สำหรับการลงทะเบียน 15 พ.ค. นี้

วันที่ 14 พฤษภาคม นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)  หรือ ศบค. กล่าวถึงการเตรียมพร้อมของผู้ประกอบการที่จะเปิดกิจการในการคลายล็อก ระยะที่ 2 ว่า เพื่อช่วยผู้ประกอบการเพิ่งเสร็จการเมื่อวานนี้ จากเดิมต้องใช้วิธีจดในสมุด โดยนายกฯ ให้ใช้ชื่อแพลตฟอร์มว่า “ไทยชนะ”

โดยผู้ประกอบการลงทะเบียน รับ QR CODE นำมาแปะไว้หน้าร้าน ส่วนประชาชนที่มาใช้บริการ เพียงแค่ใช้โทรศัพท์สแกนเข้า-ออก ซึ่งคุณสมบัติของแพลตฟอร์มนี้ที่เป็นประโยชน์กับประชาชน คือ จะช่วยให้ทราบว่า ที่ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้านั้นๆ มีคนมาใช้บริการจำนวนเท่าใด เพื่อประเมินการเดินทางไปใช้บริการ และยังสามารถให้แต้ม (rating) ด้านผู้สูงอายุ และเด็กเล็กที่ไม่มีโทรศัพท์ จะมีระบบ Manual ควบคู่กัน ขณะที่ข้อมูลขอเพียงหมายเลขโทรศัพท์ และข้อมูลทั้งหมดจะอยู่ที่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อดูแลเรื่องสุขภาพเท่านั้น

ด้าน นพ.พลวรรธน์ วิทูรกลชิต ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อธิบายเพิ่มเติมว่า การจะทำให้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้ง 5 ข้อ (พนักงานใส่หน้ากากอนามัย, ล้างมือหรืิอไม่, มีเจลแอลกฮอล์ไว้ให้บริการหรือไม่, มีการทำ Social Distancingหรือไม่, มีการทำความสะอาดพื้นผิดหรือไม่) ได้ผล ต้องมีแอปพลิเคชันเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือ

ในส่วนของประชาชน มีหน้าที่เช็กอิน เช็กเอาท์ และให้คะแนน แต่สิ่งที่ต่างคือประชาชนที่ใช้บริการแอปพลิเคชันนี้จะทราบความหนาแน่นในร้านค้า หรือสถานที่นั้นๆ และช่วยแก้ปัญหาความยุ่งยากในการติดตามผู้ติดเชื้อ โดยระบบจะส่งข้อความโดยตรงไปยังหมายเลขโทรศัพท์ที่ลงทะเบียนไว้  และเมื่อได้ข้อความแล้วสามารถเข้ารับการตรวจได้ฟรีโดยแสดงข้อความที่ได้รับกับทางโรงพยาบาล ไม่มีความซับซ้อนหรือยุ่งยาก

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ ซึ่งเราไม่ได้เลือกขนาดของกิจการ สามารถลงทะเบียนเพื่อรับคิว OR CODE ได้ทั้งหมด เพื่อทดแทนการใช้สมุดจด ซึ่งระบบนี้จะเป็นระบบปิด ปกป้องความเป็นส่วนตัวของประชาชน จากเดิมที่ใช้สมุดจด

โดยวันพรุ่งนี้ (15 พ.ค.) กระทรวงดิจิทัลฯ จะมีการเปิดเผยว่าให้ผู้ประกอบการลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ใด แต่ถ้าไม่อยากทำตามระบบนี้ ทางร้านค้าที่จะต้องรับหน้าที่ลงทะเบียนให้กับประชาชนในวิธีอื่น

ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลฯ กล่าวด้วยว่า สมมุติถ้าไม่มีระบบนี้ เราไปใช้บริการตอนเช้า (ถ้าเกิดพบการติดเชื้อโควิด-19) คนที่ไปใช้บริการทั้งวันจะโดนเรียกมาทั้งหมดทุกคน แต่ถ้าระบบนี้เกิดขึ้นสามารถทำงานได้จริง คนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเท่านั้นจะโดนเรียกเข้ามาและเป็นความลับด้วย ลดความโกลาหล ความวุ่นวาย ลดการใช้งบประมาณที่ไม่จำเป็น ช่วยให้ประชาชนอยู่อย่างปลอดภัยเมื่อผ่อนคลายมาตรการ

ส่วนเรื่องข้อมูลเหมือนไปโรงพยาบาล หมอก็จะสนใจเรื่องของหมอ ข้อมูลจะถูกเก็บที่กรมควบคุมโรค ซึ่งกรมควบคุมโรคมีหน้าที่ใช้ข้อมูลนี้ให้เป็นประโยชน์ต่อการควบคุมโรคเท่านั้น ใช้เหตุผลอื่นไม่ได้ ใช้กิจกรรมอื่นไม่ได้ ขอให้ประชาชนมั่นใจได้ กรมควบคุมโรคเป็นคนดูแลข้อมูลชุดนี้

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า